|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เพิ่มสิน สตีลเวิคส์ ประกาศตรึงราคาเหล็ก อย่างน้อย 3 เดือน ก่อนทบทวนแผนปรับราคาภายใต้โครงสร้างต้นทุนใหม่ เดินเครื่องเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กเป็น 3 ล้าน ตร.ม.จากปัจจุบันผลิตได้ 6 แสนตร.ม. รองรับความต้องการเพิ่มขึ้น
ต้องยอมรับว่า การปรับขึ้นของน้ำมันดีเซล กระทบต่อการดำเนินธุรกิจทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้าระดับรากหญ้าหรือ เอสเอ็มอีไปจนถึงผู้ผลิตขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า ทั้งผู้ผลิตทุกรายจะต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความสูญเสีย รวมถึงการปรับขึ้นราคาสินค้า
ชูเกียรติ ยงวงศ์ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด ผู้จำหน่ายเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กโครงคร่าวเพดานและผนังรูปตัวซี กล่าวว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลเช่นเดียวกับผู้ผลิตทุกราย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ไม่มากนัก เพราะกระบวนการผลิตเหล็กใช้น้ำมันดีเซลไม่มาก แต่ส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก คือค่าขนส่ง เพราะบริษัทมีรถขนส่งสินค้าเอง ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 10%
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ บริษัทจะยังไม่ขึ้นราคาสินค้า เพราะยังมีสต็อกสินค้าที่จะขายได้อีกประมาณ 3 เดือน จึงจะขายสินค้าในราคาเดิม เพราะไม่ต้องการซ้ำเติมผู้บริโภค แต่หลังจากที่สต็อกเดิมขายหมดแล้ว บริษัทจะทบทวนการปรับราคาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะปรับราคาตามต้นทุนใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ชูเกียรติ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะลงทุนโรงงานแห่งใหม่ บนพื้นที่ราว 33 ไร่ เพื่อผลิตเหล็กโครงคร่าวเพดาน ผนังรูปตัวซี และแผ่นหลังคาเหล็กเคลือบสี โดยโรงงานอยู่ที่สมุทรสาคร 3 แห่ง โรงงานแห่งแรก เป็นโรงงานแปรรูปเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กชุบสังกะสีรูปตัวซี เหล็กเคลือบเคมีด้วยไฟฟ้า โรงงานแห่งที่ 2 เป็นโรงงานแปรรูปเหล็กโครงคร่าวเพดานและผนัง โรงงานแห่งที่ 3 เป็นโรงงานแปรรูปแผ่นหลังคา และผนังเคลือบสังกะสี ส่วนโรงงานที่ประจวบคีรีขันธ์ เป็นโรงงานตัดเหล็กแผ่นรีดเย็น
ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 240 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง 120 ล้านบาท และค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ 120 ล้านบาท ปัจจุบันการก่อสร้างความคืบหน้า 50% คาดว่าไตรมาส 2 ปีนี้จะสามารถเดินเครื่องผลิตสินค้าได้ โดยมีกำลังการผลิตโครงคร่าวเหล็กกล้าเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้าน ตร.ม.ต่อปี จากปัจจุบันผลิตได้ 6 แสน ตร.ม.ต่อปี และมีกำลังผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นอยู่ที่1แสนตันต่อปี
สำหรับช่องทางการจำหน่าย เน้นจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายที่อยู่ทั่วประเทศเป็นหลักในสัดส่วน 70% ส่วนที่เหลือ 30% เป็นการจำหน่ายแบบขายตรงให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน และบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
ส่วนเงินลงทุนในโรงงานแห่งใหม่ บริษัทมีแผนที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท มีแผนจะเพิ่มทุนเป็น 500 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมยื่นแบบแสดงรายการ(ไฟลิ่ง) ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยแต่งตั้งบริษัท ซิมิโก้ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งคาดว่าในราวไตรมาส 3 ปีนี้ น่าจะเข้าซื้อขายในกระดานได้ โดยบริษัทจะกระจายหุ้นให้กับประชาชน(IPO) ประมาณ 100 ล้านหุ้น คิดเป็น 20% ของหุ้นทั้งหมด
|
|
|
|
|