|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ดีแทคตั้งตารอเงื่อนไขใบอนุญาต หลังจากที่ กทช.ให้ใบอนุญาตทีโอทีและกสท โดยเงื่อนไขยังไม่เสร็จ ชี้มีหลายประเด็นคาใจที่ทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเกิดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม "วิชัย" ชี้ไลเซนส์ เฟรมเวิร์กจะเป็นลายแทงทางเดิน ก้าวต่อไปของดีแทค
นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือดีแทคกล่าวว่าสิ่งที่บริษัทเอกชนกำลังเฝ้ามอง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คือการออกเงื่อนไขของใบอนุญาต (License Fram-work) ภายหลังจากที่กทช.ได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา
"เราไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรีบออก ใบอนุญาต ทั้งๆ ที่เงื่อนไขยังไม่เสร็จ หรือแค่ต้องการให้ทันวันสื่อสารแห่งชาติ การที่ทั้ง 2 บริษัทได้ใบอนุญาต ทำให้เราคุยได้ยากขึ้นในหลายๆประเด็นที่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ มาก"
ดีแทคต้องการเห็นเงื่อนไขในใบอนุญาตที่ทีโอที และ กสท ต้องปฏิบัติตามเพราะจะเป็นแนวทางสำคัญ ที่จะใช้กำหนดแผนธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะในประเด็นที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะปฏิบัติอย่างไรกับบริษัทคู่สัญญาร่วมการงาน จะได้รับความเป็นธรรมในการแข่งขันหรือไม่ นอกจากนั้นหากผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถกำกับดูแลบริษัทร่วมการงานต่อในลักษณะเป็นซับไลเซนส์แล้ว หากดีแทคขอใบอนุญาตใหม่ในการให้บริการอย่างกรณี 3G แล้วไม่ต้องให้บริการเอง แต่ไปหาซับไลเซนส์มาให้บริการได้หรือไม่
รวมทั้งยังมีประเด็นเรื่องค่าแอ็กเซ็สชาร์จกับค่าเชื่อมโครงข่าย (อินเตอร์ คอนเน็กชันชาร์จ) ว่าดีแทคจะต้องจ่ายทั้ง 2 ส่วนหรือไม่ เพราะประเด็นวันนี้ไม่ว่าจะจ่ายน้อยหรือจ่ายมาก แต่สุดท้ายภาระดังกล่าวจะถูกผลักไปยังประชาชนผู้ใช้บริการ นอกจากนี้การที่ทีโอทีพยายามจะทำตัวเป็นเคลียริงเฮาส์ เพื่อหักกลบลบค่าอินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จระหว่าง ผู้ให้บริการ เพื่อหาเหตุผลความชอบธรรมในการคงไว้ซึ่งค่าแอ็กเซ็สชาร์จนั้นก็ต้องแยกประเด็นให้ชัดเจนว่าทีโอทีหากต้องการให้บริการเคลียริง เฮาส์ถ้าทำดี ดีแทคก็อาจใช้บริการ แต่แอ็กเซ็สชาร์จเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่สมควรเอามาเหมารวมเป็นเรื่องเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นส่วนแบ่งรายได้ที่เอกชนจ่ายให้ทีโอทีและกสท หากเงื่อนไขใบอนุญาตยังไม่ชัดเจน ก็กลายเป็นว่าเอกชนจ่ายเงินให้ทีโอทีและกสท เพื่อเอามาอุดหนุนบริการบางประเภทที่ขาดทุนอยู่ ซึ่งอาจเป็นบริการเดียวกันและแข่งขันกับเอกชนที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้ก็เป็นไปได้ ซึ่งทำให้เห็นความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง
"ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ น่าจะอยู่ ในไลเซนส์ เฟรมเวิร์ก ซึ่งตามหลักการ ควรเสร็จพร้อมๆกับการออกไลเซนส์ ไม่ใช่ออกใบอนุญาตโดยไม่มีเงื่อนไขระบุไว้ ทำให้ภาพตอนนี้อึมครึมเหมือน เดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง"
เขาย้ำว่าได้ทำหนังสือชี้แจงในประเด็นดังกล่าวส่งไปยังนายก-รัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้คาด หวังอะไรมากนัก เพียงแต่ต้องการให้เกิดความตระหนักกับรัฐบาลว่าการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระได้ทำให้เกิด ปัญหาในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และหวังว่าอาจจะมีการแก้ไขได้ในกระบวนการรัฐสภา
"ดีแทคถามหาไลเซนส์ เฟรมเวิร์กที่ชัดเจน เพื่อที่เราจะใช้เป็นแผน ที่เดินขั้นต่อไปในการเรียกร้องขอให้มี การปฏิบัติที่เหมือนกันของโอเปอเรเตอร์"
ทั้งนี้ ดีแทคจ่ายเงินให้รัฐทั้งสิ้น ในปี 2547 รวม 12,455 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนแบ่งรายได้ 2,174 ล้านบาทภาษีสรรพสามิตร 3,844 ล้านบาท ค่าแอ็กเซ็สชาร์จ 6,437 ล้านบาทและในปี 2548 ครึ่งปีแรกบริษัทจ่ายไปแล้ว 6,921 ล้านบาทคาดว่าสิ้นปีต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 14,000 ล้านบาท
ด้านพล.อ.ชูชาติ พรหมพระ-สิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวว่า กทช.คงใช้เวลาประมาณ 180 วันในการออกไลเซนส์ เฟรมเวิร์ก นับตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.ที่ให้ใบอนุญาตทีโอที และ กสท โดยที่คณะทำงานย่อยกำลังเร่งสรุปรายละเอียดในส่วนต่างๆ เฉพาะเรื่องอยู่ ซึ่งต้องใช้เวลาเพราะเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนอย่างเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จ หรือเงื่อนไขการแข่งขันเสรี
"การออกไลเซนส์ในวันสื่อสารแห่งชาติ เพราะเห็นว่าเป็นกำหนดการ ที่ดีส่วนเรื่องรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ก็พิจารณามาตลอดไม่ได้หยุดหรือช้า ซึ่งกทช.มีเวลาถึง 180 วัน"
|
|
|
|
|