Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 สิงหาคม 2548
อิมเมจิน แบรนด์วิชั่นซัมซุง อัพทูพรีเมี่ยม             
 


   
search resources

ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์, บจก.
Electric




ซัมซุงต่อยอดแบรนด์วิชั่นจากซัมซุงดิจิตอลไปสู่ซัมซุงอิมเมจิน จินตนากรไร้ขีดจำกัด โดยผสมผสานเทคโนโลยี และ ดีไซน์ เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค เพื่อยกระดับไปสู่การเป็นแบรนด์พรีเมี่ยม 3 อันดับแรกของโลก

ซัมซุงประกาศพัฒนาแบรนด์วิชั่นไปสู่การเป็น Imagine โดยวางเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นแบรนด์สัญลักษณ์ (Icon Brand) ของเทคโนโลยีที่มีสไตล์ในยุคของการควบรวมเทคโนโลยี หรือ Digital Convergence เช่นโทรศัพท์มือถือที่สามารถถ่ายรูป ดูหนัง ฟังเพลงได้ในเครื่องเดียวกัน โดยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ซัมซุงวางตำแหน่งแบรนด์ให้เป็นแบรนด์ระดับโลกภายใต้แบรนด์วิชั่นที่ว่า Samsung Digital Everyone Invited เป็นการแนะนำผู้บริโภคให้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งดิจิตอล ซึ่งในยุคนั้นดิจิตอลยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้บริโภค สินค้าดิจิตอลมีราคาแพง ผู้บริโภคจับต้องได้ยาก รวมถึงการควบรวมของเทคโนโลยีก็มีน้อย ซัมซุงจำเป็นที่จะต้องสร้างการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักของตลาดก่อน โดยซัมซุงโฟกัสตลาดไปที่กลุ่มลูกค้าที่เรียกว่า Sensible Brand Buyer ซึ่งจะตัดสินใจซื้อโดยพิจารณาจากความคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไปกับสินค้าที่ได้มา รวมถึงคุณค่าของตราสินค้า

ซัมซุงพยายามพิสูจน์ให้ลูกค้าเห็นถึงความคุ้มค่าจากการซื้อสินค้าของซัมซุง ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจนทำให้มูลค่าของแบรนด์ซัมซุงขยับจาก 5.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2543 มาอยู่ที่ 14.9 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ จัดเป็นแบรนด์อันดับที่ 20 ของโลก โดยซัมซุงตั้งเป้าว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าแบรนด์เพิ่มเป็น 25 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้ซัมซุงเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรกของโลก

อย่างไรก็ดีเนื่องจากตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความต้องการของผู้บริโภคมีมากขึ้น ละเอียดขึ้น ซึ่งเดิมทีแต่ละบริษัทจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี ต่อมาก็สร้างจุดต่างด้วยการออกแบบหรือดีไซน์สินค้าให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าเทคโนโลยีตามกันได้ ขณะที่ดีไซน์เป็นเหมือนลิขสิทธิ์ที่ใครก็ลอกเลียนแบบไม่ได้ มาในยุคนี้ เทคโนโลยีบวกกับการออกแบบดูจะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่ยังมีเรื่องของไลฟ์สไตล์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ซัมซุงจึงมีการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคโดยพิจารณาจากไลฟ์สไตล์ซึ่งพบว่าตลาดแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลักได้แก่ High-Life Seeker เป็นผู้ที่ไวต่อเทคโนโลยี มีรายได้ระดับกลางแต่พร้อมที่จะจ่ายเพื่อซื้อสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ กลุ่มที่ 2 คือ Sensory เป็นผู้ที่มีเหตุผลในการตัดสินใจซื้อ ไวต่อเทคโนโลยีน้อยกว่ากลุ่มแรก กลุ่มที่ 3 คือ Rational เป็นผู้ที่เลือกซื้อแต่เทคโนโลยีที่คิดว่าจำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น

ส่วนกลุ่มที่ 4 แม้จะเป็นผู้ที่ยอมรับในเทคโนโลยีแต่กว่าจะซื้อสินค้านั้นก็ตกรุ่นไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มที่ 5 เป็นผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเฉพาะฟังก์ชั่นหลัก เช่น โทรศัพท์มือถือก็ใช้แค่การสื่อสารทางเสียง ไม่ใช้ทำอย่างอื่น หรือบางทีก็อาจไม่ยอมรับเทคโนโลยี เช่น คนที่มีกำลังซื้อพอแต่ก็ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ

ทั้งนี้จากการศึกษาของซัมซุงพบว่า ตลาด 3 กลุ่มแรกรวมกันมีมากถึง 60% ของตลาดทั้งหมด โดยแต่ละเซกเมนต์มีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ซัมซุงจึงเลือกที่จะรุกตลาดทั้ง 3 เซกเมนต์ เนื่องจากมีการตัดสินใจซื้อที่ง่ายกว่า 2 กลุ่มหลัง แต่จะโฟกัสไปที่กลุ่มแรก คือ High-Life Seeker เนื่องจากมีพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องกับแบรนด์วิชั่นใหม่ของซัมซุงที่ว่า Imagine

"จากการสำรวจเราพบว่ากลุ่ม High-Life Seeker เป็นผู้ที่ชอบสินค้าที่มีความเป็นเลิศทั้งการออกแบบและเทคโนโลยี รวมถึงตรายี่ห้อ สินค้าอะไรที่บ่งบอกถึงรสนิยมจะเป็นที่ชื่นชอบของคนกลุ่มนี้" อาณัติ จ่างตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ กล่าว

อิมเมจิน เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี ดีไซน์ และไลฟ์สไตล์ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ซัมซุงอิมเมจินเป็นแบรนด์สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำทั้งทางเทคโนโลยีและดีไซน์

แบรนด์วิชั่นใหม่ของซัมซุงจะถูกใช้ในสินค้าหมวดภาพและเสียงก่อน จากนั้นจะทยอยปรับใช้กับสินค้าหมวดอื่นต่อไป ภายใต้งบประมาณ 120 ล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งการทำโฆษณาและโรดโชว์เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้และสัมผัสถึงความเป็นสินค้าพรีเมี่ยม

สำหรับสินค้าที่จะลอนช์ออกมาภายใต้แบรนด์วิชั่น "อิมเมจิน" นั้นในเบื้องต้นจะมี 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ในสินค้าหมวดเอวี ได้แก่ สลิมฟิตทีวี ซึ่งเป็นทีวีจอแก้วที่มีการออกแบบให้มีความหนาลดลง 33% พลาสม่าทีวีที่ให้ความละเอียดของสี 549 พันล้านสี ในขณะที่ท้องตลาดมีเพียง 68.7 พันล้านสี และจะมีการทำตลาดพลาสม่าทีวีขนาด 80 นิ้วในเดือนตุลาคมนี้ นอกจากนี้ยังมี เอ็มพี 3 ชุดโฮมเธียเตอร์ และมินิเก็ตแฮนด์ฟรี ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบันโดยสามารถใช้งานได้ 6 อย่างคือเป็นทั้งกล้องวิดีโอ กล้องถ่ายรูป ที่เก็บข้อมูล กล้องติดคอมพิวเตอร์ เอ็มพี 3 และเป็นเครื่องบันทึกเสียง

ทั้งนี้ซัมซุงยังคงนโยบายด้านราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า พร้อมกับการเพิ่มช่องทางที่จะสื่อถึงความเป็นอิมเมจินด้วยการเปิดร้านค้ารูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อว่า "ซัมซุง พลาซ่า" หรือซัมซุงแบรนด์ชอป ซึ่งเปิดแห่งแรกที่เดอะมอลล์บางกะปิ และในปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 1 แห่งที่สยามพารากอน

รูปแบบของซัมซุงพลาซ่าจะแตกต่างจากซัมซุงแกลเลอรี่ชอป ตรงที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า และมีการจัดดิสเพลย์ ตกแต่งร้านสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าตั้งแต่ระดับ Rational ไปถึง ระดับ Hi-Life Seeker ในขณะที่ซัมซุงแกลเลอรี่ชอปเป็นเพียงการวางสินค้าให้ครบหมวดหมู่เท่านั้น ไม่ได้มีการจัดดิสเพลย์ภายใต้คอนเซ็ปต์ ซัมซุง อิมเมจิน

อิมเมจิน แบรนด์วิชั่นใหม่ของซัมซุงจะเป็นตัวสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและเมื่อไรที่คำว่าซัมซุงอิมเมจินสามารถสื่อถึงความเป็นไฮเทคโนโลยีได้แล้วก็จะทำให้ซัมซุงทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คล้ายๆกับการทำตลาดของโซนี่ที่ผู้บริโภคยอมรับในคุณภาพอยู่แล้ว โซนี่จึงข้ามไปเล่นในเรื่องของ Emotional Marketing เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค ทำให้สามารถต่อยอดไปสู่การขายสินค้าอื่นได้อย่างง่ายดาย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us