Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 สิงหาคม 2548
รายงาน : กลยุทธ์แก้วิกฤตโออิชิ ภาค 2 ตอน...เชื้อราที่ก้นขวด             
 


   
search resources

โออิชิ กรุ๊ป, บมจ.
Green Tea




ปัญหามีสิ่งผิดปกติแปลกปลอมเจือปนในชาเขียวโออิชิ ที่เกิดเป็นข่าวใหญ่และได้เกิดเรื่องร้องเรียนมาแล้ว 2 ครั้ง รายแรกในเดือนกุมภาพันธ์เป็นชายที่ดื่มชาเขียว รสน้ำผึ้งผสมมะนาว เกิดอาการแสบปากและลำคอ เพราะมีกลดเกลือเจือปน ทำให้ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนวิกฤติการณ์ครั้งที่2 เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อลูกค้าผู้หญิงที่ซื้อชาเขียวโออิชิ รสต้นตำรับ จากร้านค้าใกล้บ้านมาดื่มแล้วมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และพบว่าที่ฝาขวดด้านในมีตะกอนสีดำคล้ายเชื้อรา และมีตะกอนปนอยู่ในน้ำชาด้วย

ทันทีที่เกิดวิกฤติการณ์...ตัน ภาสกรนที ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ปจำกัด (มหาชน) ออกมารับมือแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็ว โดยทุ่มงบกู้ภาพพจน์ครั้งใหญ่ เพื่อเรียกความมั่นใจผู้บริโภค ให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์กลับมา พร้อมเปิดคัมภีร์แบบเร่งด่วน 7 มาตราการคือ

1 . เดินทางไปเยี่ยมและขอโทษลูกค้าด้วยตนเอง พร้อมทั้งรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด

2. ออกมาขอโทษ ชี้แจงยืนยันว่ากระบวนการผลิตรัดกุม หากจะมีข้อบกพร่องก็เกิดขึ้นนอกการผลิต ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกระบวนการขนส่งที่บรรทุกทับซ้อนกันเกิน 7 ลัง และทำให้ฝาจุกรั่วซึม มีอากาศเข้าไปได้หรือการเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำมากแล้วนำออกมาไว้ในอุณหภูมิสูงทำให้เกิดการตกตะกอน

3.เปิดโรงงานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี เข้าตรวจสอบระบบการผลิตภายในโรงงาน

4.กู้วิกฤต สร้างภาพพจน์ที่ดีด้วยการเปิดตัว"ครอบครัวสุขภาพดี" โดยยกครอบครัวซึ่งมีภรรยาและบุตรชายวัย 4 ขวบมาเป็นพรีเซนเตอร์

5. เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ด้วยการเปิดตัวสองผู้บริหารจากสองทวีป คือ มร.ฮาชิโมโต้ เคนอิจิ

จากญี่ปุ่น และ มร.มาร์คุส วินเทอร์ กก.ผจก. และผู้อำนวยการตลาดภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท โครเนส (ไทยแลนด์) จำกัด มาช่วยดูแลการจัดการบริหารโรงงานให้ได้มาตรฐาน

รวมทั้งติดตั้งระบบความปลอดภัยเพิ่มอุปกรณ์พิเศษให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นคือเครื่องสวมครอบฝาขวดเพิ่มอีก 1 ชั้น เครื่องเอกซเรย์ฝาและขวดเพื่อป้องกันการรั่วไหล เครื่องสแกนสีน้ำในขวด ในงบประมาณ 100 ล้านบาท

6. พาสื่อมวลชนเข้าชมกระบวนการผลิตชาโออิชิ ในโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร โครงการ 4 เพื่อตรวจสอบโรงงานทุกตารางนิ้ว

7. สั่งเก็บสินค้าในลอตเดือนกันยายน กลับคืนทั้งหมด

8. เปิดตัวโครงการ รวยฟ้าผ่า พลิกฝาโออิชิ กรีนที ลุ้นรางวัลเงินสด 1 ล้านบาททันที ใต้ฝาขวด โออิชิ จำนวน 30 รางวัล และโชคชั้นที่ 2 ส่งฝาขวดหรือกล่องเปล่าโออิชิ กรีนที ร่วมลุ้นรางวัลเงินสด 1 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่เพื่อโปรโมทแคมเปญ

เมื่อแผนการแก้วิกกฤติ ได้เริ่มดำเนินการไปอย่างครบทุกกระบวนยุทธ์... และเมื่อเสร็จสิ้น ปรากฏว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถพลิกสถานการณ์แก้วิกฤติให้เป็นโอกาส... สร้างผลอย่างเป็นเลิศให้กับชาเขียวโออิชิขึ้น เป็นผู้นำตลาด ครองมาร์เก็ตแชร์อันดับหนึ่งประมาณ 60% จากตลาดรวมมูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท และทิ้งห่างคู่แข่งรายอื่นๆแบบไม่เห็นฝุ่น

แต่ไม่ทันจะหายเหนื่อย และได้ชื่นชมกับผลงานอย่างเต็มที่ หลังรวยฟ้าผ่าหมดแคมเปญไม่นาน และออกอากาศภาพยนตร์โฆษณาโดยมี “ตัน” ผู้บริหารโออิชิกรุ๊ป ออกมาขอบคุณลูกค้าได้ไม่ถึง 3 อาทิตย์

มรสุมรอบ 3 ก็ตามมาทันที และเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันของสถานการณ์ชาเขียวที่มีคู่แข่งรายใหม่ๆประชันกันเกิดขึ้นมาในตลาดกว่า 40 แบรนด์ และขณะที่เบอร์สองในตลาดชาเขียวออกบุกตลาดด้วย “แคมเปญยูนิฟ 7 วันโชคทองกองตรงหน้า” พร้อมดึงพิธีกรกาละแมร์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

วิกฤติใหม่ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เป็นเช่นครั้งก่อนๆ เพราะมีลูกค้าที่ดื่มชาเขียวโออิชิแล้ว พบวุ้นคล้ายเชื้อราอยู่ในขวด และ 'ตัน' ก็ออกมาเคลียร์ปัญหา และแสดงความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายรักษาตัวที่โรงพยาบาลทั้งหมดกับลูกค้าทันที โดยเค้าให้สัมภาษณ์ระหว่างการเดินทางโรดโชว์ต่างประเทศ ด้วยเหตุผลเดิมว่า

“ยืนยันว่าขั้นตอนผลิตมีคุณภาพ เพราะหลังมีปัญหาครั้งแรก ก็ได้ลงทุนไปกว่า 100 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรเพิ่มมาตรการระบบความปลอดภัยในขั้นตอนการผลิต บริษัทมีเครื่องจักรที่ทันสมัยได้มาตรฐานจีเอ็มพีและเครื่องดื่มชาเขียวทุกขวดจะต้องผ่านการสแกน และตรวจสอบก่อนจะนำออกจำหน่าย ซึ่งหากพบสิ่งเจือปนหรือแปลกปลอมจะคัดออกทันที

แต่ปัญหาอาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการจัดเก็บและขนส่ง หรือขั้นตอนการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้ภาชนะที่บรรจุเกิดรอยขีดข่วน เกิดรอยรั่วและทำให้มีอากาศเข้าไปข้างในขวดจึงทำให้มีโอกาสเกิดเชื้อราขึ้นได้ หลังกลับจากโรดโชว์จะเปิดโรงงานให้เข้าชมกระบวนการผลิตอีกครั้ง และจะไม่มีการจัดแคมเปญตัวใหม่ออกมาในช่วงนี้”

หากปัญหาเกิดขึ้นโดยระบบการขนส่ง ตามที่ตั้งข้อข้อสันนิฐานไว้ และเมื่อเกิดขึ้นอีกครั้งที่สอง รอบนี้คงได้แก้ไขจุดอ่อนไม่ให้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4...5...6

อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรวดเร็วในแก้ไขสถานการณ์ให้เป็นไปในทิศทางทีดีขึ้นของ “ตัน” เป็นไปอย่างมืออาชีพ เพราะถ้าหากปล่อยเวลาให้เรื่องราวยังคงค้างคาใจผู้บริโภคนานวันเข้า นั่นก็หมายความว่า ความเสียหายที่จะทวีมากขึ้น เพราะภาพลักษณ์แบรนด์โออิชิ ไม่ได้มีเพียงแค่ธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียวเท่านั้น แต่อาจกระทบไปยังธุรกิจอื่นๆที่มีการแตกไลน์สินค้าไปโดย Brand Extension ของโออิชิ

ที่สำคัญ แม้ต้นแบบคือจากธุรกิจFood ร้านอาหาร มาสู่Drink เครื่องดื่มชาเขียวก็ตาม

แต่วันนี้รายได้ของโออิชิที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล กลับกลายเป็นแหล่งสร้างรายได้อันดับหนึ่งมาจากการเติบโตของชาเขียว ดังนั้นเมื่อการเติบโตของธุรกิจในวันนี้... ที่มีชาเขียวเป็นดาวเด่น ก็ยิ่งทำให้ซีอีโอ ของโออิชิ ต้องขบคิดหนัก.... กับวิธีการจัดการในปัญหามรสุมรอบ 3 มากขึ้น และเป็นเรื่องน่าติดตาม...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us