|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ลลิลฯ"คงนโยบายลงทุนผ่านการออกตั๋วบี/อี ลดต้นทุนแทนกู้เงินจากแบงก์ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เล็งปรับราคาบ้านต้นทุนใหม่ในไตรมาส4 ตั้งเป้าโกยยอดขายปลายปีโต 15-20% ในขณะที่ตลาดรวมโต 10-15%
ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ประกอบกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างและปัญหาค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบให้ต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการเลือกรูปแบบการระดมทุนผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ได้ต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำที่สุดจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ในการบริหารต้นทุน เช่น การออกหุ้นกู้ หรือการออกตั๋วเงินระยะสั้น(บี/อี) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์
ปัจจุบันช่องทางการระดมทุนมีแนวทางให้เลือกลงทุนอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่สามารถเลือกแนวทางการระดมทุนได้หลายแนวทาง และมีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีข้อจำกัดด้านการเลือกแนวทางระดมทุน
ไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า การปรับโครงการสร้างด้านการเงินโดยเน้นแนวทางการระดมทุนผ่านการออกตั๋วเงินระยะสั้น หรือ บี/อี เป็นนโยบายหลักที่บริษัทนำมาใช้บริหารต้นทุนด้านการเงินแทนการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า โดยที่ผ่านมาได้ออกตั๋วบี/อี ไปแล้วคิดเป็นวงเงินรวม 350-400 ล้านบาท และยังมีความสามารถในการออกตั๋ว บี/อี ได้อีกถึง 800 ล้านบาท เพราะยังมีช่องว่างในการระดมทุนเนื่องจากมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนในอัตรา 0.4:1 เท่านั้น แต่บริษัทจะพยายามรักษาสัดส่วนการออกตั๋วบี/อีไว้ที่ระดับ 400 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้บริษัทยังใช้แนวทางการลดต้นทุนด้วยการล็อคราคาวัสดุก่อสร้างนานถึงสิ้นปี 48 ทำให้ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันบริษัทยังมีสต็อคบ้านคงค้างในมืออีก 500-600 ยูนิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านต้นทุนเดิม และสามารถทำตลาดได้ในระยะเวลา 2-3 เดือน ทำให้บริษัทสามารถคงราคาขายบ้านในอัตราเดิมได้จนถึงไตรมาส 3 หลังจากนั้นจะพิจารณาปรับราคาขายบ้านใหม่ในช่วงไตรมาส4 เนื่องจากต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5-10%
ไชยยันต์ กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวทำให้บริษัทสามารถตั้งราคาขายบ้านได้ต่ำกว่าคู่แข่ง ส่งผลให้ยอดขายและกำไรในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคาดว่าในปีนี้จะมีอัตราการขยายตัว 15-20% สูงกว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยรวมที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 10-15% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในตลาดระดับล่าง ในขณะที่ตลาดระดับกลางอยู่ช่วงการปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล โดยคาดว่าคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ระดับกลางถึงล่างจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
|
|
|
|
|