Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 พฤศจิกายน 2547
ถึงเวลาของ "eMaketing" ท่องเที่ยวออนไลน์             
 


   
search resources

Networking and Internet




ขณะที่โลกไซเบอร์เนทกำลังฮอต...ธุรกิจท่องเที่ยวคือขุมทรัพย์ที่ถูกจับตามองมากที่สุดในโลกของอินเตอร์เนท ซึ่งอนาคตถ้าผู้ประกอบการท่องเที่ยวยังคงยึดถือแนวยุทธวิธีการตลาดแบบเดิมๆ ในที่สุดอาจทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวไทยถูกกลืนโดยชาวต่างชาติ จนอาจไม่มีโอกาสได้ตั้งตัว

3 ใน 4 ของมูลค่าตลาดโดยรวมของโลกธุรกิจออนไลน์ทั่วโลกมีเม็ดเงินสะพัดกว่า 4 หมื่นล้านล้านบาท ขณะที่ช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมามีกลุ่มผู้ประกอบการทั้งเก่าและใหม่ที่เกิดขึ้นมาและแตกดับไปก็ไม่น้อย แต่นั่นก็อาจไม่ทำให้ตลาดของโลกอินเตอร์เนทถึงกาลปาวสาน

การปรับตัวให้ร่วมสมัยทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่กำลังจะถูกพัฒนาเพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโดยเฉพาะด้านท่องเที่ยวสามารถต่อกรแข่งขันกับต่างชาติได้

แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าตัวเลขการสำรวจของผู้ใช้อินเตอร์เนทร้อยละ 70 เป็นการหาข้อมูลการท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็นหาข้อมูลการเดินทางถึง 51% และใช้เดินทางกันจริงๆประมาณ 40%ทีเดียว

และกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเวปไซดชื่อดังโดยเฉพาะด้านท่องเที่ยวของเมืองไทยกลับเป็นชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น ภูเก็ต ดอทคอม หรือ แพลนเนต ฮอลิเดย์ แต่ก็มีคนไทยเพียงไม่กี่คนที่ทำขึ้นมาเหมือนกัน อย่างเช่น เพลสชั่น เอเชีย ดอทคอม ซึ่งนับว่ายังน้อยเกินไป

และเพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวไทยสอดคล้องกับความต้องการและสามารถเทียบเคียงกับธุรกิจออนไลน์ในระดับสากลได้ พร้อมกับผลักดันสานต่อให้ eTourism นโยบายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ประสบความสำเร็จ จึงเกิดแนวคิดหลักสูตรระยะสั้นเพื่ออบรมผู้ประกอบการทั้งเก่าและใหม่ภายใต้โครงการ eTravel Entrepreneur Intensive program ขึ้นมา โดยมีมหาวิทยลัยรังสิตเป็นผู้ดำเนินการจัดการอบรม

เกี่ยวกับโครงการนี้ จิดาภา จุลกศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารลูกค้า บริษัท แบรนด์ ออฟ มาสเตอร์ จำกัด เล่าให้ฟังว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัว เพื่อสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะที่เรียกว่า eMarketing น่าจะถูกหยิบนำมาใช้ให้มากที่สุด

"เดิมผู้ประกอบการท่องเที่ยวของคนไทยไม่ค่อยสนใจกับโลกอินเตอร์เนท มากนัก เพราะคิดว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวจึงไม่ต้องพึ่งโลกอินเตอร์เนท ขณะที่ต่างประเทศเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซียกลับใช้อินเตอร์เนทเข้ามาเป็นสื่อกลางและนับว่าค่อนข้างที่จะประสบความสำเร็จไม่น้อย"จิดาภา กล่าว

ด้วยศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้วของเมืองไทย บวกกับแนวทางการตลาดที่ใช้ต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิผลที่ค่อนข้างสูง สามารถให้บุคคลสัมผัสได้ จึงเป็นธุรกิจในรูปแบบใหม่ และน่าจะเป็นวิสัยทัศน์ของธุรกิจท่องเที่ยวที่น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด

"การที่ต่างประเทศใช้ธุรกิจออนไลน์เข้ามามีบทบาทกับการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากนั้น เพราะแหล่งท่องเที่ยวของเขามีน้อย กลยุทธ์การตลาดจึงต้องเล่นกันแบบนั้น สำหรับประเทศไทยเรายังคงได้เปรียบด้านแหล่งท่องเที่ยว แต่ยังประมาทเรื่องของการทำตลาดบนโลกยุคไฮเทค ดังนั้นเมื่อมีโครงการนี้ขึ้นมาจึงนับว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ"จิดาภา กล่าวพร้อมกับเสริมว่า

ปัจจุบันจำนวนผู้เข้าอบรมเต็ม 100% แล้วโดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวร้อยละ 50 และอีก 50%เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยรังสิตที่สนใจ และคาดว่าอย่างน้อยผู้ที่เข้าอบรม 50 คนรุ่นแรกกว่า 70% จะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ออกไปประกอบธุรกิจทางออนไลน์ได้

ความพยายามของหลายกลุ่มที่ออกมาจัดทำโครงการอบรมนี้ต่างต้องการให้ ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดออกสู่ระดับโลกได้ แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆแต่สิ่งที่จะได้รับไม่เล็กตามไปด้วย

อนาคตกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าแบบออฟไลน์ และแบบออนไลน์ จึงน่าจะเกิดปรากฎการแนวใหม่โดยเฉพาะแบบออนไลน์ที่นับวันจะมีคนเข้าไปใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปีโดยปัจจุบันตัวเลขคนไทยที่เข้าไปเปิดดูเวปไซด์เฉลี่ยอายุตั้งแต่ 15-25 ปี มีประมาณร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us