|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในที่สุดความอดทนมานานต่อภาวะขาดทุนเกือบ 100%ในเส้นทางเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอนของการบินไทยมีอันต้องพักยกไป แต่จะให้ปิดฉากลาโรงคงเป็นไปไม่ได้แน่ การผลักดันให้สายการบินบางกอกแอร์เวย์ขึ้นมาบินแทนจึงเป็นยุทธวิธีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเส้นทางดังกล่าวไม่เคยสร้างเม็ดเงินให้เป็นกอบเป็นกำขึ้นมาเลย การจับมือร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่ธรรมดาของธุรกิจทั่วไปแต่ดูเหมือนจะไม่ธรรมดาของธุรกิจการบิน
วันนี้บางกอกแอร์เวย์กำลังคิดการใหญ่?...หรือการบินไทยกำลังหวังผลอะไรกันแน่?...
ฤดูแห่งการท่องเที่ยวมาถึงแล้ว การเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อขนส่งนักเดินทางให้ไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยและรวดเร็วจึงเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง แน่นอนการบินไทยเป็นผู้ที่มีเส้นทางอยู่ในกำมือมากที่สุดย่อมได้เปรียบเสมอ แต่บางเส้นทางก็เหมือนหนามที่คอยทิ่มตำอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเส้นทางที่ขาดทุนมาโดยตลอดอย่าง เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน
ปัญหาส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาคพื้นดินและสภาพอากาศส่งผลกระทบไม่น้อยต่อการทำธุรกิจ ความพยายามต่อสู้เพื่อพยุงให้ธุรกิจดำเนินต่อไปจึงเป็นบทหนักที่การบินไทยต้องผจญมาโดยตลอด จนกระทั่งวันนี้ความอดทนแบกภาระขาดทุนก็มาถึงจุดสิ้นสุด
"เส้นทางนี้ยอมรับครับว่าขาดทุนมาโดยตลอด เราจึงต้องหาวิธีเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้และจะไม่ยกเลิกเส้นทางบินนี้เด็ดขาด"วสิงห์ กิตติกุล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพาณิชย์ บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวยอมรับพร้อมกับอ้างว่าจะนำเครื่องบินที่ใช้บินประจำอยู่ไปซ่อมด้วยผลประโยชน์บนความเหนื่อย
การเจรจาร่วมมือกันเพื่อให้สายการบินบางกอกแอร์เวย์มาทำการบินแทนการบินไทยในเส้นทาง เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ครั้งนี้ ยอมรับว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะมีส่วนได้รับผลประโยชน์ หากมองไปถึงอนาคตอันใกล้ที่กำลังจะมาถึง แม้ว่าเส้นทางดังกล่าวจะไม่สร้างรายได้เข้ามาเท่าไรนัก
รู้ทั้งรู้ว่าเส้นทางบินนี้ต้องเหนื่อยแสนเหนื่อยกว่าจะสร้างรายได้เข้ามาแต่บางกอกแอร์เวย์กลับไม่มองเป็นเช่นนั้นตกลงยอมรับข้อเสนอของการบินไทยที่นับว่าหาไม่ได้อีกแล้วในช่วงเวลาแบบนี้
สิ่งที่บางกอกแอร์เวย์ได้รับนอกจาก เส้นทางบินไป-กลับ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน 25 เที่ยวบิน/สัปดาห์แล้ว คือ เส้นทางไป-กลับ เชียงใหม่-หลวงพระบาง 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์
เพื่อลดต้นทุนของการบินไทยเส้นทางทั้งสองนี้จึงใช้เครื่อง ATR 72 ของบางกอกแอร์เวย์ที่มีความจุ 70 ที่นั่ง และให้การบินไทยได้รับผลประโยชน์โดยการขายตั๋วให้
ขณะที่เส้นทางบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-กระบี่ 7 เที่ยวบิน/สัปดาห์ และเส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต 14 เที่ยวบิน/สัปดาห์
บางกอกแอร์เวย์จะได้รับผลประโยชน์สุดคุ้มด้วยการขายตั๋วโดยสารให้กับการบินไทย และที่สำคัญเครื่องบินที่ใช้เป็นเครื่องจัมโบ้ 737-400 ของการบินไทยที่มีความจุถึง 149 ที่นั่งเสียด้วย
"การบินไทยก็ยังคงบินอยู่ทั้งสองเส้นทางคือ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต สัปดาห์ละ 70 เที่ยวบิน และ กรุงเทพฯ-กระบี่ สัปดาห์ละ 28 เที่ยวบินและไม่ส่งผลกระทบอะไรมากนักเพราะเส้นทางดังกล่าวมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว"วสิงห์ กล่าว
TG เล็งผลเลิศ "สมุย"
ความร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณเหมือนจะบอกว่าการบินไทยกำลังจะทำลายกำแพงเพื่อเข้าไปมีส่วนแบ่งการตลาดของ เส้นทาง สมุย ที่สายการบินบางกอกแอร์เวย์หวงนักหวงหนาไม่ยอมแบ่งให้ใคร
วสิงห์ ยอมรับเหมือนกันว่ามีความเป็นไปได้ที่การบินไทยจะเจรจาร่วมกับบางกอกแอร์เวย์ เพื่อขอทำการบินร่วม(Code Share)ในเส้นทางบินกรุงเทพฯ-สมุย โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
"หากบางกอกแอร์ฯยอมให้การบินไทยทำการบินอย่างเต็มรูปแบบ ก็อาจจะขอเช่าใช้เครื่องบินของบางกอกแอร์ฯในการบินไปสมุย"วสิงห์กล่าว
จุดประสงค์ที่การบินไทยต้องการดูเหมือนจะสอดคล้องกับความต้องการของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ไม่น้อย
"ในอนาคตอาจเป็นไปได้ที่จะมีความร่วมมือเช่นนี้ เพราะทางเราก็เต็มใจที่จะให้การบินไทยมาลงในเส้นทางดังกล่าว แต่ทางผู้บริหารยังไม่ได้มีการเจรจากัน โดยเป็นเรื่องทางเทคนิคคงต้องมาดูข้อเสนอกันทั้งสองฝ่าย"ม.ล.นันทิกา วรวรรณ รองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ กล่าวกึ่งรับกึ่งสู้ อีกเหตุผลหนึ่งที่อาจทำให้ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวย์น่าจะตัดสินใจรับข้อเสนอของการบินไทยได้โดยไม่ยากเย็นนักก็คือการเข้าไปรับสิทธิ การให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานประจำท่าอากาศยานเสียมราฐ-อังกอร์ของ บมจ.การบินไทย เป็นเวลาถึง 5 ปีเต็มเชกเช่นน้ำต้องพี่งเรือเสือต้องพึ่งป่า เมื่อการบินไทยได้เข้าไปให้บริการซ่อมบำรุงถึงกัมพูชา แน่นอนธุรกิจของทั้งสองเกี่ยวเนื่องกันจึงต้องมีการใช้บริการ และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างบางกอกแอร์เวย์กับการบินไทยก็จะส่งผลดีให้ทั้งสองด้วยเช่นกัน
|
|
|
|
|