|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ถึงแม้จะมีข้อกล่าวอ้างถึงวัตถุประสงค์ของ CRM อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง สัมพันธภาพกับลูกค้า หรือการสร้างยอดขายจากลูกค้าก็ตาม แต่ยังไม่มีใครชี้เฉพาะลงไปว่า หัวใจของ CRM คืออะไร และจะต้องทำอย่างไร
วันนี้จึงมายั่วให้คุณๆแย้งอีกครั้งว่า เป้าหมายของ Customer Relationship Management ต้องเริ่มนับหนึ่งจากประสบการณ์หลังการซื้อที่ดีเสียก่อน นั่นหมายความว่า CRM ต้องเริ่มจากเครื่องมือการตลาดที่เหมาะสมกับผู้บริโภคเสียก่อน แล้ว CRM จึงเป็นผลหลังจากนั้น เพราะถ้าผู้บริโภคไม่มีประสบการณ์หลังการซื้อที่ดีเสียก่อนเป็นประเดิม ก็ยากที่จะสร้างสัมพันธภาพและการซื้อซ้ำต่อไปได้ ดังนั้นวิธีคิดคงต้องไปเทียบเคียงกับวิธีคิดของการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ (Integrated Marketing Communication) ที่เป็นต้นเรื่องซะก่อน มิฉะนั้นจะหลงเลือนเฟือนฟั่นไปซะก่อน
หลักคิดของ IMC มีโฟกัสอยู่ที่จุดที่สร้างหรือทำลายแบรนด์ระหว่างตราสินค้ากับผู้บริโภค หรือ Contact Point ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพนักงานขายห่วย ก็ส่งผลกับตราสินค้านั้นๆ ไม่เว้นแม้พนักงานขับรถส่งของที่มีป้ายโฆษณาของสินค้านั้นติดตั้งอยู่ บางบริษัทจึงทำยันต์กันไว้ว่า ถ้าขับรถไม่สุภาพโปรดแจ้ง เป็นต้น
นี่หมายรวมตั้งแต่ตัวสินค้าจนถึงการสื่อสารด้วยนะครับว่ามีส่วนสร้างและทำลายแบรนด์ นั่นประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งคือ ต้องมีมุมมองจากผู้บริโภคเป็นสำคัญ ที่ว่าสินค้าคือคุณค่าที่ผู้บริโภคได้รับราคาคือค่าใช้จ่ายหรือสิ่งที่เป็นต้นทุนของผู้บริโภค การจัดจำหน่ายเป็นความสะดวกในการจับจ่ายซื้อหา
และสุดท้ายการส่งเสริมการขายคือการสื่อสารกับผู้บริโภค (Consumer’s Value, Cost, Convenience, Communication) รวมไปถึงพนักงานบริษัท ทุกคนที่มีโอกาสสร้างหรือทำลายแบรนด์ในฐานะกลุ่มอ้างอิง
ถามว่าทำไมจึงต้องเทียบเคียงการคิด CRM เข้ากับการคิดแบบ IMC ตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า เพราะ IMC เป็นขบวนการที่ทำให้เกิดการใช้การซื้อสินค้าหรือบริการนั้น โดยมุ่งไปที่ประสบการณ์หลังการซื้อที่ดี ในขณะที่ CRM มีประสบการณ์หลังการซื้อที่ดีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก (Prime Factor) ที่จะทำให้สัมพันธภาพและการซื้อซ้ำเป็นไปได้โดยสะดวก
ยกตัวอย่างให้เห็นจริง คุณเคยไปรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างบ้างไหมครับ ผมว่าคุณคงเปรียบเทียบถึงบริการและรสชาติอาหารระหว่างตราสินค้าที่มีอยู่ในตลาดได้ ถ้าให้ผมเดาคุณจะมีประสบการณ์ที่ดีกับร้านหนึ่ง
และประสบการณ์ที่ค่อนข้างแย่กับอีกร้าน ถามง่ายๆ ล่ะครับว่า ถ้าทั้งคู่ทำ CRM กับคุณ แนวโน้มที่คุณจะไปซื้อซ้ำที่ไหนจะมีมากกว่าครับ
เอาอีกตัวอย่างนะครับ ผมถือบัตรเครดิตของธนาคารอยู่ธนาคารหนึ่ง ไม่ต้องบอกตรานะครับ แต่พอผมมาได้ยินการนำเสนอหรือให้สิทธิพิเศษของบัตร KTC ผมแทบอยากเปลี่ยนบัตรเครดิต เพราะ KTC ให้ประสบการณ์ซื้อที่ดีไงครับ ไม่ว่าจะเป็นเติมน้ำมันฟรีเต็มถัง การมีสิทธิพิเศษในการซื้อสินค้าแล้วได้รับแถมโน่นแถมนี่ แล้วยังให้คนถือรู้สึกพิเศษ ทั้งการออกแบบและการสื่อสารกับผู้ถือบัตร (ขอให้ทำต่อไป เพราะบางทีผมอาจจะยกเลิกบัตรเก่าที่แค่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี แต่ไม่ได้ทำให้ผมรู้สึกผูกสมัครรักใคร่ไปด้วย)
ตัวอย่างแบบนี้ละครับ ผมจึงกล้าชี้ชัดลงไปว่า ถ้าคุณคิดจะทำ CRM แล้วล่ะก็ ให้วิจัยประสบการณ์หลังการซื้อของผู้บริโภคของคุณซะก่อน ถ้าห่วย ขอให้แก้ตรงจุดห่วยให้บรรเทาเบาบาง พร้อมกับทำ CRM ควบคู่กันไปก็ยังไม่สาย แต่ถ้าไม่แก้ปัญหาตรงจุดเริ่มก่อน เสียสตางค์เปล่าๆครับที่จะไปเริ่ม CRM ตามกระแสคนอื่น ขอให้เห็นภาพที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าหรือบริการของเราให้ชัดซะก่อน แล้วจึงทำก็ไม่สาย เพราะถ้าผู้บริโภคยังรู้สึกเฉยๆ ต่อสินค้าหรือบริการของเรา โอกาสสร้างความสัมพันธ์และซื้อซ้ำจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยและไม่คุ้มในการลงทุนทาง CRM
อย่าลืมนะครับ โฟกัสไปที่ประสบการณ์หลังการซื้อที่ดีให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร เชื่อว่าคุณจะรักษาลูกค้าที่ภักดีต่อคุณเอาไว้ได้ตราบนานเท่านานครับ
|
|
 |
|
|