Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 กรกฎาคม 2548
"ประภัสร์"ไม่สนเศรษฐกิจพัง ยันเดินหน้าถลุงงบ5แสนล้าน             
 


   
search resources

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ประภัสร์ จงสงวน
Transportation




ภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับเข้าขั้นวิกฤตในขณะนี้ส่งผลต่อภาพรวมของประเทศ รวมไปถึงโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจ็กต์ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้ง 7 สาย ที่เพิ่งได้ไฟเขียวจากรัฐบาลให้เร่งดำเนินการ

และเป็นที่แน่นอนแล้วว่า การลงทุนจะต้องเพิ่มขึ้นจากวงเงินที่เคยกำหนดไว้ จากประมาณ 5.6 แสนล้านบาท พุ่งทะลุถึง 6 แสนล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับแผนของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายรวมถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ได้ออกมาประเมินภาพรวมโดยเห็นว่าเศรษฐกิจกำลังเดินเข้าสู่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพ โดยเฉพาะปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และได้เสนอมาตรการเร่งด่วนแก่รัฐบาล 2 มาตรการ

ประกอบด้วย การลอยตัวราคาน้ำมันทันทีในเดือนก.ค.นี้ และลดขนาดเมกะโปรเจ็กต์ลง เนื่องจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายได้ง่าย ถ้าทำโดยไม่รอบคอบ และไม่มีการถ่วงดุลกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมทั้งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นปัญหาได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบัน ยิ่งต้องระมัดระวังในการผูกมัดประเทศกับแผนการลงทุนระยะยาว ถ้าผูกมัดในโครงการเหล่านี้ไปแล้ว และสถานการณ์ทางด้านดุลต่างประเทศแย่ลง จะทำให้ปรับตัวเพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ยาก

อย่างไรก็ตาม ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไม่สนใจคำทัดทานจากนักวิชาการ ยังคงเดินหน้าลงทุนโครงการระบบรางอย่างต่อเนื่อง โดยให้เหตุผลว่ามีหน้าที่ทำตามนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น ที่สำคัญรฟม.ไม่ได้มีหน้าที่หาเงิน แต่มีหน้าที่ใช้เงิน เรื่องการเงินให้ไปถามสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง เพราะคลังมีหน้าที่หาเงินมาให้รฟม.ใช้

ประภัสร์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ทีดีอาร์ไอออกความเห็นนั้น อยู่ที่วิธีการคิดของทีดีอาร์ไอว่ามองในระยะสั้น หรือระยะยาว คิดถึงความคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด และกล้าที่จะลงทุนหรือเปล่า แม้จะตัดงบเมกะโปรเจ็กต์ในวันนี้ แต่ในอนาคตก็ต้องสร้างรถไฟฟ้าอย่างแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่า 1.จะสร้างเมื่อไร 2.เมื่อสร้างแล้ว ราคาน้ำมันที่สูงอยู่แล้ว และจะสูงขึ้นอีกในวันข้างหน้าจะคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ และ3.ค่าก่อสร้างในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีกมากแค่ไหน

ดังนั้น สิ่งที่รฟม.ดำเนินการอยู่ในวันนี้ คือการทำเพื่ออนาคต และเพื่อให้ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในทางอ้อม ตัดการเสียโอกาสในอนาคต เช่น โปรเจ็กต์หนองงูเห่า ที่มีการคิดไว้ตั้งแต่ในอดีต แต่มองว่าเป็นการลงทุนที่สูง ทำให้วันนี้สูญเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว และเสียความเป็นฮับหรือการเป็นศูนย์กลางทางการบิน

"สิ่งที่นักวิชาการพูดคงบอกไม่ได้ว่าถูกหรือไม่ถูก ขึ้นอยู่กับว่านักวิชาการมองในระดับใด มองกว้างแค่ไหน นักวิชาการพูดแต่ทฤษฎี แต่ไม่ได้ดูว่าสภาพความเป็นจริงเป็นอย่างไร"

ส่วนเรื่องการบริหารงบการดำเนินงานเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดการ หน้าที่ของรฟม. คือ เบิก-จ่ายงบประมาณและดำเนินงานให้ได้ตามแผน โดยให้เงินกระจายไปสู่ระบบเศรษฐกิจ และได้สิ่งปลูกสร้างที่อำนวยความสะดวกกลับคืนมา

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าทั้ง 7 สาย แบ่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 4.25 แสนล้านบาท โดยรัฐจะเป็นผู้ลงทุนเอง ส่วนระบบรถไฟฟ้า 1.37 แสนล้านบาท รัฐจะร่วมกับเอกชนเป็นผู้ลงทุน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us