|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธุรกิจให้บริการคลีนิค และโรงพยาบาล รวมถึงร้านขายยาคือช่องทางในการทำตลาดยาและเวชภัณฑ์ที่สร้างเม็ดเงินได้อย่างมหาศาลจนแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ในปีนี้จะสามารถสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ค้าคนกลาง "ซิลลิค ฟาร์มา"ได้มากถึง 17,500 ล้านบาท และดูเหมือนว่าการแข่งขันในปี 48 จะมีความเข้มข้นจนทำให้ผู้ประกอบการอย่าง "ซิลลิค ฟาร์มา"ต้องเร่งปรับขยายฐานทัพของตัวเองเพื่อรั้งตำแหน่งผู้นำจ่าฝูงให้จงได้ต่อไป
"ความไม่แน่นอนคือความไม่แน่นอน" คำนี้ยังคงใช้ได้เสมอกับการแข่งขันธุรกิจในยุคปัจจุบัน เชกเช่นเมื่อ 5 ปีก่อน ดีสแฮมท์ เคยผงาดขึ้นเป็นจ้าวแห่งผู้ค้าคนกลางตลาดยาและเวชภัณฑ์มาแล้ว แต่ในปัจจุบัน ซิลลิค ฟาร์มา กลับขึ้นมาแทนที่ผู้นำไปแล้วและสามารถผลักดันยอดขายภายในปี 47 นี้ให้มีอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 20 ทีเดียว
รายได้หลักของธุรกิจจึงมาจากการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและการขายสินค้าให้กับองค์กรต่างๆที่ได้รับอนุญาตจากภาครัฐบาลด้วย เพราะสินค้าประเภทเวชภัณฑ์นั้นต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการอนุญาตด้วยเช่นกัน
"ในปี 48 บริษัทจึงคาดว่าจะรายได้ไว้ประมาณกว่า 20,500 ล้านบาท"มร.โรแลนด์ บรูฮิน กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด บอกและเล่าถึงเหตุผลให้ฟังว่า จากอัตราการเติบโตของตลาดในอนาคตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่จะมีเพิ่มขึ้นด้วยทำให้มั่นใจว่าในปีหน้าจะสามารถกวาดรายได้เท่าที่ตั้งเป้าเอาไว้
ขณะเดียวกันการให้บริการคือหัวใจหลักของบริษัทที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ และได้รับผลตอบแทนจากการขายคือค่าจ้างหรือค่าธรรมเนียมที่ถูกกำหนดขึ้นหลังจากที่ส่งสินค้าให้กับลูกค้าแล้วหักยอดเงินบางส่วนออกมาก่อนที่จะมอบให้กับบริษัทผู้ผลิตต่อไป
"ยิ่งมีผู้ผลิตมากเท่าใดเราก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องหาผู้ผลิตที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเป็นพันธมิตร"มร.โรแลนด์ กล่าว
ความแตกต่างของการทำตลาด
การดำเนินธุรกิจบริการของ ซิลลิค ฟาร์มา ที่มีมากว่า 55 ปี จนสามารถสร้างยอดลูกค้าได้มากถึง 13,000 รายตลอดจนก้าวขึ้นมาผงาดเป็นผู้นำได้นั้น กลยุทธ์ในการทำตลาดของบริษัทจึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาแน่
มร.โรแลนด์ เล่าให้ฟังว่า ลูกค้าที่เป็นพันธมิตรสามารถสั่งกับบริษัทและสามารถสั่งโดยตรงกับผู้ผลิตก็ได้ จากนั้นทางซิลลิคฯจะเป็นตัวกลางมีหน้าที่กระจายสินค้าส่งให้
"บริษัทผู้ผลิตที่ติดต่อให้เราทำหน้าที่กระจายสินค้าให้นั้น ส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์เครื่องมือในการขนส่ง ดังนั้นซิลลิค ฟาร์มาจึงเหมือนเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ"มร.โรแลนด์ กล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทผู้ผลิตจะเป็นคนทำตลาดเองโดยที่ทาง ซิลลิค ฟาร์มา มีองค์ประกอบอื่นๆในการขยายสินค้าไปยังลูกค้า ปัจจุบันมีการสร้างศูนย์กระจายสินค้าขึ้นแห่งใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจด้วยเช่นกัน
มร.โรแลนด์ ยังกล่าวอีกว่าการทุ่มเม็ดเงินในการสร้างศูนย์แห่งใหม่ขึ้นมานั้น เนื่องจากมองถึงอนาคตในระยะยาวที่จะทำให้ธุรกิจให้บริการของบริษัทมีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้นด้วย รวมทั้งเป้าที่ตั้งไว้ในปี 2553 ที่จะถึงมีการคาดการณ์ไว้ว่าบริษัทจะต้องทำยอดรายได้มากถึง 40,000 ล้านบาท
"นี่เป็นรายได้ที่จะเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น"มร.โรแลนด์ กล่าวการตอกย้ำความเชื่อมั่นของ ซิลลิค ฟาร์มา ในการลงทุนครั้งนี้ใช่ว่าจะเป็นการพัฒนาเชิงบวกเพียงด้านเดียว ขณะที่คู่แข่งขันอย่าง ดีสแฮมท์ และ ยูเอช ซัมมิท คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้เป็นแน่ ถึงแม้ว่าช่องว่างระหว่างรายได้ของแต่ละบริษัทจะห่างกันก็ตาม
ภาพการแข่งขันของตลาดยาและเวชภัณฑ์ จึงดูไม่หวือหวาเหมือนธุรกิจทั่วไปอาจเป็นเพราะการทำตลาดที่ค่อนข้างจะมีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจจะเป็นคนทำตลาดและจัดจำหน่ายเอง ขณะที่ธุรกิจประเภทเวชภัณฑ์และยาจะมีผู้ค้าคนกลางเป็นฟันเฟืองที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อเป็นปัจจัยหลัก
และด้วยเม็ดเงินหมุนเวียนที่มีมูลค่ามหาศาลเช่นนี้ทำให้เป็นที่หมายปองจนนำไปสู่การพัฒนาระบบต่างๆสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตลาดภายใต้กระแสการแข่งขันที่คาดว่าจะทำให้ดูมีสีสันมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่...ไม่แน่นะอีก 5 ปีข้างหน้าเราอาจจะเห็นผู้นำตลาดหน้าเดิมหรือเปลี่ยนหน้าก็ได้ใครจะไปรู้...
ฝันให้ไกลของ"ซิลลิค ฟาร์มา"ที่ต้องไปให้ถึง...
ธุรกิจของ ซิลลิค ฟาร์มา มีศูนย์บัญชาการกลางที่ประเทศฟิลิปปินส์ และคาดว่าปี 2548 จะมีรายได้เฉพาะในแถบเอเชียประมาณ 160,000 ล้านบาท โดยมีประเทศฟิลิปปินส์เป็นผู้นำด้านรายได้ รองลงมาคือประเทศเกาหลีใต้ และประเทศไทยมีรายได้เป็นอันดับที่สาม ขณะที่อันดับสี่คือไต้หวัน และอันดับห้าคือประเทศจีน
ด้วยระยะเวลาเพียง 15 ปีในการทำตลาดของ ซิลลิค ฟาร์มา สำหรับประเทศไทย ถ้าเปรียบกับฟิลิปปินส์ที่มีอายุขัยในการทำตลาดถึง 95 ปีจึงทำให้ มร.โรแลนด์ ขุนพลประจำประเทศไทยกล่าวยอมรับถึงการผลักดันให้ประเทศไทยสร้างรายได้เป็นผู้นำในแถบเอเชียว่า เป็นเรื่องที่ยาก เพราะความแตกต่างในเรื่องขนาดของตลาด
ผิดกับประเทศจีนที่เป็นตลาดใหญ่และเพิ่งเปิดตลาดคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ตลาดจีนน่าจะเป็นช่องทางที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและขยับขึ้นมาในอันดับต้นๆได้เช่นกัน
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีรายได้จัดอยู่ในอันดับสามของเอเชียก็ตาม แต่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยเช่นกัน
"การทำธุรกิจคือต้องวิ่งให้เร็วบวกความสมาท์ และฉลาด"คือกลยุทธ์ที่ มร.โรแลนด์ กล่าวถึงจุดที่ทำให้ธุรกิจ ซิลลิค ฟาร์มา ก้าวขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าได้ในปัจจุบัน แต่ความฝันล่าเม็ดเงินของเขาในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นจริงหรือไม่คงต้องใช้เวลาเป็นบทพิสูจน์...
|
|
 |
|
|