Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 สิงหาคม 2548
ฟอร์ดฝ่าทางตัน รุกตลาดไฮบริดชนโตโยต้า-ฮอนด้า             
 


   
search resources

ฟอร์ด มอเตอร์
Automotive




-ฟอร์ดอเมริกาจัดทัพรถยนต์ซีดานเครื่องยนต์ไฮบริดสู้ศึกในช่วง 3 ปีข้างหน้า
-ปัญหาของฟอร์ดคือยังช้าเกินไป และซัพพลายเออร์ญี่ปุ่นผลิตชิ้นส่วนให้ไม่ทัน
-เตรียมเบนเข็มหาซัพพลายเออร์ในอเมริกาป้อนแทน

แม้โตโยต้าได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกตลาดรถยนต์ไฮบริดรายแรกของโลกในปี 1997 แต่ฟอร์ดก็ไม่ได้มีศักดิ์ศรีด้อยกว่า เพราะอย่างน้อยแม้ว่าจะมาทีหลัง แต่ก็เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่พัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดให้สามารถวางกับเอสยูวีขับเคลื่อน 4 ล้อและเปิดตัวออกสู่ตลาดพร้อมกับยอดจำหน่ายที่สูงเกินคาด

จากความสำเร็จของเอสเคป ไฮบริด ทำให้ฟอร์ดตั้งเป้าหมายใหม่ เบนเข็มเตรียมล้มโตโยต้าในตลาดไฮบริด เพื่อแก้แค้นจากการที่ถูกโตโยต้าเขี่ยหล่นจากการเป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลข 2 ของโลก และโปรเจ็กต์นี้มีรถยนต์หลายรุ่นที่ฟอร์ดเตรียมเปิดตัวเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบเครื่องยนต์ลูกผสม

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าหนทางจะสดใสและเดินกันอย่างง่ายๆ เพราะฟอร์ดยังจะต้องเจอกับปัญหาที่ไม่เฉพาะเรื่องการตลาดเท่านั้น แต่รวมถึงข้อจำกัดของเรื่องชิ้นส่วนของระบบไฮบริดที่จะใช้ในการผลิตอีกด้วย

เสริมทัพหลายรุ่นในช่วง 3 ปีหน้า

นอกจากเวอร์ชั่นไฮบริดของฟอร์ด เอสเคป และเมอร์คิวรี่ มาริเนอร์แล้ว ฟอร์ดยังวางแผนเปิดแนวรุกในตลาดไฮบริดด้วยรถยนต์นั่งขนาดกลาง เพื่อเป็นคู่ปรับกับโตโยต้า คัมรี่ที่กำลังจะเปิดตัวเวอร์ชั่นไฮบริดในปี 2006 และฮอนด้า แอคคอร์ด ที่มีเวอร์ชั่นไฮบริดขายมาตั้งแต่ปี 2004

รถยนต์นั่งขนาดกลางที่จะถูกนำมาใช้คือ รุ่นฟิวชั่นที่ขายผ่านแบรนด์ฟอร์ด และมิลานที่จะขายผ่านแบรนด์เมอร์คิวรี่ โดยทั้ง 2 รุ่นเป็นรถยนต์คันเดียวกันแต่มีรูปลักษณ์ภายนอกต่างกัน และคาดว่าจะเปิดตัวในปี 2007 นอกจากนั้น ในส่วนของเอสยูวี มีความเป็นไปได้สูงที่ฟอร์ดจะขยายแนวรุกไฮบริดนี้ต่อเนื่องออกไปสู่มาสด้า ทริบิวต์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าใช้พื้นฐานเดียวกับเอสเคป จึงไม่มีความยุ่งยากในการพัฒนามากเท่าไร

ขณะที่ในส่วนของรถยนต์นั่ง ยานยนต์ที่ใช้พื้นฐานเดียวกับฟิวชั่น และมิลาน เช่น ลินคอล์น ไซเฟอร์, ฟอร์ด ฟรีสไตล์ หรือมินิแวนรุ่นวินด์สตาร์ ต่างก็ถูกจับตามองว่า อาจจะได้รับอานิสงส์จากการที่ใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมร่วมกัน เพราะฟอร์ดคงไม่รอช้าที่จะเพิ่มทางเลือกของรถยนต์ไฮบริดให้แพร่หลายโดยที่ไม่ต้องลงทุนพัฒนาขึ้นมาใหม่

อย่างไรก็ตาม แม้ฟอร์ดฝันถึงความสวยหรูในการเพิ่มทางเลือกของรถยนต์ไฮบริดจากโปรเจ็กต์นี้ แต่นักวิเคราะห์กลับเห็นตรงข้าม และเชื่อว่าโอกาสที่ฟอร์ดจะเรียกเสียงฮือฮาจากลูกค้าได้เหมือนกับการเปิดตัวของเอสเคป ไฮบริดนั้นคงยาก เพราะจากการที่ทิ้งระยะนานถึง 2-3 ปีทำให้คู่แข่งในตลาดไม่ได้มีแค่โตโยต้า และฮอนด้าเท่านั้น แต่ยังมีจีเอ็ม และนิสสัน รวมถึงแบรนด์รถยนต์อื่นๆ เพิ่มเข้ามาสู่ตลาด

ขณะที่รถยนต์ที่จะถูกพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นไฮบริดนั้นไม่ได้หวือหวาเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับเอสเคป ดังนั้นการลุยตลาดไฮบริดยกต่อไปของฟอร์ดจะเจอกับงานหนักอย่างแน่นอน

ปัญหาไม่ได้มีแค่นี้

นอกจากนั้นยังมีการชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับฟอร์ด หากขยายแนวรุกในตลาดไฮบริด นั่นก็คือ การขาดแคลนอุปกรณ์และชิ้นส่วนของระบบ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นแล้ว ซัพพลายเออร์อเมริกันยังขาดความเชี่ยวชาญในการผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนสำหรับขุมพลังไฮบริด และนี่คืออีกอุปสรรคที่ฟอร์ดจะต้องเจอ หากคิดลุยกับเจ้าตลาดไฮบริดอย่างฮอนด้า และโตโยต้า

ในปัจจุบัน เอสเคป และมาริเนอร์ ไฮบริดใช้ระบบส่งกำลังที่พัฒนาโดยไอซิน เซกิของญี่ปุ่นและถือหุ้นโดยโตโยต้า 23% ซึ่งมีกำลังการผลิตชุดส่งกำลังให้กับฟอร์ดได้เพียง 20% ของกำลังการผลิตทั้งหมด หรือเพียง 24,000 ชุดต่อปีเท่านั้น

มีการเปิดเผยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดจากการพยายามกีดกันเพื่อคงส่วนแบ่งในตลาดของโตโยต้า และฮอนด้า แต่เป็นเพราะทั้ง 2 รายคือผู้ผลิตรถยนต์ไฮบริดรายแรกๆ ของโลก ดังนั้น จึงสามารถกำหนดสเปกชิ้นส่วน หรือ เลือกบริษัทซัพพลายเออร์เพื่อเข้าร่วมกับโครงการนี้ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์รายหลังๆ ที่คิดจะเข้าร่วมตลาดไฮบริดจำเป็นต้องเดินตาม และไม่มีอำนาจมากพอที่จะบีบซัพพลายเออร์เหล่านี้ให้คล้อยตามการทำงานของตน

“ซัพพลายเออร์ที่มีศักยภาพพอที่จะร่วมมือกับโตโยต้าและฮอนด้าก็มีจำนวนเพียงไม่กี่รายเท่านั้น เช่น ไอซิน, พานาโซนิก หรือซันโย และนี่คือ ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้เทคโนโลยีไฮบริดจำกัดวงอยู่กับบริษัทญี่ปุ่น” ลินเซย์ บรู๊ค นักวิเคราะห์ของสำนักซีเอสเอ็ม เวิลด์ไวด์กล่าว

ทางด้านโตโยต้าเองก็เปิดเผยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องการกีดกัน หรือความพยายามทำหมันไม่ให้บริษัทอื่นเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดไฮบริด แต่เป็นเพราะข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ซึ่งเป็นปัญหาคลาสสิคของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นแบบเฉพาะทาง

ไม่ถึงกับสิ้นหวังเพราะทางออกยังมี

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ใช่ว่าจะเป็นทางตันที่ฝ่าออกไปไม่ได้ และทางออกฟอร์ดของในตอนนี้คือ การพยายามมองหาซัพพลายเออร์อเมริกันที่มีศักยภาพพอในการร่วมมือผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ไฮบริด เพื่อรองรับกับการขยายทางเลือกในตลาดในอนาคต เหมือนกับที่ฮอนด้าและโตโยต้าทำเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว

“เราสามารถเพิ่มจำนวนรุ่นรถยนต์ไฮบริดเท่าใดก็ได้ แต่ถ้าสภาพของการผลิตชิ้นส่วนเพื่อรองรับกับระบบยังเป็นอย่างนี้ คงเป็นเรื่องยากที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์นี้”ฟิล มาร์ตินส์ รองประธานกลุ่มฟอร์ดฝ่ายสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์กล่าว

ในตอนนี้ฟอร์ดเปิดเผยถึงทางออกสำหรับรถยนต์ไฮบริดรุ่นใหม่ๆ ของตัวเองได้แล้ว โดยเปิดเผยว่า ทั้งรุ่นฟิวชั่นและมิลานจะใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตจากเดลฟาย ซึ่งในตอนนี้บริษัทแห่งนี้ได้ร่วมมือกับซันโยในการแชร์เทคโนโลยี โดยซันโยถือเป็นบริษัทผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฮบริดรายใหญ่ โดยในปัจจุบันส่งให้กับฮอนด้า

“ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากสำหรับซัพพลายเออร์ในสหรัฐอเมริกาที่จำเป็นจะต้องจับมือกับบริษัทญี่ปุ่นซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้มากกว่า และสิ่งนี้จะช่วยในการขยายตลาดให้กับรถยนต์ไฮบริด” มาร์ตินส์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us