Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 กรกฎาคม 2548
Tourism Radioท่องเที่ยวเทรนใหม่บนคลื่นหน้าปัดวิทยุ             
 


   
search resources

Tourism
Radio




สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือสบช่องยื่นขอกรมประชาสัมพันธ์จัด “Turism Radio”สร้างความแตกต่างบนคลื่นหน้าปัดวิทยุ ประเดิมยึดเชียงใหม่เป็นสถานีนำร่อง “ดินแดนในฝันของนักท่องเที่ยวทั่วโลก” วาดฝันอนาคตเป็นสถานีเอนเตอร์เทรนสองภาษาแบบครบวงจร

ธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการเป็นสินค้าที่สามารถสร้างเม็ดเงินให้กับผู้ลงทุนที่เกี่ยวข้องได้เป็นกอบเป็นกำทั้งในรูปแบบที่สัมผัสได้ อาทิโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และบริการอื่นๆ ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่หยิบใช้สินค้าประเภทนี้มาจัดทำรายการวิทยุ หวังสร้างความแตกต่างจากรายการวิทยุทั่วไปเพื่อใช้เป็นสถานีต้นแบบในการนำเสนอข้อมูลด้านธุรกิจท่องเที่ยวและบริการอย่างจริงจัง

จักรกฤษณ์ หาญวิชัย ผู้จุดประกายวิทยุท่องเที่ยวและการจราจรภายใต้คลื่นสถานี 102.75 เมกกะเฮิร์ต เล่าให้ฟังว่า จากการศึกษาพบว่าตลาดมีความต้องการอะไรและจุดอ่อนจุดแข็งของคลื่นวิทยุนั้นอยู่ตรงไหน ขณะเดียวกันทิศทางของนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนเรื่องของท่องเที่ยวและสุขภาพมีบทบาทมากขึ้น การใช้ยุทธศาสตร์ที่มีอยู่แล้วพร้อมกับดึงมืออาชีพเข้ามาเสริมทัพเพื่อทำการตลาดจึงมีบทสรุปของการจัดทำรายการวิทยุประเภทท่องเที่ยวออกมา

“ปัจจุบันรายการวิทยุทั่วไปจะเปิดเพลงให้ความบันเทิงพร้อมกับมีสาระแทรกเข้ามาโดยดีเจจะเป็นคนหามาเล่าไม่มีการกำหนดเป็นภาพรวมของสถานีที่ชัดเจน ขณะเดียวกันรูปแบบที่ถูกกำหนดรายการขึ้นมาจึงต้องมีภาพลักษณ์และจุดยืนที่แน่นอน การนำเสนอรายการท่องเที่ยวและจราจรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกหยิบมาใช้”จักรกฤษณ์ กล่าว

ปักธงรบหาแนวร่วม

การเปิดคลื่นวิทยุใหม่บวกกับภาวะของการแข่งขันสูงทั้งจังหวัดเชียงใหม่กว่า 177 คลื่นสถานี และด้วยข้อจำกัดของแรงส่งคลื่นที่มีไม่เกิน 20 กิโลเมตร ทำให้การปั้นรายการใหม่โดยเฉพาะเรื่องของท่องเที่ยวบนหน้าปัดของสถานีจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถ

ทอจันทร์ นเรศจักรพันธ์ ขุนกระบี่ที่ถูกวางตัวในการวางแผนการตลาดของคลื่น 102.75 เม็กกะเฮิร์ต เล่าถึงกลยุทธ์ที่วางไว้ว่า ปัจจุบันข้อมูลที่มีอยู่ในมือส่วนใหญ่จะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทำให้มีข้อมูลเชิงลึก และนั่นคือจุดเด่นที่ถูกนำมาใช้ในรายการวิทยุ

“ตัวอย่างเช่น ประเพณีพิงไฟพระเจ้า ในอำเภอแม่แจ่ม ที่บางคนอาจไม่เคยเห็นหรือได้ยินมาก่อน เราก็มีข้อมูลส่วนนี้เก็บไว้และพร้อมที่จะเผยแพร่ให้คนได้รับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีนี้ เพื่อสืบสานให้คนรู้จักรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้”ทอจันทร์ กล่าวพร้อมกับเสริมว่า

ปัจจุบันมีการประสานงานจังหวัดใกล้เคียงเพื่อแลกเปลี่ยนพร้อมส่งและรับข้อมูลข่าวสารท่องเที่ยวรวมทั้งศิลปวัฒนธรรมประเพณีให้กันและกัน โดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดล้านนาในภาคเหนือตอนบนที่มีอยู่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ ,เชียงราย แม่ฮ่องสอน, แพร่ ,น่าน, ลำปาง, ลำพูนและ พะเยา ที่ทำยุทธศาสตร์ขึ้นมารวมกันสร้างฐานตัวเองให้แข็งแรงจากนั้นจึงจะขยายไปยังแถบภูมิภาคอื่น

นอกจากนี้การใช้ดีเจหน้าใหม่เข้ามาจัดรายการคือแผนการตลาดที่ถูกกำหนดไว้เพื่อสร้างจุดขายที่แตกต่างจากสถานีวิทยุทั่วไป โดยเซ็ตให้ดีเจแต่ละคนอยู่ในกรอบและสร้างความโดดเด่นด้านความถนัดที่ไม่เหมือนกัน อาทิ ความถนัดด้านแหล่งท่องเที่ยว หรือความถนัดด้านร้านอาหารและบริการ เป็นต้น

ทอจันทร์ เล่าต่ออีกว่า การนำเสนอจึงต้องใช้ดีเจเป็นคู่เพื่อให้ข้อมูลที่ลึกและสามารถจัดรายการได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เพราะการทำรายการแต่ละครั้งดีเจต้องทำการบ้านหนักซึ่งต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลในแต่ละวันพร้อมกับเตรียมวางแผนงานในการนำเสนอไปพรีเซ้นท์ให้ที่ประชุมบอร์ดฟัง ซึ่งกว่าจะได้ออกอากาศต้องใช้เวลานานนับเดือน

รุกการตลาด

ด้วยศักยภาพของอุปกรณ์สถานีที่ทุ่มทุนกว่า 5 ล้านบาทนับว่าเป็นสถานีวิทยุชุมชนที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง กอปรลูกค้าที่จะมาเป็นพันธมิตรร่วมเพื่อลงโฆษณา ทอจันทร์ กล่าวว่าต้องศึกษาข้อมูลการตลาดถึงจุดดีจุดด้อยอย่างชัดเจนพร้อมดูถึงความต้องการของลูกค้า เพราะการลงโฆษณาในสถานีวิทยุคลื่นท่องเที่ยวต้องมีอะไรที่ให้ได้มากกว่าแค่ลงโฆษณาในแต่ละครั้ง

“เหมือนกับเราเป็นเอเย่นต์ซี่กลุ่มหนึ่งที่ทำแผนการตลาดให้กับลูกค้าแบบครบวงจร ซึ่งบางครั้งอาจแนะนำให้ลูกค้าไปลงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเช่นกันเพื่อให้ลูกค้าทำการประชาสัมพันธ์แบบทั่วถึง และนี่คือยุทธวิธีที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจเร็วขึ้นที่จะลงโฆษณากับเรา”ทอจันทร์ กล่าว

ขณะเดียวกันการให้ลูกค้าเดินเข้ามาหาเองคงเป็นไปได้ยาก จุดนี้เองที่ ทอจันทร์ บอกว่ากลยุทธ์การชิงความเป็นหนึ่งและต้องพัฒนาตัวเองให้อยู่ในใจลูกค้าตลอดนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำ ปัจจุบันดีเจทุกคนต้องออกทำตลาดพบลูกค้าเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่พักโรงแรม ร้านอาหาร หรือสุขภาพเกี่ยวกับสปา โดยนำแนะนำตัวพร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้ฟรีในรายการแต่ละช่วงเพื่อสร้างคอนเนกชั่นที่ดีสำหรับลูกค้าในอนาตค

“ปัจจุบันลูกค้าก็แฮปปี้และเปิดคลื่นรับฟังกันพอสมควร ซึ่งถือเป็นการสร้างเครือข่ายไปในตัว เรียกว่าการทำตลาดแนวนี้ทำให้เราได้ทั้งข้อมูลที่ต้องการและกลุ่มลูกค้าที่ตรงเป้าหมายไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญกิจกรรมเพื่อสังคมเราประชาสัมพันธ์ให้ฟรีตลอด”ทอจันทร์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us