ธุรกิจคัสโตเดียน (custodian) เป็นธุรกิจรับฝากทรัพย์สิน ซึ่งประกอบไปด้วยทรัพย์สิน
ที่เป็นเงินสด หลักทรัพย์ทั้งตราสารทุน และตราสารหนี้ รวมทั้งทรัพย์สินประเภทอื่นๆ
เช่น สัญญา โฉนด ทะเบียนทรัพย์สิน นอกจากนี้คัสโตเดียนยังมีหน้าที่ในการติดตามสิทธิประโยชน์ในหลักทรัพย์เช่น
ดอกเบี้ย เงินปันผล สิทธิอื่นๆ ธุรกิจคัสโตเดียนเริ่มเกิดขึ้นเกือบ 30 ปีที่แล้ว
โดยส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะเป็นผู้ให้บริการนักลงทุนต่างประเทศ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
อาทิ ธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (CHSBC) ให้บริการมาตั้งแต่ปี
2516 โดยเริ่มเพียงปีละประมาณ 4 รายการเท่านั้น และลูกค้า จะเป็นรายย่อย คือ
รายบุคคลเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย จนกระทั่งปี 2529
ก็ยังมีธุรกรรม แค่สัปดาห์ละ 4-5 รายการ ปีถัดมาเพิ่มเล็กน้อยเป็นสัปดาห์ละ
10 รายการ ซึ่งการให้บริการยังเป็นนักลงทุนต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ "ถ้าย้อนหลังไป
10 กว่าปีที่แล้ว ตลาดผู้ลงทุนไทย ที่ใช้บริการคัสโตเดียน มีน้อยมาก ถ้ามองถึงสัดส่วนแล้วจะเป็นนักลงทุนต่างชาติเกือบทั้งหมด"
หยกพร ตันติเศวตรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายธุรกิจตลาดทุน ธนาคารไทยพาณิชย์กล่าว
ธุรกิจคัสโตเดียนมาบูมจริงๆ ในช่วงปี 2535-2536 ที่มีรายการให้ทำถึง 800-1,000
รายการต่อวัน เพราะช่วงนั้น เป็นช่วง ที่ดัชนีตลาดหุ้น มีระดับสูง ถึง 1700
จุด มูลค่าการซื้อขายวันละ 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจคัสโตเดียนถือเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่งของธนาคารพาณิชย์
โดยเฉพาะในขณะนั้น มีอัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ย 30- 40% เพราะนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดไทยมาก
นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่นักลงทุนไทยเข้ามาใช้บริการคัสโตเดียนมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาตลาดทุน
มีกฎระเบียบควบคุมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการออก พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาด
หลักทรัพย์ในปี 2535 ส่งผลให้การทำหน้าที่คัสโตเดียนสำหรับกองทุนรวม จึงเพิ่มหน้าที่มากขึ้นเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วย
เรียกว่า Trustee หลังจากนั้น การตั้งกองทุนรวมในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย
อาทิ กองทุนตราสารแห่งทุน (Equity fund) กองทุนตราสารแห่งหนี้ (Fixed-income
fund) กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible fund) ตลาดทุน ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งใ
น และต่างประเทศ ในปี 2539 จึงได้มี กฎหมาย เรื่องกองทุนส่วนบุคคลขึ้น "มีผลให้ธุรกิจคัสโตเดียนมีลูกค้ามากขึ้น"
ปรานี บูรณวัฒนาโชค ผู้อำนวยการฝ่ายบริการ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทยกล่าว
เมื ่อมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นการ แข่งขันทางด้านธุรกิจก็ย่อมสูงขึ้น โดย เฉพาะธนาคารพาณิชย์ไทย
ที่เริ่มให้ความสนใจกับธุรกิจคัสโตเดียน ส่งผลธนาคาร ต่างประเทศ ที่ให้บริการมาก่อนได้รับผลกระทบจากการขยายธุรกิจของ
ธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งจะมีการแย่งลูกค้ากัน ขึ้นอยู่กับการคิดค่าธรรมเนียม
ดังนั้น การตัดราคาค่าธรรมเนียม จึงมีมากขึ้น "ถ้ามองในแง่การตัดราคา
หมายถึงมีการตัดราคากัน เพื่อรักษาส่วน แบ่งตลาดเอาไว้ มี สองส่วน คือ ทางด้านผู้เล่นรายใหม่ก็อยากได้ลูกค้า
ขณะเดียวกันผู้เล่นรายเดิมคงจะ พยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้" สมบัติ
บูรณกิจสิน รองผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายธุรกิจตลาดทุน ธนาคารไทยพาณิชย์กล่าว
ในด้านสงครามราคาค่าธรรมเนียมนั้น มีอยู่ในทุกตลาด และจะมีความ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้จัดการบริหาร ธุรกิจหลักทรัพย์บางรายถึงกับไม่ยอม เสนอราคาค่าธรรมเนียมในบางประเภทธุรกิจของคัสโตเดียนแบงก์
เพราะ เป็นอัตรา ที่น่าหัวเราะเยาะ (ridiculous rates) สาเหตุที่ค่าธรรมเนียมของการเก็บรักษาสินทรัพย์ลดลง
สาเหตุหนึ่งเกิดจากผู้จัดการกองทุนมักจะมีปัญหาการขาดทุนจากการลงทุนในตลาดอื่นๆ
ดัง นั้น จะมาบีบกับ ทางธนาคารในฐานะ ที่เป็นคัสโตเดียนขอลดราคาค่าคอมมิชชัน
อย่างไรก็ดีราคาเริ่มนิ่งแล้วเพราะไม่คุ้ม ที่จะมาแข่งขันกันจนล้มตายไป "เรื่องค่าธรรมเนียมปัจจุบันค่อนข้างคง
ที่ สำหรับลูกค้าต่างประเทศไม่มี กา รตัดค่าธรรมเนียมกันมากนัก" หยกพรบอก
สมบัติยอมรับว่าหากพูดถึงธุรกิจ กองทุนรวมในปัจจุบันมีการแข่งขัน เรื่องราคาพอสมควร
เพราะมีผู้เล่นรายใหม่สนใจเข้ามาทำธุรกิจคัสโตเดียน "ดังนั้น กลยุทธ์
ที่ใช้กันค ือ ราคา" คัสโตเดียนแบงก์เป็นธุรกิจประเภทปริมาณสูงแต่กำไรต่ำ
(high- volume, low-margin) คือ ความรับผิดชอบสูงแต่ค่าธรรมเนียมต่ำ เพราะเป็นแค่เรื่องเก็บรักษาทรัพย์สิน
ค่าทำรายการให้ถูกต้อง "ดังนั้น จะเก็บค่าธรรมเนียมสูงคงจะไม่ได้"
หยกพรบอก ซึ่งจะต้องเก็บให้เหมาะสมกับธุรกรรม ที่เกิดขึ้น (transaction)
"ถ้าพูดถึงมาร์จิน ไม่ได้มากมายอะไร
แต่ถ้าถามว่าในเชิงธุรกิจ เราต้องทำ และมีความพร้อมเราต้องทำ ส่วนแนวโน้มค่าธรรมเนียมก็จะลดลงเรื่อยๆ
เพราะการแข่งขัน และการนำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้" ปรานีกล่าว ในด้านรายได้ค่าธรรมเนียมคัสโตเดียน
ปัจจุบันมีการเก็บใน 2 ราย การ คือ ค่าธรรมเนียมการเก็บร ักษาสินทรัพย์หรือ
safekeeping fee อีกราย การหนึ่งคือ ค่าธรรมเนียมการทำรายการซื้อขายหรือ
transaction fee ประเภทอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทของลูกค้า
ถ้าเป็น ลูกค้าต่างประเทศส่วนใหญ ่จะมีค่าธรรมเนียมทั้ง 2 รูปแบบ แต่ถ้าเป็นลูกค้า
คนไทย โดยเฉพาะบรรดากองทุนรวมมักจะเป็นแบบ safekeeping fee ดัง นั้น อัตราค่าธรรมเนียมในไทยถ้าเทียบกับต่างประเทศแล้วค่อนข้างต่ำเพราะ
เขาจะมีค่าธรรมเนียม ทั้ง 2 รายการ นอกจากค่าธรรมเนียม ที่ลดลงอันเนื่องมาจากการแข่งขัน
ที่รุนแรง อีก สาเหตุหนึ่งมาจากการตกต่ำของตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากในอดีตอัตราการเติบโตของรายได้ธุรกิจคัสโตเดียนจะอิงกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์
โดยเฉพาะกองทุน ที่ตั้งขึ้นในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นกองทุนตราสารทุน ซึ่ง
75% จะลงทุนในหุ้นทุน โดยเฉพาะปี 2537 ที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งขึ้นถึง
1700 จุด
"ในช่วงนั้น รายได้ค่าธรรมเนียมคัสโตเดียนจะผูกอยู่กับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
หรือ NAV สูงมาก" ปรานีบอก ต่อมาเมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์รูดลงมาอย่างมาก
และต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมคัสโตเดียนอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาหลังจากนั้น ประมาณปี 2538 กองทุน ที่ตั้งใหม่เป็นกองทุนรวมตรา
สาร หนี้ โดยเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ อื่นทำให้สัดส่วนการลงทุนเปลี่ยนไป
"ภาพเดิมของธุรกิจคัสโตเดียนคือ อิงอยู่กับดัชนีหุ้น แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้วจากรูปแบบการลงทุน
ตลอดจนนโยบายของรัฐบาล ที่เน้นให้เกิดการออม เช่น การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ซึ่งจะเป็นตัวสร้างรายได้ให้กับ ธุรกิจคัสโตเดียน" สมบัติกล่าว นอกจากนี้นโยบายอัตราดอกเบี้ย
ที่ลดลง เพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ทำให้การระดมทุนของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในการออกตราสารหนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
ในปี 2543 ตาม ที่คาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งการ เพิ่มรูปแบบประเภทของการลงทุน
และการหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ ที่ลงทุน เช่น ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (REPO)
หรือธุรกรรมการยืม และให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) ทำให้บริการคัสโตเดียนเติบโตเพิ่มทั้งในส่วนขอ
งผู้ให้บริการ และขนาดทรัพย์สิน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่ธุรกิจ นี้ยังสามารถขยายตัวต่อไป
อีกทั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติครบสามารถทำธุรกิจ คัสโตเดียน
จึงมีแนวโน้มค่อนข้างชัด เจน ที่บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์สินหรือ
ตราสารทางการเงิน สามารถทำธุรกิจ นี้ได้ นั่นหมายความว่าการแข่งขันจะยิ่งดุเดือดมากขึ้น