Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์10 มิถุนายน 2548
เทคโนโลยีธุรกิจสายพันธุ์ใหม่ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว             
 


   
search resources

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Tourism




ปัจจุบัน รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายสนับสนุนและผลักดันการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจทุกแขนง

โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการของกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้แข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อการส่งเสริมศักยภาพตลาดธุรกิจท่องเที่ยวอย่างได้ผลจึงต้องอาศัยพลังความคิดและการประสานการดำเนินงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางและทิศทางร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์(องค์การมหาชน)หรือ SIPA ในฐานะเป็นหนึ่งในคณะทำงาน TTE Working Group (TurismTechnology Exchange)ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำการตลาดทาง Internet ของกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ และได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จึงได้ริเริ่มสร้างโครงการ Turism C-Commerce ขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยให้แข็งแกร่ง

Turism C-Commerce เป็นชุมชนที่ประกอบด้วยผู้ประกอบการท่องเที่ยว โดยชุมชนนี้รวมกันด้วยวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน คือต้องการเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้าครอบคลุมไปทั่วโลก ชุมชนนี้จะร่วมกิจกรรมผ่านเครือข่ายทางอินเตอร์เนตและทำรายการด้วยวิธีดั้งเดิม หรือด้วยคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบหลักมีสองประการคือ ประการแรกมีระบบการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ขณะที่ประการที่สองคือมีระบบติดต่อเพื่อเจรจาทางธุรกรรมและทำรายการได้

C-Commerce เป็นคำที่ต้องเน้นว่าสมาชิกในชุมชนธุรกิจท่องเที่ยวนี้ จะเป็น Travel agent หรือธุรกิจท่องเที่ยวเอง ต้องการร่วมมือกันช่วยกันขยายสินค้าและบริการให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายให้มากที่สุด ด้วยวิธีขายต่อเนื่องหรือด้วยการทำ Packaging

โดยนักท่องเที่ยวจะสามารถหาข้อมูล จองที่พัก ร้าน อาหาร สปา บริการสุขภาพได้โดยผ่านทางอินเตอร์เนตที่จัดทำขึ้นสำหรับโครงการนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น ที่จะมีรายชื่อในการค้นหา Search Engine ของ Website นี้

“C-Commerce”กับประโยชน์ที่ได้รับ

กลุ่ม Travel Agent ตัวแทนขายจะมีสินค้าและบริการให้ลูกค้าเลือกมากขึ้นสามารถทำ Packaging ที่เหมาะสมกับลูกค้าเป้าหมายสามารถเปลี่ยนแปลงแพ็คเกจได้บ่อยครั้งขึ้น และมีความหลากหลายทางเลือก สามารถสรรหาสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับราคาเป้าหมายได้

กลุ่มผู้ประกอบการ มีช่องทางการขายมากขึ้น ทั้งขายตรง ขายผ่านตัวแทน และผ่านผู้ร่วมค้า คือระหว่างธุรกิจท่องเที่ยวด้วยกันในรูปแบบ ของ Barter นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนราคาได้เหมาะสมทันท่วงที สามารถบริหาร Last Minutes Sales ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มนักท่องเที่ยว มีความสะดวกในการสรรหาสินค้าและบริการ รวมทั้งการจัดทำแพ็คเกจที่ตรงตามเงื่อนไขของตนเอง มีสินค้าและบริการให้เลือกมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us