Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 พฤษภาคม 2548
“N-PARK”ดิ้นหาพันธมิตรการเงิน ยืนยันโมเดลธุรกิจต้นน้ำ-ปลายน้ำ             
 


   
www resources

โฮมเพจ แนเชอรัล พาร์ค

   
search resources

แนเชอรัล พาร์ค, บมจ.
เสริมสิน สมะลาภา
Real Estate




บริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด(มหาชน) หรือ N-PARK หวนกลับสู่วงโคจรของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกครั้ง พร้อมกับโครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างองค์กรใหม่ ที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการลงทุนจากธุรกิจต้นน้ำสู่ธุรกิจปลายน้ำ ตีความหมายได้ว่านับจากนี้เป็นต้นไป N-PARK จะขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การลงทุนในธุรกิจต้นน้ำ ซึ่งตามคำนิยามของ N-PARK หมายถึงการลงทุนในธุรกิจการเงิน เพื่อสร้างแหล่งระดมทุนทางการเงินรองรับการลงทุนในอนาคตที่เปรียบเสมือน ธุรกิจปลายน้ำ

เสริมสิน สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด(มหาชน) หรือ N-PARK กล่าวว่า ปัจจุบันโมเดลในการดำเนินธุรกิจของบริษัทยังคงยึดมั่นในหลักการของธุรกิจต้นน้ำสู่ปลายน้ำเหมือนเช่นเดิม แม้ว่าระยะหลังๆ จะมีกระแสข่าวด้านลบเกี่ยวกับฐานะทางด้านการเงินของบริษัท ซึ่งกระทบกระเทือนต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ปัญหาทางด้านการเงินของ N-PARK เกิดขึ้นจากการทุ่มงบประมาณเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ขยายการลงทุนในธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจัดสรรที่ลงทุนร่วมกับบริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ธุรกิจให้บริการด้านการขนส่งหรือธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่ง N-PARK เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือ บีเอ็มซีแอล ตลอดจนการลงทุนในธุรกิจที่สร้างรายได้ระยะยาวอย่างธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ รวมทั้งธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทที่ลงทุนร่วมกับกลุ่มบริษัทอมันรีสอร์ท เซอร์วิสเซส ลิมิเต็ด ผู้บริหารโรมแรมและรีสอร์ทหรูระดับโลก เพื่อพัฒนาโรงแรมและรีสอร์ทระดับหรูทั้งในและต่างประเทศ อันจะสร้างรายได้ในระยะยาวให้กับ N-PARK ในอนาคต

N-PARK ใช้เงินไปกับการลงทุนเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับรายได้ที่เข้ามาเพียงไม่ถึงครึ่งของเม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุนทั้งหมด ดังนั้น สิ่งที่ N-PARK ต้องเร่งดำเนินการคือสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานะทางการเงิน โดยเริ่มจากการทยอยขายหุ้นบางส่วนที่มีอยู่ใน บีเอ็มซีแอล ออกไปให้กับกลุ่ม ช.การช่าง ตามด้วยการตามจีบกลุ่มซิตี้ เรียลตี้ของ ชาลี โสภณพนิช เข้าร่วมทุน โดยหวังที่จะให้กลุ่มโสภณพนิชเข้ามาช่วยหนุนด้านการเงิน แต่แล้วดีลแลกหุ้นระหว่างกลุ่มซิตี้ เรียลตี้ และN-PARK ก็ล่ม แต่แผนสร้างศักยภาพทางด้านการเงินซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำยังต้องดำเนินต่อไป การตัดสินใจขายหุ้นที่ถือครองอยู่ใน ฟินันซ่า จึงเกิดขึ้นท่ามกลางการคัดค้านของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เห็นว่าไม่สมควรที่จะขาย เพราะต้องขาดทุนจากการขายกว่า 400 ล้านบาท

เสริมสิน ยืนยันว่า ปัจจุบันฐานะทางด้านการเงินของบริษัทมีความแข็งแกร่งและมีศักยภาพทัดเทียมกับคู่แข่ง แม้จะมีการตัดขายหุ้นบางส่วนใน บีเอ็มซีแอล และมีแผนที่จะขายหุ้นในฟินันซ่า ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นในกลุ่มธุรกิจต้นน้ำทิ้งไป แต่บริษัทก็ยังคงศักยภาพความแข็งแกร่งด้านการเงิน เพราะนโยบายหลักของ N-PARK คือขายเงินลงทุนบางส่วนออกไป และนำพันธมิตรรายใหม่เข้ามา

โดยปัจจุบันความคืบหน้าของ บีเอ็มซีแอล และ ฟินันซ่า ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องรอจนกว่าจะปิดงบการเงินในวันที่ 15 พฤษภาคม แต่ในเบื้องต้น เสริมสิน กล่าวว่า บอร์ดมีข้ออนุมัติเกี่ยวกับกรณีหุ้นฟินันซ่าแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะขายออกไปหรือไม่ และหากขายจะขายในสัดส่วนหรือราคาเท่าใด เช่นเดียวกับ บีเอ็มซีแอล ที่ยังต้องรอให้ปิดงบทางการเงินเสียก่อนจึงจะเปิดเผยในรายละเอียดได้ว่าจะขายหรือไม่และขายเท่าใด โดยในขณะนี้บริษัทยอมรับว่าได้มีการเจรจาร่วมกับพันธมิตรใหม่ทางธุรกิจหลายราย แต่ไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้

“ทั้งบีเอ็มซีแอล และ ฟินันซ่า ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะขายหรือไม่ ที่ผ่านมาเป็นแค่เพียงการขออนุมัติจากบอร์ดเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงยังบอกไม่ได้ว่าถ้าบอร์ดอนุมัติให้ขายฟินันซ่าจะเป็นการขายแบบขาดทุนหรือไม่ แต่เชื่อแน่ว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน โดยยืนยันเสถียรภาพทางการเงินของบริษัทว่ายังมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง ซึ่งในปีนี้บริษัทจะเร่งเคลียร์ปัญหาด้านการบริหารจัดการเงินให้มีเสถียรภาพขึ้น และจะทยอยชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ทุกราย”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us