|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สถาบันการเงิน ทั้งแบงก์ และนอนแบงก์ ปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ เบนเข็มปล่อยสินเชื่อบ้าน เหตุเสี่ยงต่ำ ตลาดใหญ่มูลค่าแสนล้าน และโดดแรงบีบจากธปท.เรื่องกำหนดเพดานดอกเบี้ย ธอส.ผู้นำตลาดปล่อยไม้เด็ดเป็นระลอก หวังขยายฐานลูกค้าใหม่ และตีกันลูกค่าเก่าเปลี่ยนใจรีไฟแนนซ์
เมื่อการซื้อ-ขายในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวขึ้น การแข่งขันด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (non bank) ต่างก็หันมาให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงน้อยแล้ว ยังมีฐานลูกค้าจำนวนมากอีกด้วย รวมถึงจากมาตรการการควบคุมและกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ หันมาเพิ่มรายได้ด้วยการรุกธุรกิจสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อเคหะ เป็นตัวชูโรง
อย่างไรก็ตาม การหันมาแย่งกันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินต่าง ๆ คงไม่เรื่องง่ายนัก เพราะธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ผู้นำตลาดสินเชื่อบ้าน คงไม่ปล่อยให้ยอดปล่อยสินเชื่อลดลง หรือถูกแย่งไปง่าย ๆ ธอส.จำต้องงัดไม้เด็ดต่าง ๆ ออกมาเป็นระลอก เพื่อเพิ่มยอดสินเชื่อ รวมถึงรักษาฐานลูกค้าเก่าไม่ให้ไปรีไฟแนนซ์ที่อื่น ขณะที่สถาบันการเงินอื่น ๆ ก็ไม่ยอมปล่อยให้โอกาสเสียไป ต่างก็เร่งจัดแคมเปญเด็ด ๆ ออกจูงใจลูกค้ากันอย่างชนิด ไม่มีใครยอมใคร (ดูตารางประกอบ)
หั่นดอกเบี้ยเพิ่มฐานลูกค้า
โดย ธอส.ปล่อยกู้ในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาด มีส่วนต่าง 0.25-0.75% ต่อปีเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR 5.75% ในขณะที่ ธอส.เสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้MRRที่ 6.25% ภายใต้โครงการเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 3-5% แบบขั้นบันได และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.50% ระยะเวลากู้ 5 ปี
แม้ว่าภาวะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ส่งผลกระทบต่อลูกค้า ธอส.น้อยมาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่คิดเป็นสัดส่วนถึง 53% ของฐานลูกค้าสินเชื่อทั้งหมด
นอกจากเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ธอส.ยังมีแผนที่จะออกแคมเปญสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.75-7.00% ระยะเวลากู้ 10 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรกของระบบสถาบันการเงินที่มีการออกแคมเปญสินเชื่อคงที่ระยะเวลายาวนานถึง 10 ปี เพื่อแบ่งเบาภาระในการผ่อนชำระให้กับผู้ซื้อบ้านที่ต้องการขอสินเชื่อระยะยาว อีกทั้งยังเป็นการรักษาฐานลูกค้าเงินกู้ระยะยาวแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งอายุสัญญาใกล้สิ้นสุดลงไม่ให้ไปทำการรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินอื่นอีกด้วย
แบงก์รวงข้าวปรับโครงสร้างเงินกู้
ขณะที่ธ.กสิกรไทยประกาศรุกสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้วยการปรับโครงสร้างและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ลงอีก 0.25% และปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่อิงกับอัตราดอกเบี้ยMLRขึ้นอีก 0.25% จากปัจจุบันที่มีอัตราดอกเบี้ยMLR 5.50% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธ.กสิกรไทยเป็นแคมเปญที่น่าสนใจไม่น้อยเมื่อเทียบกับแคมเปญสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินอื่นๆ นอกจากนี้ ธ.กสิกรไทยยังคงทางเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 2 ปีไว้เช่นเดิม พร้อมทั้งแบ่งทางเลือกใหม่สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยไว้ถึง 6 แบบ
ส่วนธ.กรุงไทยได้ยกเลิกสินเชื่อกรุงไทยเคหะ สุขทวี แล้วหันมาออกสินเชื่อกรุงไทยเคหะ ทรัพย์ทวีแทน โดยเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในปีแรก และให้ลูกค้าได้มีโอกาสเลือกกู้ 2 แนวทาง คือ ดอกเบี้ยปีแรก 3% หรือดอกเบี้ยปีแรกในอัตราMLR อยู่ที่ 5.75%-3.00% หรือเท่ากับ 2.75% หลังจากนั้นจึงคิดอัตราดอกเบี้ยMLR -0.75% ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ นอกเหนือจากโครงการให้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างบ้าน ต่อเติมและซ่อมแซมโดยให้กู้สูงสุดถึง 90% ของราคาประเมิน
ด้านธนาคารนครหลวงไทยที่เพิ่งหันมารุกขยายพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาได้ประกาศออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ 3 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.-30มิ.ย.นี้ ประกอบด้วย 1.สินเชื่อเคหะคงที่ 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.75% 2.สินเชื่อเคหะคงที่ 2 ปีอัตราดอกเบี้ย 4.50% และ3.สินเชื่อเคหะคงที่ 3 ปี ดอกเบี้ย 5.25% พร้อมทั้งยังคงทางเลือกเดิม 3 แนวทางอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะการแข่งขันที่รุนแรงทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงิน ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงเป็นของผู้บริโภค แม้ว่าจะมีปัจจัยลบด้านแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ปัญหาราคาน้ำมัน ปัญหาก่อการร้าย หรือปัจจัยลบอื่นๆ ก็ตาม
|
|
|
|
|