Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 สิงหาคม 2548
สร้างสงครามเพลงออนไลน์ในญี่ปุ่น             
 


   
search resources

Musics
Hardware and Accesorries




หลังจากที่ แอปเปิล คอมพิวเตอร์ ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้านบริการเพลงออนไลน์ มาได้ระยะหนึ่งแล้ว ทำให้ผู้บริหารมีความมั่นใจมากขึ้นในการขยายธุรกิจนี้ ด้วยการดำเนินแผนงานการขยายร้านไอจูนส์ ในญี่ปุ่น ตลาดที่มีกลุ่มลูกค้าที่สนใจและมีชีวิตไลฟ์สไตล์อยู่กับเสียงเพลงไม่แพ้ตลาดอื่นๆ

การเปิดร้านบริการดาวน์โหลดเพลงทางออนไลน์ของไอจูนส์ของแอปเปิลที่โตเกียว มีความหมายสำคัญต่อตลาดเพลงออนไลน์ เพราะเป็นการท้าทายเจ้าของตลาดอย่างบริษัทโซนี่อย่างโจ่งแจ้ง

ขอบเขตของงานบริการของไอจูนส์ของแอปเปิลจะเริ่มจากฐานของเพลงประมาณ 1 ล้านเพลง ซึ่งรวมไปถึงฮิตของญี่ปุ่นเองพร้อมทั้งเพลงจากต่างประเทศด้วย จำหน่ายในราคา 150 เยนต่อเพลง จะมีเพียง 10% เท่านั้นที่คิดราคาแพงถึง 200 เยน ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ต่ำมาก จนน่าจะกระทบกระเทือนต่อคู่แข่งไม่น้อย

ก่อนหน้าที่แอปเปิล คอมพิวเตอร์ จะเข้าไปเปิดร้านไอจูนส์ในญี่ปุ่น วอล์กแมนและผู้ประกอบการเพลงออนไลน์อื่น อยู่ในฐานะผู้นำในตลาด ที่ไร้คู่แข่งขันที่จะสามารถเทียมทานได้มานาน ทำให้สามารถทำเงินกำไรจากการดำเนินงานได้ง่ายๆ มานาน

เมื่อแอปเปิลนำไอจูนส์ และเครื่องเล่นเพลงไอพอดมาแพร่ขยายในญี่ปุ่น ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นอย่างมากว่า จะสามารถแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดมาจากผู้นำในตลาดได้อย่างแน่นอน

นักการตลาดมองว่าธุรกิจเพลงของญี่ปุ่นน่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากการเข้ามาสู่ตลาดของแอปเปิล เพราะการตั้งราคาขายของเพลงออนไลน์ เพียง 150 เยน ต่ำกว่า 200 เยนต่อเดือน ที่เป็นราคาในการจ่ายสำหรับการดาวน์โหลดจากเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี และโมบายโฟน

นั่นหมายความว่า บริษัทผู้นำในตลาดเดิมอย่างเช่น บริษัท เลเบล เกต ของกลุ่มโซนี่ หรือบริษัท เอ็กซ์ไซต์ เจแปน และยาฮู เจแปน น่าจะตัดสินใจสู้ราคา ด้วยการปรับลดราคาขายลงมาไม่เกินกว่าราคาของแอปเปิลเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดเอาไว้

นอกเหนือจากการขายดีกว่าในส่วนของบริการดาวน์โหลดเพลงแล้ว นักการตลาดส่วนหนึ่งยังวิตกด้วยว่า ดีไม่ดี ในอนาคต การจำหน่ายเครื่องเล่นเพลงแบรนด์ไอพอดของแอปเปิลอาจจะขายดีและแซงหน้าการจำหน่าย เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น ทู ของกลุ่มบริษัทโซนี่ด้วย

จากตัวเลขล่าสุดพบว่า เพลย์สเตชั่น ทู ของโซนี่ขายได้เพียง 2 ล้านเครื่อง ขณะที่เครื่องเล่น ไอพอดของแอปเปิลขายได้มากกว่า 6 ล้านเครื่องแล้วในไตรมาสที่ผ่านมา

ผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดมองว่า ผู้บริหารของแอปเปิลสร้างความหวังว่าการดำเนินงานของร้านไอจูนส์ในญี่ปุ่น น่าจะเจริญรอยตามความสำเร็จของการดำเนินงานเพลงออนไลน์ในสหรัฐฯ ซึ่งร้านไอจูนส์ สามารถขยายส่วนแบ่งทางการตลาดได้ไปถึง 82% ของปริมาณการดาวน์โหลดเพลงที่ถูกต้องตามกฎหมาย

นอกจากนั้น แอปเปิ้ลยังสามารถเพิ่มการจำหน่ายเครื่องเล่นไอพอด ได้กว่า 21.8 ล้านเครื่องทั่วโลก นับจากวันที่เริ่มเปิดตัวในตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2001 และเพลงที่ได้ให้บริการดาวน์โหลตกว่า 500 ล้านเพลง ใน 19 ประเทศ หรือเท่ากับสามารถครองตลาดได้กว่า 70% ของตลาดทั้งหมด เทียบกับ 36% ในตลาดญี่ปุ่นเพียงตลาดเดียว หลังจากการเปิดตัวไอพอดมาราว 2 ปี ในขณะที่บริษัท โซนี่ มีส่วนแบ่งทางการตลาดราว 22%

จุดเด่นของไอพอด คือ มีหลากหลายรุ่น ที่แตกต่างกันตามศักยภาพในการอัดเพลง และระดับราคา ทำให้ครองอันดับ 1 อันดับ 2 และ 4 ในตลาดเครื่องเล่นพกพาของญี่ปุ่น ตามลำดับของรุ่นต่างๆ ของไอพอตในขณะนี้ รองลงมาคือ โซนี่ เน็ตเวิร์ก วอลก์แมน ครองอันดับ 3 และอันดับ 5

โดยปกติ คนที่มีเครื่องเล่นพกพา จะนิยมซื้อหรือเช่าซีดี จากร้านให้เช่าซีดี ที่มีการกระจายตัวมากมาย และหาเช่าได้ง่ายทั้งซีดีและดีวีดีด้วย

ดังนั้น การให้บริการดาวน์โหลดเพลงเองเพื่อบันทึกลงในเครื่องเล่น จึงยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ที่ยังต้องมีการสอนพฤติกรรม และทำให้เกิดความคุ้นเคย ต่อการใช้วิถีชีวิตแบบใหม่นี้ แถมผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังสามารถใช้บริการดาวน์โหลดเพลงแบบเถื่อนๆ หรือละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์

ประเด็นคือ การเปิดบริการร้านดาวน์โหลดเพลงทางตลาดออนไลน์ของแอปเปิล เป็นไปเพื่อหวังจากหารายได้จากบริการส่วนนี้เป็นหลัก หรือว่าใช้เป็นเครื่องมือหรือเครื่องนำทางในการทำให้ขายเครื่องเล่นเพลงพกพาได้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเรื่องนี้ นักการตลาดส่วนใหญ่มองว่าน่าจะเป็นกรณีหลังมากกว่า นั่นคือ หวังรายได้และการเติบโตที่มาจากเครื่องเล่นไอพอตมากกว่า

นั่นทำให้เห็นว่าแอปเปิล กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในการดำเนินความพยายาม 2 ด้านพร้อมกันคือ การสร้างพฤติกรรมใหม่และการขยายตลาดใหม่ให้กับไอพอต ในตลาดที่มีเจ้าตลาดอย่างโซนี่ ซึ่งคงไม่ยอมให้แอปเปิลผ่านไปได้ง่ายๆ โดยหวังว่าความมั่นคงของตลาดบอร์ดแบน อินเทอร์เน็ต จะช่วยสนับสนุนตลาดเพลงออนไลน์ ในญี่ปุ่นได้อย่างเพียงพอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us