Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
Asia CyberBanking จากทันสมัยสู่ความเป็นจริง             
 

   
related stories

Bank without Branch
Citibank Telephone Banking
บริการชำระค่าสินค้า บริการผ่านธนาคารเอเชีย
Anytime Anywhere Any Device
e-TFB ยุทธศาสตร์พีอาร์ คู่ขนานการปรับตัว
The young blood

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
อภิรมย์ น้อยอ่ำ
E-Commerce
Electronic Banking




จากธนาคารขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจ ด้วยมืออาชีพค่อนข้างระมัดระวัง ด้วยความช้าในการปรับตัวก่อนวิกฤติ ส่งผลดีในการใช้ระบบและความคิดธนาคารยุคใหม่มาใช้ จนกลายเป็นธนาคารก้าวหน้าอย่างมากด้วยการนำเทคโนโลยีในช่วงหลังวิกฤติ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดก็ค้นพบว่าความทันสมัยต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมด้วย

หลังจากที่ธนาคารเอเชียประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการดำเนินงานสาขา ในปี 2540 ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทจนกลายเป็นระบบ "รวมศูนย์" จากเดิมเป็นระบบ "กระจาย" ส่งผลให้เกิดความสะดวก รวดเร็วต่อการทำงานและการบริการลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการฝากถอนต่างสาขา หรือเพิ่ม application ในเอทีเอ็มหรือช่องทางเทเลโฟน แบงกิ้ง

นี่คือยุคเริ่มต้นซึ่งธนาคารถือเป็นแนวโน้มของการดำเนินกิจการ และหลังจาก ที่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานได้ เช่น การยกเครื่อง IT Platform ธนาคาร เอเชียได้พิจารณาต่อถึงอนาคต พฤติกรรมของลูกค้าและเทคโนโลยี

แม้ว่าในปีถัดมาจะได้ธนาคารยักษ์ใหญ่เอบีเอ็น แอมโร เข้ามาถือหุ้นใหญ่ แต่แนวคิดการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานมีมาก่อนหน้า แต่ธนาคารสัญชาติเนเธอร์แลนด์มีส่วนสนับสนุนให้กลยุทธ์ต่างๆ ที่วางเอาไว้เป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น

"อินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทมากขึ้น ดูจากต่างประเทศการใช้ค่อนข้างสูง ขณะ เดียวกันในเมืองไทยเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น พวกเราจึงเห็นว่าจริงๆ แล้ว ทิศทางของการให้บริการอาจจะต้องเปลี่ยนรูปโฉมหรือเพิ่มขึ้น" อภิรมย์ น้อยอ่ำ ผู้อำนวยการอาวุโส e-Commerce & e-Banking ธนาคารเอเชีย กล่าว

จุดเริ่มต้นที่ส่งผลให้ธนาคารเอเชียถูกจัดระดับแห่งความทันสมัยทางเทคโนโลยี มาจากช่วงเวลาที่กระแสโลกกำลังพูดถึง e-Commerce และพวกเขาก็ปักใจเชื่อว่านี่คือโอกาสแห่งการแสวงหาความเติบใหญ่

ดังนั้น ธนาคารแห่งนี้ได้เริ่มโครงการให้บริการในรูปแบบอินเทอร์เน็ต แบงกิ้ง หรือ e-Commerce ขึ้นมา โดยถือเอาวันที่ 9 กันยายน 2542 เป็น pilot project เป็น e-Commerce แห่งแรกที่เปิดอย่างเป็นทางการด้วยการร่วมมือและให้บริการกับกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อบริการข้อมูลซื้อขายบน อินเทอร์เน็ต "พวกเราถือว่าเป็นผู้บุกเบิกอย่างจริงจังและเป็นเฟสแรกของโครงการดังกล่าว" อภิรมย์บอก

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า e-Commerce กับประเทศไทยในขณะนั้น ยังเป็นเรื่องห่างไกลความเป็นจริง เช่นเดียวกับธนาคารเอเชียที่ต้องมานั่งพิจารณากันใหม่และต่อมาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งสำคัญที่สุดต่อความแข็งแกร่งของธุรกิจคือ ลูกค้ารายย่อย

หลังจาก Y2K ไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน ธนาคารเริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ต แบงกิ้งเต็มรูปแบบภายใต้ Asia CyberBanking เป็นการให้บริการแก่ลูกค้า ที่มีอินเทอร์เน็ตสามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางนี้ได้ โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพียงมีบัญชีใดบัญชีหนึ่งกับธนาคารเอเชียสามารถใช้บริการได้ทันที ซึ่งในอดีตลูกค้าต้องเดินไปสาขาเพื่อกรอกใบสมัคร นับเป็นเรื่องลำบากพอสมควร แต่ทุกวันนี้สามารถสมัครผ่านออนไลน์ โดยใช้หมายเลขเอทีเอ็มและวีซ่า อิเลคตรอนของธนาคาร สมัครเท่านั้น

ด้วยนโยบายที่ต้องการให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมด้วยตนเอง รวมถึงการลดภาระการทำงานภายในสาขา ทำให้ธนาคารต้องมานั่งพิจารณาว่า มีธุรกรรมประเภทไหนบ้างที่ลูกค้าใช้บริการได้เลยและเกิดความมั่นใจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกรรมพื้นฐาน เช่น ถามยอดบัญชี โอนเงิน จากนั้นค่อยๆ เพิ่มการให้บริการเข้าไป เช่น ชำระค่าสินค้าและบริการ

"พวกเขาไม่ต้องเดินไปสาขา อยู่ที่ไหนก็ใช้บริการได้ ขณะเดียวกันสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ" อนุพนธ์ เซ็นสาส์น ผู้อำนวยการงานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารเอเชีย กล่าว "บริการต่างๆ ที่พวกเราเปิดให้บริการจะเพิ่มความสะดวกแก่ลูกค้า แต่ก็มีเหมือนกันว่าพวกเขาต้องการใช้บริการอื่นๆ ซึ่งก็ต้องดูว่าคุ้มค่าหรือไม่"

ผลที่ตามมาหลังเปิดบริการ คือ ต้นทุนลดลง ขณะที่ลูกค้ามีความพึงพอใจ สังเกตได้จากฐานลูกค้าในปัจจุบันมีประมาณ 40,000 รายจากปีที่แล้วมีเพียง 27,000 ราย และหากพิจารณาอัตราการเติบโตของลูกค้า ที่เข้ามาใหม่เทียบกับจำนวนพนักงานมีความแตกต่างกันมาก ขณะที่ธนาคารมีฐานลูกค้า 3-4 แสนราย พนักงานมีจำนวนประมาณ 3,000 คน แต่ทุกวันนี้มีลูกค้า เกือบ 2 ล้านรายพนักงานกลับลดลงเหลือแค่ 2,800 คน

"ทุกวันนี้พวกเขาเดินเข้าสาขาลดลง คือ หากเทียบกับการเติบโตฐานลูกค้า หากไม่มีช่องทางอื่นๆ มาให้บริการธนาคารจะต้องเพิ่มสาขา เคาน์เตอร์ และพนักงานมากขึ้น" อภิรมย์ชี้

สาเหตุที่ธนาคารสามารถปรับทิศทางกลยุทธ์ จาก e-Commerce มาเน้นอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งกับลูกค้า รายย่อยได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีระบบเทคโนโลยีที่ดีในขณะนั้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่งผลให้ไม่มีอุปสรรคต่อการรื้อระบบหรือลงทุนส่วนซอฟต์แวร์ใหม่ๆ

กระนั้นก็ดี นอกจากจะให้ความสำคัญกับลูกค้า รายย่อยแล้ว ทุกวันนี้ยังเปิดบริการด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ B2B โดยธนาคารเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระบบซื้อขายบนอินเทอร์เน็ตของแต่ละธุรกิจ กับระบบการจ่ายชำระเงินของธนาคาร ปัจจุบันบริการให้กับปูนซิเมนต์ไทย กลุ่มธุรกิจกระดาษแอ๊ดวานซ์ อะโกร และอเมริกัน สแตนดาร์ด

"จุดเด่นของพวกเรา คือ การพยายามนำระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ส่วนการให้บริการลูกค้าทั่วไปเราไม่สามารถทำตามใจได้ทุกคน แต่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต้องดูจากผลตอบรับ" อภิรมย์อธิบาย

ถึงแม้ว่า แนวโน้มการทำธุรกรรมผ่าน Asia CyberBanking จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารยังพัฒนาการให้บริการช่องทางอื่นๆ เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าที่ไม่ต้องหงุดหงิดกับการเข้าแถวยาวๆ ภายในสาขา โดยเฉพาะช่องทางเอทีเอ็ม โทรศัพท์มือถือที่ได้ถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกับองค์กรต่างๆ ในลักษณะออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาช่องทางในลักษณะดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากความสามารถของระบบเทคโนโลยี จากเดิมที่ธนาคารเอเชียใช้ระบบของเครื่อง NEC ระดับ mini-computer ที่วางกระจายอยู่ทุกสาขา โดยขณะนั้นยังไม่มีระบบเมนเฟรมจากข้อจำกัดทางการสื่อสาร ดังนั้น mini-computer จะให้บริการ ณ จุดนั้นที่ลูกค้าทำรายการที่สาขา

"ปัจจุบันระบบสื่อสารมีความรวดเร็วมากขึ้น การรวมข้อมูลหรือประมวลผลในที่เดียวกันจะอำนวยความสะดวกได้ ทั้งในแง่ลูกค้าที่สามารถทำรายการยังต่างสาขาหรือพนักงานควบคุมได้ดียิ่งขึ้น" อนุพนธ์อธิบาย

หลังจากนั้นธนาคารได้เปลี่ยนระบบมาเป็นเมนเฟรมของไอบีเอ็ม และได้ยกเครื่องมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ series 900 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และด้วยปริมาณการทำธุรกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องอัพเกรดและเปลี่ยนเครื่องให้มีความเหมาะสมประมาณ 2 ปีต่อครั้ง

"ช่วงนี้การอัพเกรดเกิดขึ้นบ่อยมากจากอัตราการเติบโตของลูกค้าในสัดส่วนที่สูงมาก" อนุพนธ์บอก

หากพิจารณาโดยภาพรวมการพัฒนาการดังกล่าวอยู่ในเฟสที่ 2 ถือเป็นก้าวแรกของธนาคารเชีย อันเนื่องจากยังมีแผนการที่จะยกระดับอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ที่จะเป็นช่องทางสำคัญต่อการดำเนินงาน ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่มีวิถีชีวิตต้องการความสะดวกสบาย ซึ่งธนาคารเองเชื่อมั่นว่าธุรกรรมที่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะมีอัตราการเติบโตที่สูงอย่างมากภายใน 5 ปีข้างหน้า

กระนั้นก็ตาม อุปสรรคของการดำเนินการก็คือ ความไม่คุ้นเคยเทคโนโลยีของลูกค้าซึ่งยังมีความกังวลใจในการใช้บริการพอสมควร แต่ปัจจุบันธนาคารเอเชียถือเป็นธนาคารขนาดเล็ก ที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี จนเป็นที่จับตามองของคู่แข่ง นั่นถือเป็นความท้าทายต่อการแสวงหาลูกค้าภายใต้แนวคิดของอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us