ผลงานเล่มล่าสุดของไกส์ ผู้แต่ง "Wall Street : A History" และเป็นงาน
ที่รวบรวมข้อเท็จจริงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ระหว่างนักอุตสาหกรรม ที่เป็นตำนานของประเทศกับภาครัฐ
ซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย และนักข่าว ที่ขุดคุ้ยคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงต่างๆ ขึ้นมาเปิดเผย
บุคคลแรก ที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงก็คือ ชาร์ลส์ ฟรานซิส อดัม ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการสร้างทางรถไฟ
ในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 19 แต่คำถามก็คือ การขุดคุ้ยเรื่องราวทำนองนี้ และ
แม้แต่กฎหมายป้องกันการผูกขาดมีประโยชน์อะไรจริงๆ หรือ? อเมริกาจะดีกว่า
ที่เป็นอยู่หรือไม่ หากประเทศไม่เคยมีการผูกขาดใดๆ มาก่อน?
คำถามเหล่านี้ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ผู้อ่านอาจลองอ่านความระหว่างบรรทัดจากหนังสือ
ขณะเดียวกัน ไกส์ก็เห็นว่าพวก ที่ต่อต้านการผูกขาดนั้น เป็นผู้ที่ถูกความ
หวาดกลัวผลักดัน โดยเป็นความกลัวว่าอำนาจทางเศรษฐกิจ ที่มีมากเกินไปในองค์กร
ขนาดใหญ่จะนำไปสู่อำนาจทางการเมืองอย่างแน่นอน
ในตอนท้ายของหนังสือ ดูเหมือนไกส์จะมองการผูกขาดว่าเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของทุนนิยม
และมองท่าทีต่อต้านการผูกขาดว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์
ซึ่งมักกลัวสิ่งที่ใหญ่โต และนำไปสู่การชักนำให้นักการเมือง ที่ต้องการคะแนนนิยมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
เขากล่าวสรุปว่า
"การผูกขาดเป็นผลที่เป็นไปตามหลักเหตุผลขององค์กรในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี
การต่อต้านการผูกขาดเป็นเพียงยาต้านพิษในกรณี ที่มีการใช้อำนาจเกินขอบข่ายไปมาก
และทำให้ผลประโยชน์หยุดชะงัก แต่ยา ที่ใช้แก้ก็จะเป็นยาทาง การเมืองอยู่เสมอ..."
ไม่มีพระเอกหรือผู้ร้ายในหนังสือเล่มนี้ นอกจากผู้เล่นบทบาทต่างๆ ที่ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ความทันสมัยของหนังสือเล่มนี้ทำให้หนังสือมีข้อมูลมากมาย และตรงใจของผู้ที่สนใจในเรื่องธุรกิจ
และการแข่งขัน