Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 สิงหาคม 2548
ศึกหนังดังเคเบิ้ลทีวี เอชบีโอส่งบิ๊กแฟรนไชส์กระแทกสตาร์มูฟวี่             
 


   
search resources

HBO
TV




เอชบีโอ-ซีนีแมกซ์ เปิดศึกรายการภาพยนตร์ส่งหนังใหม่ลงจอเพิ่มหวังเคลมความเป็นผู้นำ มัดใจผู้ชม สกัดโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ และประชัญคู่ปรับเก่าสตาร์มูฟวี่ซึ่งมีช่องเครือข่ายเพียบ

HBO Asia ผู้ดำเนินธุรกิจเครือข่ายสัญญาณดาวเทียมเคเบิลทีวีได้แถลงข่าวเปิดตัวโครงการบิ๊ก แฟรนไชส์(Big Franchise)ในช่องเอชบีโอ (HBO) โดยเจมส์ มาทูราโน รองประธานบริหาร ให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการตอกย้ำแบรนด์ และทำให้ช่องมีความเป็น 1 stop service มีหนังครบทุกรสชาติให้ได้เลือกชม

บิ๊ก แฟรนไชส์ (BigFranchise)จะเป็นโปรแกรมภาพยนตร์ฮอลีวูดระดับบล็อกบัสเตอร์(Blockbuster)ที่เพิ่มขึ้นมาจากหนังปกติที่มีอยู่แล้ว 140 เรื่องต่อเดือนและจะนำมาวนฉายประกอบด้วย ฟรายเดย์ บิ๊ก ฮิต(Friday Big Hits), บิ๊ก ซัทเตอร์เดย์(Big Saturday) ,เดอะ บิ๊ก พรีวิว(The Big Preview) รวมถึงซีรี่ส์ที่เอชบีโอสร้างเองและนำมาแพร่ภาพให้สมาชิกชมก่อน

ทั้งนี้ในภูมิภาคเอเชียนอกจากค่ายเอชบีโอแล้วยังมีค่ายสตาร์ทีวีที่ดำเนินธุรกิจรูปแบบคล้ายกัน โดยสองค่ายนี้จะเข้าไปทำการตลาดหาลูกค้าเองทุกประเทศ ยกเว้นประเทศไทยที่ติดขัดด้านกฎหมายจึงต้องเข้ามาทำการตลาดร่วมกับยูบีซีซึ่งเป็นผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ทำให้สภาพการแข่งขันจึงไม่รุนแรงมากนักเพราะสมาชิกที่บอกรับยูบีซีสามารถจะสามารถดูได้ทั้งเอชบีโอและช่องเครือข่ายอย่าง ซีนีแมกซ์ ซึ่งมีหนังจากค่าย วอนเนอร์บราเธอร์, ยูนิเวอร์แซล,พาราเมาธ์, ไตรสตาร์, โคลัมเบีย, นิวไลน์, ดรีมเวิร์ก รวมถึงสตาร์มูฟวี่ที่มีหนังจากค่าย เทวนตี้ เซนจูรี่ ฟอกซ์ ด้วย

แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีการทำตลาดเอาซะเลย เพราะแต่ละช่องก็ต้องพยายามเพิ่มความนิยมผู้ชมสร้างเรตติ้งให้ตัวเองอยู่อันดับต้นๆเพื่อจะได้สร้างอำนาจการต่อรองกับยูบีซีในเรื่องการคงช่องให้ออกอากาศต่อไปและส่วนแบ่งรายได้สมาชิกต่อราย นอกจากนี้ยังถือเป็นการสกัดคู่แข่งทางอ้อมทั้งที่เป็นเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นรวมถึงหนังละเมิดลิขสิทธิ์ที่เป็นแผ่น วีซีดี และ ดีวีดี ซึ่งนับวันจะมีคุณภาพดีขึ้นแต่ราคากลับถูกลงเรื่อยๆ ซึ่ง เจมส์ มาทูราโนก็บอกว่า “เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยิ่ง”

โดยที่ผ่านมาช่อง เอชบีโอ ซึ่งเน้นนำเสนอหนังแนวชีวิตและช่อง ซีนีแมกซ์ ที่เป็นหนังแนวแอ็คชั่น, สืบสวน ก็ได้ใช้กลยุทธโปรโมตโปรแกรมหนังดังสร้างกระแสเป็นระยะๆ รวมถึงซีรีส์ประจำปีหลายๆเรื่องเช่น แบนด์ออฟบราเธอร์(Band of brother),เซ็กซ์แอนด์เดอะซิตี้ (Sex and the city) หรือแม้กระทั่ง ซิกซ์ ฟีท อันเดอร์ (Six feet under) ที่ผ่านมา ซึ่งมีการโฆษณาในวงกว้างโดยผ่านสื่อเคลื่อนที่ทั้งที่เป็นการหุ้มรถเมลล์ยูโรทู และ โฆษณาบริเวณป้ายรถเมลล์ ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นจุดแข็งของความเป็นผู้นำช่องภาพยนตร์ และความคุ้มค่าสูงสุดของคุณภาพหนังที่ได้ชม โดยยังคงเรียกเก็บราคาค่าสมาชิกระดับเดิมแต่อาศัยรายได้ที่มากขึ้นจากการขยายจำนวนสมาชิก

ในขณะที่ช่อง สตาร์มูฟวี่ ก็มีการปลุกกระแสโปรโมตหนังฟอร์มยักษ์บ้างประปรายซึ่งนานๆครั้งก็จะมีปรากฏออกมา ล่าสุดเป็นกิจกรรมการจัดประกวด R U Bond Enough ? หาผู้ที่มีมาดและบุคลิกคล้ายพระเอกในเรื่อง Die another day จากประเทศไทยไปชิงแชมป์ระดับเอเชียในปีที่ผ่านมา ส่วนปีนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในส่วนของกิจกรรมการตลาดใดๆออกมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความได้เปรียบจากจำนวนช่องรายการในเครือสตาร์กรุ๊ปที่มีทั้ง สตาร์มูฟวี่(Star movie), สตาร์สปอร์ต(Star sport), แชลแนลวี(Channel V), เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก(National geographic) ,อีเอสพีเอ็น(ESPN) และ เอวัน(A1) ซึ่งให้ความหลากหลายได้มากกว่า

การเพิ่มช่วง บิ๊ก แฟรนไชส์ ของเอชบีโอ จากเดิมซึ่งมีเพียง เดอะ บิ๊ก วัน(The Big One) รวมถึงการเพิ่มรายการในช่วง ยูนีค เสกดดูลิ่ง ฟีเจอร์(Unique scheduling Features) ของ ซีนีแมกซ์ ขึ้นมาจากเดิมที่มี เฟิร์ส ออน แม็กซ์(First on max), แม็กซ์ ฮิต(Max hits), แอ็คชั่น แม็กซ์(Action max), ทิลเลอร์ แม็กซ์(Thriller max)อยู่แล้ว ถือเป็นอีกกลยุทธหลักเพื่อสร้างความเป็นผู้นำด้านแบรนดิ้ง(Branding) ในฐานะที่เป็นช่องรายการภาพยนตร์หนึ่ง ให้ตัวเองเป็นที่รู้จัก ยอมรับ และสร้างความภักดีต่อผู้ชมให้มากขึ้น สำหรับประเทศไทยช่องรายการภาพยนตร์ระดับพรีเมี่ยมจะอยู่ในลักษณะรวมกันและทำการตลาดโดยยูบีซี ซึ่งคู่แข่งสำคัญของเอชบีโอก็คือสตาร์มูฟวี่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us