|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดแผนการตลาดท่องเที่ยวประจำปี 2549 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ที่เน้นคุณภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ พร้อมกับขยับตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภพาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 15.12 ล้านคน นั่นหมายถึงรายได้กว่า 5.33 แสนล้านบาทที่จะเข้ามา ขณะที่เป้านักท่องเที่ยวคนไทยมีมากขึ้น 79.33 ล้านคนต่อครั้ง รายได้ประมาณ 3.8 แสนล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวทั้งหมดที่ ททท.ตั้งขึ้นมากำลังทวนกระแสความเป็นจริงต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ดูจากแผนการตลาดเดิมถูกวางไว้เมื่อก่อนเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติธรณี คลื่นยักษ์สึนามิ พบว่านตลาดต่างประเทศ ได้เพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวเอเชียจาก 60% เป็น 65% และลดสัดส่วนในภูมิภาคอื่น เช่น ยุโรป สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง จาก 40% เป็น 35% เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มที่นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางในตลาดใกล้มากกว่าตลาดไกล อีกทั้ง เสนอภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งความรื่นรมย์ (Happiness on Earth) และเน้นคุณภาพของนักท่องเที่ยวมากกว่าปริมาณดังเช่นในช่วงที่ผ่านมา โดย ททท. ได้จำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ดังนี้ กลุ่มรายได้สูง หรือกลุ่ม high-end ได้แก่ ตลาดอเมริกา ยุโรป ฮ่องกง ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง กลุ่มไมซ์ (MICE : Meeting, Incentive Travel, Convention and Exhibition หมายถึง ตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเพื่อร่วมประชุมสัมมนา แสดงนิทรรศการหรือสินค้านานาชาติ รวมถึงการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล) ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ กลุ่มกอล์ฟ ได้แก่ ตลาดเอเชีย ยุโรป
กลุ่มสุขภาพและสปา ได้แก่ ตลาดเอเชีย ยุโรป และโอเชียเนีย กลุ่มดำน้ำ ได้แก่ ตลาดยุโรป เอเชีย ฮ่องกง และญี่ปุ่น กลุ่มพำนักระยะยาว (ลองสเตย์) ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย กลุ่มฮันนีมูน ได้แก่ ตลาดเกาหลี ญี่ปุ่น กลุ่มคอร์ปอเรต (กลุ่มองค์กร) ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ตะวันออกกลาง และอเมริกา สำหรับทางด้านตลาดในประเทศ จะเน้นในโครงการ "ที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา" เพื่อกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวในประเทศทั้งด้านการเพิ่มจำนวนการใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวไทย และเพิ่มความถี่ของการท่องเที่ยวและจำนวนวันพัก
ททท. ได้กำหนดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่องไว้ 3 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมปกติ กิจกรรมประจำชาติที่สร้างขึ้น และกิจกรรมที่เป็นสากล โดยพยายามดึงงานสำคัญต่างๆ มาจัดในประเทศไทยให้มากขึ้นเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เรื่องการท่องเที่ยวและเกิดผลทางการตลาดระหว่างประเทศ เช่น การจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 เพิ่มขึ้นประมาณ 5 หมื่นคน และสร้างรายได้กว่า 2 พันล้านบาท เป็นต้น สำหรับสินค้าทางการท่องเที่ยวที่จะนำเสนอต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2548 ที่สำคัญ อาทิ อาหารไทย สปา การกีฬา ช้อปปิ้ง และสินค้าผจญภัย เช่น ปีนหน้าผา ล่องแก่ง หากสินค้าทางการท่องเที่ยวประเภทดังกล่าวได้รับการสนับสนุนและพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนจะสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้เติบโตไม่น้อยกว่า 25%โดยเฉพาะ สปาซึ่งเป็นสินค้าที่แสดงถึงภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริงและได้รับความนิยมมากเป็นอันดับ 1 ของเอเชียในปี 2546 (จากการสำรวจของ Spa Asia Magazine สิงคโปร์) และมีศักยภาพสูงเพียงพอที่จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการกิจกรรมอื่นๆ ที่คาดว่าหากดำเนินการแล้วเสร็จในปีนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์" ที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในไทย (ประมาณ 1-2 ล้านคน/ปี) ล่าสุด ได้มีการกำหนดมาตรฐาน 8 ด้าน ที่จะใช้กำหนดคุณภาพในการประเมินธุรกิจท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ทั่วประเทศและเพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น ได้แก่ มาตรฐานด้านที่พักอาหารและโภชนาการ ความปลอดภัย การจัดการ กิจการท่องเที่ยว การสร้างมูลค่าเพิ่ม การตลาด และสภาพแวดล้อม โดยมุ่งหวังว่าการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่ชุมชนและประเทศชาติ
มาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติในเชิงรุกด้วยการออกไปจัดงานแสดงรอบพิเศษ (Road Show) ต่างประเทศ โดยในปี 2548 ททท. มีแผนออกโรดโชว์ยังต่างประเทศประมาณ 6 ครั้ง ทั้งภูมิภาคแถบเอเชียและยุโรปรวมทั้งตะวันออกกลาง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
กอปรกับปีนี้ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ได้เตรียมการโรดโชว์ใน 9 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยอรมนี สเปน สหรัฐฯ และรัสเซีย เพื่อดึงดูดให้มีการจัดประชุมและนิทรรศการในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการแห่งเอเชีย และประการสำคัญจะเป็นการส่งเสริมจำนวนนักท่องเที่ยวตลาด MICE ที่มีกำลังซื้อสูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) สำหรับการสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติขึ้นที่เชียงใหม่และภูเก็ตจะช่วยสนับสนุนนโยบายส่งเสริมนักท่องเที่ยวตลาด MICE ให้ประสบผลสำเร็จด้วยเช่นกัน จากที่ทั้งเชียงใหม่และภูเก็ตต่างเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคของประเทศไทย จึงดึงดูดความสนใจและรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ในปี 2548 ททท. และ สสปน. ตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE เพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อน
การทำตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (อินเตอร์เน็ต) เป็นเครื่องมือในการตลาดเพื่อขยายธุรกิจท่องเที่ยวกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง โดย ททท. ใช้งบประมาณราว 2.5 ล้านบาท เพื่อรวบรวมสมาชิกผู้ขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวนำเสนอในรูปแบบออนไลน์มาร์เก็ตภายใต้เว็บไซต์การท่องเที่ยว คือ www.thaitravelmart.com นักท่องเที่ยวจึงสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการได้โดยตรง อีกทั้ง ได้เริ่มปรับปรุงระบบการจำหน่ายตั๋วผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการจองตั๋วโดยสารล่วงหน้า
ขณะเดียวกันยังมีการร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อขยายตลาดการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับประเทศต่างๆ อีก 5 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อวางยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยกำหนดแผนงานและกิจกรรมต่างๆ รองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้และปีต่อๆ ไป โดยมีเป้าหมายให้ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก เพื่อไปยังประเทศจีนโดยใช้การท่องเที่ยวเชื่อมโยงการลงทุน โดยการเปิดสถานกงสุลไทยเพิ่มขึ้นตามมณฑลใหญ่ๆ ของจีน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งคาดจะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจีนได้เป็น 1.7 ล้านคน ในปี 2551 จากปัจจุบันที่มีประมาณ 8.5 แสนคน
การเจรจาเปิดเสรีทางการค้า (FTA) กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะภาคบริการด้านการท่องเที่ยว จะทำให้นักท่องเที่ยว รวมถึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวแล้วยังก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคบริการและสร้างรายได้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ในส่วนการเปิดเสรีด้านการบินที่ได้ดำเนินการแล้วในบางประเทศ เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน เป็นต้น และคาดว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้นในอีกหลายๆ ประเทศ ทำให้เครื่องบินสามารถบินไป-กลับเหนือน่านฟ้าของประเทศอื่นได้โดยปราศจากข้อจำกัดในเรื่องความถี่ของเที่ยวบิน ความจุของเครื่องบิน และชนิดของเครื่องบิน ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนสายการบิน เที่ยวบิน และจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมถึงค่าโดยสารที่จะมีราคาถูกลงเนื่องจากภาวะการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งนี้ การแข่งขันในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ที่ในปัจจุบัน BOI ได้ให้การสนับสนุนแล้วหลายโครงการ อาทิ บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด บริษัท ภูเก็ต แอร์ไลน์ จำกัด และบริษัท พีบี แอร์ จำกัด เป็นต้น จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางและเพิ่มโอกาสในการเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคของไทย นอกจากนี้ การเพิ่มเที่ยวบินของสายการบินต่างๆ จากภูมิภาคอื่นมาไทยยังช่วยเสริมให้จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ภาวะการท่องเที่ยวไทยในปี 2548 อยู่ในภาวะที่เผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ กอปรกับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงมีสัดส่วนที่น้อยกว่านักท่องเที่ยวปกติอาจทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มดังกล่าวไม่เพียงพอที่กระตุ้นรายได้ท่องเที่ยวโดยรวมให้เพิ่มขึ้น จึงเป็นการยากที่จำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2548 จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ทางการคาดไว้ คือ จำนวน 13.38 ล้านคน และสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 4.5 แสนล้านบาท
ที่มา:ข้อมูลธนาคารกรุงศรีอยุธยา, บมจ. (Th)และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
|
|
|
|
|