Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 สิงหาคม 2548
โฆษณาบนเกมออนไลน์ แม้ตลาดยังเล็กแต่ตรงกลุ่มเป้าหมาย             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations
Networking and Internet




ถือได้ว่ารูปแบบการโฆษณาบนเกมออนไลน์เป็นอีกกระแสที่กำลังจะมาแรงในอนาคตตามความนิยมลงสื่อในต่างประเทศซึ่งแพร่หลายมากเนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนได้โดยตรง

จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจโฆษณาบนเกมออนไลน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว และเติบโตมากหลังบริษัท บีเอ็ม มีเดีย นำเกมแร็กน่าร็อคเข้ามาทำเป็นเวอร์ชั่นภาคภาษาไทยและมีผู้นิยมเข้ามาเล่นจำนวนมาก จากนั้นก็มีผู้ประกอบการเข้ามาในตลาดนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนปัจจุบันมีรวมแล้วกว่า 30 ราย ไม่ว่าจะเป็น เอ็นซี ทรู, อินทรี ดิจิตัล, สยาม อินฟินิท เป็นต้น และมีเกมให้เล่นมากมายหลายความบันเทิงให้เลือกเล่นไม่ขีดวงเฉพาะเกมประเภทอาร์พีจีเท่านั้น

แต่ในจำนวนเกมออนไลน์ที่เปิดตัวอย่างมากมาย ที่โดดเด่นในวงการนี้นับจากจำนวนลูกค้ามาลงโฆษณามากเห็นจะมีอยู่ 2 ค่ายใหญ่ คือ บีเอ็ม มีเดีย ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและบริหารลิขสิทธิ์เกม แร็กน่าร็อค,กันดาวน์, เมเปิ้ล สตอรี่, ทีเอส ออไลน์. กับค่ายอินทรี ดิจิตอล ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและบริหารลิขสิทธิ์เกม ฟลิฟ ,ปังย่า ซึ่งเป็นเกมกอลืฟ จับกลุ่มผู้ใหญ่

รูปแบบโฆษณาส่วนใหญ่จะเป็นการ Branding ตอกย้ำ และ remind ตราสินค้ามากกว่าแนะนำตัวผลิตภัณฑ์ เนื่องจากไม่สามารถให้รายละเอียดได้ลึกซึ้งนักเพราะจะมีปรากฎขึ้นมาให้เห็นเป็นระยะๆประมาณ 2-3 วินาทีช่วงผ่านด่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเทอร์เน็ต

สำหรับพื้นที่การวางโฆษณาในเกมนั้นมีหลายตำแหน่งด้วยกันทั้ง วอลเปเปอร์ขณะโหลดเกม,บนบัตรเติมเงินค่าเล่นเกม และในเว็บไซต์ที่ต้องมีการเข้าไปเติมเงิน ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 3 พันไปจนถึงถึง 5 หมื่นบาท โดยเงื่อนไขระยะเวลาขึ้นอยู่กับการตกลงกันเป็นรายๆไป และบริษัทจะมีการอัพเดตอยู่เสมอ ทั้งนี้ประเภทสินค้าที่มีการโฆษณามักจะเป็นกลุ่มไอทีและกลุ่มอุปโภคบริโภคที่มีวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเช่น ออเร้นจ์, แอกซ์,ฮัตช์, อินเทอร์เน็ต เคเอสซี, เซเว่นอีเลฟเว่น,รองเท้านันยาง, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ทรู รวมถึงเกมออนไลน์อื่นๆในค่าย

ส่วนการตัดสินใจซื้อของลูกค้านอกจากจะพิจารณาฐานจำนวนสมาชิกผู้ที่เข้ามาเล่นเกมนั้นๆแล้ว ยังพิจารณาแนวเกมที่กลุ่มเป้าหมายจะเลือกเล่นอีกด้วย เช่นเกมต่อสู้, เกมแข่งกีฬา หรือ เกมวางแผน ซึ่งพฤติกรรมโดยทั่วไปของคนกลุ่มนี้มักจะติดเกม เนื่องจากชอบความท้าทายและต้องการเอาชนะ อีกทั้งเปิดรับสิ่งใหม่ๆง่าย ทำให้สอดคล้องกับการใช้สื่อโฆษณาบนเกมออนไลน์

ในต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาสื่อรูปแบบนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมมากมีแบรนด์ระดับโลกมากมายที่ลงโฆษณาโดยโฆษณาอาจจะไม่ใช่เพียงวอลเปเปอร์ขณะโหลดเกมส์แต่อาจแทรกลงไปอยู่ในตัวเกมส์ด้วยเลยเช่น รถยนต์บีเอ็มดับเบิ้ลยู, ร้านดังกิ้น โดนัท, รถยนต์ฮอนด้า หรือแม้กระทั่งโคคาโคล่า เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมประกอบกับสื่อหลักเช่น โทรทัศน์, วิทยุ รวมทั้งนิตยสาร มีราคาแพงมาก โฆษณาบนเกมออนไลน์จึงสามารถตอบโจทย์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นอย่างแม่นยำกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบรายได้ค่าโฆษณากับรายได้อื่นๆแล้วยังนับว่ามีน้อยมากไม่ถึง 1 % เสียด้วยซ้ำ

ขณะที่การโฆษณาบนเกมอนไลน์ในประเทศไทยยังนับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ และยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมากนัก ต้องใช้ระยะเวลาสร้างการรับรู้อีกสักระยะ ประกอบกับตอนนี้ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพียง 7-8 ล้านคนโดยในจำนวนนี้มีผู้เล่นเกมออนไลน์แค่ 1-2 ล้านคนเท่านั้น ทว่า จากการแพร่หลายของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในปัจจุบันจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้มีจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตและมีโอกาสได้เล่นเกมอนไลน์ใหม่ๆได้ง่ายขึ้นซึ่งจะทำให้การโฆษณารูปแบบนี้มีการเติบโตไปพร้อมกันด้วย แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์กล่าว

ถึงแม้รายได้จากค่าโฆษณาจะไม่ใช่เส้นเลือดใหญ่ของผู้ผลิตเกมออนไลน์ก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นอีกทางออกหนึ่งของผู้ผลิตที่พยายามหารายได้ส่วนอื่นๆมารองรับต้นทุนการผลิตไม่ว่าจะเป็นค่า วิจัย พัฒนา ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตจึงมีความเป็นไปได้ว่าเราคงจะได้เห็นโฆษณารูปแบบนี้จะมีอัตราการเจริญเติบโตมากขึ้น

แต่สำหรับในระดับโลกแล้วโฆษณาไม่ได้สินสุดเพียงแค่ในเกมออนไลน์เท่านั้น หลายบริษัทยังมีความพยายามบุกไปถึงตลาดเครื่องเล่นเกมคอนโซล ทั้งเพลย์สเตชั่นทูจากโซนี่ และ เอ็กซ์บ๊อกซ์จากไมโครซอฟท์อีกด้วย โดยจะรอให้เกมเหล่านั้นเล่นผ่านอินเทอร์เน็ตและผู้ผลิตเกมสามารถเก็บข้อมูลการเห็นโลโก้ของลูกค้าได้เสียก่อน

เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้โฆษณาก็พยายามหาช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าซึ่งเป็นเด็กผู้ชายวัยรุ่นอย่างไม่ลดละเนื่องจากพวกเขาใช้เวลากับโทรทัศน์น้อยลงและเล่นเกมมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us