|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แค่เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้นในการเปิดเส้นทางบินแถบภาคใต้ประเทศไทยของ สายการบิน "ไทเกอร์ แอร์"ก็ผงาดขึ้นมาประกาศกลยุทธ์บินตรงจากประเทศสิงคโปร์มุ่งสู่ดินแดนล้านนาอย่างเชียงใหม่ในราคาที่แสนจะถูกแบบสุดๆ หวังชิมรางเป็นเส้นทางแรกในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกันเตรียมขยายเปิดเส้นทางบินไปยังประเทศในแถบบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
ความต้องการเป็นผู้นำด้านสายการบินต้นทุนต่ำของ ไทเกอร์ แอร์ เริ่มมีมากขึ้นหลังจากที่สามสายการบินโลว์คอสของไทยอย่างเช่น นกแอร์,แอร์เอเชีย และโอเรียนท์ไทย ต่างโดนมรสุมจากโฆษณาเกินจริงทำให้ต้องถูกสั่งเชือดจากสำนักคณะกรรมารคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)ปรับเป็นเงินนับแสนบาทนั้น แม้ว่าจะอยู่ในขั้นตอนระหว่างการยื่นอุทรณ์ก็ตาม แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นยังคงสร้างความสับสนในเรื่อง "ราคา"ค่าโดยสารต่อผู้บริโภคไม่น้อย
กอปรสนธิสัญญาการเปิดเสรีทางการบินในวันนี้ทำให้ความฝันของสายการบินต้นทุนต่ำแห่งเมืองลอดช่องกลายจะ เป็นจริงขึ้นมาทุกที
"ราคาตั๋วโดยสารครั้งนี้นับว่าถูกที่สุดของการเดินทางไปต่างประเทศ และถ้ารวมรายการทั้งหมดของการเดินทางไปสิงคโปร์จะมีราคาเพียง 1,800 บาทบวกๆเท่านั้น" โทนี่ เดวิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทเกอร์ แอร์เวย์ส พร้อมกับเสริมอีกว่า ไทเกอร์ แอร์จะไม่ประสบปัญหาเหมือนกับสายการบินอื่นด้านการโฆษณาเกินจริง เพราะได้ใช้ประสบการณ์จากการเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในยุโรปมาใช้ดำเนินการบริหารจัดการโดยได้ศึกษาเกณฑ์ของ สคบ.แล้ว
"ผมมั่นใจว่าการดำเนินการจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่างๆ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน"โทนี่ ยังคงยืนยันเช่นนั้น
ดันจุดเด่นเป็นจุดขาย
ยุทธศาสตร์ของการต่อสู้ของสายการบินต้นทุนต่ำภายในประเทศเริ่มเข้มข้นข้นเพื่อแย่งชิงความเป็นผู้นำ แต่ในขณะเดียวกันการต่อสู้กับต้องพบอุปสรรคปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคจนทำให้เกิดช่องว่างขึ้นมาในที่สุด ขณะเดียวกันการเปิดเสรีทางการบินทำให้สายการบินต้นทุนต่ำจากต่างประเทศสบช่องเตรียมขยายเส้นทางบินเข้ามาเจาะตลาดโดยเฉพาะเมืองเศรษฐกิจใหญ่ๆของประเทศ
ไทเกอร์ แอร์ แม้ว่าจะเป็นสายการบินที่เพิ่งเข้ามาดำเนินการไม่ถึงปี สำหรับประเทศไทย แต่สิ่งหนึ่งที่สายการบินแห่งนี้กำลังคืบคลานเข้ามาคือการประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าจะเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่มีราคาถูกที่สุดกว่าสายการบินอื่น สงครามธุรกิจโลว์คอสแอร์ไลน์ในประเทศจึงไม่ใช่แค่การแข่งขันเพียงสามสายการบินต่อไปอีกแล้วอย่างน้อยก็มีเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งสายการบิน และอนาคตอันใกล้คาดว่าน่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกหลายสายการบินอย่างแน่นอน
นอกจากการทำโปรโมชั่นด้วยราคาตั๋วที่ต่ำมากของ ไทเกอร์ แอร์ ยังคงมีเรื่องของจุดขายที่นำมาเสริมทัพจนกล้าพอที่จะทำให้กลุ่มลูกค้าเชื่อมั่นถึงการให้บริการนั่นก็คือ การใช้เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่ล่าสุด ผนวกกับการการันตีเวลาออกเดินทางที่ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีเครื่องบินก็จะต้องบินขึ้นสู่ท้องฟ้า อีกทั้งยังมีแหล่งเงินทุนหนาพร้อมกล้าที่จะลงทุนซื้อเครื่องบินโดยมาจากกลุ่มนายทุนชาวสิงคโปร์ถึง 49% และส่วนที่เหลือเป็นชาวต่างชาติ
"เราจึงมั่นใจว่าจะสามารถต่อสู้กับธุรกิจโลว์คอสแอร์ไลน์ได้อย่างเต็มตัว"โทนี่กล่าว พร้อมกับเสริมอีกว่า ปัจจุบันสายการบินมีแผนการเพิ่มเส้นทางบินไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน โดยบินตรงจากสิงคโปร์ไปยัง โฮจิมินน์ ,ฮานอย ,มะนิลา,คลากส์ และ มาเก๊า โดยมีการตั้งเป้าหมายไว้คือครบ 12 เดือนจะต้องมีลูกค้าเดินทางกว่า 1 ล้านคน
ฟาดฟันกันสุดฤทธิ์
ตัวเลขที่ตั้งเป้าหมายของ ไทเกอร์ แอร์ ถูกใช้มาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้กับธุรกิจการบินโลว์คอสแอร์ไลน์ของไทยไม่น้อย เพราะนั่นอาจหมายถึงตัวเลขของกลุ่มลูกค้าแต่ละสายการบินที่จะถูกแย่งชิงไปนั่นเอง การต่อกรเพื่อแย่งชิงกลุ่มเป้าหมายของแต่ละสายการบินจึงมีออกมาให้เห็นกันเป็นระยะๆ
เริ่มกันที่ สายการบินโอเรียนท์ ไทย ที่มี อุดม ตันติประสงค์ชัย นำทัพออกมาเผยว่า ปีนี้วันทูโกมีแผนรองรับการแข่งขันโดยจะมีให้ความสำคัญกับการรุกตลาดในประเทศให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มเที่ยวบินใหม่ๆ รวมถึงการเพิ่มความถี่ในเส้นทางบินเดิมให้มากขึ้นอีกด้วย
"ปัจจุบันเราเดินหน้าหาพันธมิตรเข้ามาร่วมมือทางธุรกิจเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายต่อผู้บริโภคตลอดและจะดำเนินต่อไป"อุดม กล่าว
ขณะเดียวกันสายการบิน แอร์ เอเชีย ยังคงหยิบกลยุทธ์เรื่องของราคามาเป็นจุดขาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำมาตั้งแต่เปิดให้บริการและประสบความสำเร็จในการดึงลูกค้าได้ดี พร้อมกันนี้ได้มีการเปิดจุดบินใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน
ทัศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอของ แอร์เอเชีย บอกถึงกลยุทธ์ในปีนี้อีกด้วยว่ามีแผนที่จะเช่าเครื่องบินแอร์บัส เอ320 มาเพิ่มอีกประมาณ 5-6 ลำ และคาดว่าน่าจะมาให้บริการได้พร้อมกับการเปิดจุดบินใหม่ในปลายปี 48 นี้
ด้าน พาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ กลับมองว่า กลยุทธ์ในปีนี้น่าจะมาเน้นเรื่องราคาโปรโมชั่นออกเป็นช่วงๆ เนื่องจากลูกค้ายังคงยึดติดกับจุดขายตรงนั้นไปแล้ว ขณะเดียวกันก็หาช่องทางการทำตลาดใหม่ๆเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขายเพิ่มขึ้น
"เราร่วมมือกับอิออนจัดทำแพคเกจราคาประหยัดขึ้นมา โดยลูกค้าจะชำระเงินในระบบเงินผ่อนนานสูงสุดถึง 12 เดือนเลย"พาที กล่าว
การเปิดเสรีทางการบินได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินอย่างสายการบินต้นทุนต่ำไม่น้อย เพราะสิ่งหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นด้วย "ราคา"ตั๋วเครื่องบินที่ถูกสุดกลับถูกปิดกั้นไม่ให้ลงโฆษณาอีกต่อไป ขณะที่คู่แข่งขันจากต่างประเทศเริ่มมีบทบาทเข้ามาแย่งตลาดด้วยการเปิดเส้นทางบินตรงเช่นนี้ เราอาจจะเห็นภาพการแข่งขันของธุรกิจการบินประเภทโลว์คอสภายใและรอบๆประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนแปลงและชัดเจนมากขึ้นก็ได้
ต้นเหตุการถูกปรับของสามสายการบินต้นทุนต่ำไทย
ย้อนไปเมื่อปลายปี 2547 การโฆษณาเพื่อสร้างกระแสให้คนเข้าไปใช้บริการของสายการบินต้นทุนต่ำมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง แน่นอนสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นมาคือ "ราคา"เรียกว่าราคาตั๋วใครถูกกว่าย่อมได้เปรียบ และนั่นคือที่มาของคำโฆษณาและสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคไม่น้อย "ผู้จัดการรายสัปดาห์"จึงรวบรวมข้อความในโฆษณาที่สร้างปัญหาให้กับสามสายการบินต้นทุนต่ำจนก่อให้เกิดการสั่งปรับเป็นเงินนับแสนบาทในปัจจุบัน
สายการบินโอเรียนท์ไทยมีผู้ร้องเรียนว่า บริษัทได้มีข้อความโฆษณาว่า กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ 880 บาททุกที่นั่ง ทุกเที่ยว ราคาเดียว ไม่ต้องจอง ซึ่งผู้ร้องเข้าใจว่าเมื่อรวมค่าภาษีสนามบิน ค่าประกันภัย และค่าธรรมเนียม รวมกันเป็นเงิน 1,035 บาท แต่เมื่อจองตั๋วพนักงานคิดราคา 1,454 บาท โดยบริษัทให้เหตุผลว่าต้องเก็บในรอบเย็นเท่านั้น และทำให้คณะอนุกรรมการติดตามสอดส่องเห็นว่าเป็นข้อความเท็จและทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ขณะที่สายการบินแอร์ เอเชีย นั้นมีผู้บริโภค ได้จองตั๋วเครื่องบินจากนครราชสีมา-กรุงเทพ(ปัจจุบันเลิกทำการบินแล้ว)ในราคา 170 บาท เมื่อเดือนก.ค.47 และได้รับการยืนยันเรียบร้อย แต่หลังจากนั้นบริษัทได้โทรศัพท์แจ้งว่าต้องยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าว เพราะไม่สามารถทำกำไรได้ เนื่องจากต้นทุนค่าน้ำมันสูง นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ลูกค้ารายหนึ่งได้นำสัมภาระและอุปกรณ์กอล์ฟที่มีน้ำหนักรวม 14.2 กิโลกรัม ติดตัวไป ซึ่งตามโฆษณาไม่ต้องจ่ายค่าระวางเพิ่ม เพราะน้ำหนักไม่เกิน 15 กิโลกรัม แต่เมื่อขึ้นเครื่องถูกพนักงานจุดตรวจให้ชำระค่าระวางเพิ่มอีก 500 บาท
เรื่องนี้แอร์เอเชียได้ชี้แจงว่า เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบที่ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ใหม่ และได้คืนเงินให้กับลูกค้าแล้ว อย่างไรก็ตามคณะกรรมการติดตามสอดส่องเห็นว่าราคาตั๋วที่โฆษณามิใช่ราคาตามที่จ่ายจริง แม้ว่าบริษัทได้หมายเหตุ เงื่อนไขรายละเอียดไว้แล้ว แต่เป็นตัวอักษรที่เล็กจึงทำให้เข้าใจผิด
สำหรับกรณีของสายการบินนกแอร์นั้น บริษัทได้ใช้ข้อความโฆษณาว่า กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ราคาเที่ยวละ 598 บาท แต่เมื่อจองจริงพนักงานแจ้งว่ามีราคา 1,300 กว่าบาท หรือกรณีที่ได้จองตั๋วผ่านเว็บไซด์ด้วยการจองในครั้งแรกที่ชำระผ่านบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่า และระบบข้อมูลแจ้งว่าไม่สามารถจองได้ จึงได้จองอีกครั้ง แต่ต่อมาธนาคารซิตี้แบงก์เรียกเก็บเงินค่าตั๋ว 2 ครั้ง และที่สำคัญบริษัทสกาย เอเชีย แจ้งว่าไม่มีนโยบายยกเลิกการจองหรือคืนเงินให้กับลูกค้า อย่างไรก็ตามในที่สุดบริษัทก็ได้คืนเงินเพราะยอมรับในความผิดพลาด
ปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนคือการโฆษณาราคาต่ำและปัญหาบริการไม่ดี การลงโทษของสามสายการบินต้นทุนต่ำครั้งนี้ของสำนักคณะกรรมารคุ้มครองผู้บริโค(สคบ.)จึงน่าจะทำให้ผู้ประกอบการได้ปรับปรุงไปในแนวทางที่ดีขึ้น และหากบริษัทใดยังไม่ยอมปฏิบัติตามครั้งต่อไปเชื่อว่าบทลงโทษน่าจะหนักขึ้นอีก
|
|
 |
|
|