Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 สิงหาคม 2548
ต่างชาติยึดบริหารโรงแรมไทย หวั่นเชนไทยสูญพันธ์ได้เวลา “เอไพมส์” คิดการใหญ่             
 


   
search resources

Hotels & Lodgings




ปัจจุบันเชนโรงแรมจากต่างประเทศได้ให้ความสนใจเข้ามาบริหารโรงแรมในเมืองไทยเป็นจำนวนมากพบว่ามีกลุ่มเชนโรงแรมชื่อดังระดับโลกได้เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องมีทั้งการรับจ้างบริหาร การร่วมลงทุน และลงทุนก่อสร้างขึ้นมาเองต่อการขยายตัวเข้ามาของในไทยของเชนโรงแรมต่างประเทศแหล่งข่าวในธุรกิจโรงแรมให้ความเห็นว่ามาจากหลายสาเหตุ เช่น

การเปิดเสรีธุรกิจการบริการ การขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และที่สำคัญคือการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเซียที่ องค์การการท่องเที่ยวโลกคาดว่าเอเซียแปซิฟิคจะเติบโตถึง 6.5% ไปจนถึงปี 2563 ทำให้นักท่องเที่ยวเพิ่มต่อเนื่องจาก 112 ล้านคนต่อปีในปี 2543 เป็น 195.2 ล้านคนในปี 2553 และ 397 ล้านคนต่อปีในปี 2563 ขณะที่ยุโรปหรืออเมริกาขยายตัวเพียง 2%เท่านั้น

แม้ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะดูไม่สอดคล้องกับ โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่ใกล้จะเปิดบริการเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศหนุนการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ในภาวะที่ราคาน้ำมันลอยตัว แต่ก็ไม่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาของเชนโรงแรมจากต่างประเทศเท่าไรนัก

การขยายเครื่อข่ายในเมืองไทยเพื่อปูทางไปสู่ดินแดนในแถบภูมิภาคเอเชียทำให้การเข้ามาของเชนต่างประเทศกลับให้ความสำคัญมากกว่าและแน่นอนเชนบริหารจากต่างประเทศได้ยอมลดเงื่อนไขต่างๆ ลงเพื่อให้น่าจูงใจกลุ่มลูกค้า(เจ้าของโรงแรมไทย)เพราะส่วนหนึ่งมาจากการแข่งขันที่รุนแรงของเชนด้วยกันเองในการเข้ามาขยายเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการยอมเข้ามาร่วมทุนด้วยจากเดิมจะบริหารอย่างเดียว แถมด้วยการเสนอให้ผลประโยชน์ที่สูงกว่า

การรุกตลาดเข้ามาของเชนโรงแรมต่างประเทศพบว่า มีการพัฒนาระบบห้องพักแบบเรียลไทม์จองได้ 24 ชม.จากทุกมุมโลก ซึ่งทำให้ต้นทุนต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้โรงแรมของคนไทยที่บริหารเองอาจอยู่ได้ลำบากมากขึ้นเพราะไม่สามารถลงทุนเทคโนโลยีที่มีราคาแพงได้ตามลำพังเครือข่ายการจองห้องพักระบบเก่าผ่านบริษัททัวร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้

ขณะเดียวกันการตัดสินใจ เลือกแบรนด์เข้ามาบริหารยังคงมีความสำคัญ เนื่องจากว่ามีเครือข่ายและฐานลูกค้าเป็นจำนวนมากย่อมได้เปรียบในสถานการณ์แข่งขันที่รุนแรง

การดึงเชนโรงแรมจากต่างประเทศที่พร้อมเข้ามาบริหารโรงแรมในประเทศไทยในปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่จะต้องร่วมลงทุนด้วย เนื่องจากเห็นว่าการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมในขณะนี้มีสูงมากขณะที่เครือข่ายของคนไทยในการทำตลาดนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยาก

บางแห่งถึงกลับมีแนวคิดที่จะร่วมกลุ่มโรงแรมคนไทยที่ไม่มีเครือข่ายตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมขึ้นมาเพื่อร่วมมือกันในการดำเนินการทางด้าน ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมถึงเรื่องฝึกอบรมบุคลากรเพราะถ้าหากเชนโรงแรมต่างชาติเข้ามามากๆ นั่นหมายถึงจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียตามมา

ข้อดีด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีที่เชนต่างประเทศเหนือกว่า ขณะที่ข้อเสียก็มีมากเช่นกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้บริหารที่ส่งมาถ้าหากไม่เรียนรู้วัฒนธรรมไทยก็เป็นปัญหาในการทำงานร่วมกับคนไทยเช่นกัน

“เอไพมส์”ขอแจ้งเกิด

การเข้ามาของเชนต่างประเทศส่งผลกระทบให้กับเชนบริหารโรงแรมของคนไทยอย่างไรบ้างดูได้จาก

1.ธุรกิจโรงแรมคนไทยที่เป็นระดับกลางและล่างที่บริหารธุรกิจด้วยตัวเอง จะได้รับความเดือนร้อนมาก

2.ประเทศไทยจะต้องสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศมากขึ้น เพราะเจ้าของโรงแรมจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการบริหารให้เชนในราคาสูง บางโรงแรมจ่ายปีละ 40-50 ล้านบาท

3.ธุรกิจโรงแรมเชนคนไทย จะได้รับผลกระทบบ้างกับการถูกแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ทำให้ต้องทำงานหนักขึ้น แต่ก็ยังอยู่ได้ เพราะมีข้อได้เปรียบตรงที่มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน

สาเหตุดังกล่าวถึงแม้จะเป็นจุดด้อยแต่ก็สามารถนำมาสร้างให้เป็นจุดแข็งสำหรับเชนไทยอย่าง “เอไพมส์”ได้เป็นอย่างดี

ดนัย วันสม CEO ของเอไพมส์ โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ตให้ความเห็นเกี่ยวกับเชนไทยสามารถแบ่งออกได้สองอย่างด้วยกันคือ 1.เจ้าของเชนมีโรงแรมและรีสอร์ตเป็นของตัวเอง กับ 2. เชนที่ไม่มีธุรกิจโรงแรมเป็นของตัวเอง ซึ่งถ้าเป็นในต่างประเทศจะพบกันมากและเป็นธุรกิจที่ผลุบๆโผล่ๆ และหายไปในที่สุด

หากถามว่าธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการแบบไม่มีโรงแรมเป็นของตัวเองในเมืองไทยนั้นจะเป็นเหมือนต่างประเทศหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับว่า เชนคนไทยมีความสามารถมากน้อยเพียงใดและมีกี่คนที่จะเปิดโอกาสเชนคนไทยเข้าไปแสดงความสามารถให้กับธุรกิจของเขาหรือไม่

“ปัจจุบันยังคงมีกลุ่มนายทุนที่มีความคิดแบบนี้อยู่จำนวนมาก บางคนสร้างโรงแรมมาหลายปียังไม่มีใครรู้จักชื่อเลยก็มีทำให้ธุรกิจรับจ้างให้คำปรึกษาและบริหารจัดการน่าจะสามารถเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้”ดนัยกล่าวพร้อมกับแนะขั้นตอนการเข้าไปบริหารจัดการว่า

โรงแรมที่เจ้าของเขาทำอยู่ด้วยใจรักและมีทิศทางในการดำเนินการเป็นไปในแนวเดียวกันทางเชนก็จะให้แค่คำปรึกษาเท่านั้น แต่ถ้าจะให้ลงรากลึกถึงการบริหารจัดการที่เรียกว่าเชนมาร์เก็ตติ้งก็จะมีการเทรนในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคคลากร ,แผนกห้องอาหารหรือส่วนบริการต่างๆถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการทำตลาด และส่วนสุดท้ายคือเจ้าของไม่มีเวลามาดูกิจการโรงแรมการเข้าไปบริหารจัดการจึงเป็นหน้าที่สำคัญที่เชนบริหารต้องเข้าไปโดยจะส่งเป็นตัวบุคคลหรือในรูปแบบทั้งองค์กรขึ้นอยู่กับความต้องการของนายทุน

เมื่อพูดถึงตรงนี้ ดนัย บอกว่าไม่ว่าจะเป็นเชนไทยหรือเชนต่างประเทศ GMใช่ว่าจะเก่งทำเรื่อง สิ่งหนึ่งที่เชนโรงแรมต้องคำนึงถึงคือการเข้าไปมีส่วนร่วมช่วยเสริมส่วนต่างๆที่ขาดหายไป สำหรับสิ่งที่นายทุนเขาต้องการ และคาดว่าช่องว่างของตลาดตรงนี้ยังคงมีให้เข้าไปทำตลาดได้อยู่เป็นจำนวนมาก

และด้วยกลยุทธ์ของเอไพมส์การแยกแยะหลายเซ็กเม้นท์ไว้บริการเพื่อเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าในการสร้างตลาดให้กับตัวเองเพราะถ้าองค์กรมีเพียงเซ็กเม้นท์เดียวนั่นอาจทำให้ธุรกิจถึงทางตันและจบธุรกิจได้ง่ายเหมือนในต่างประเทศ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อประยุกต์ใช้กับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยจึงต้องการหลายๆเซ็กเม้นท์เข้ามาให้บริการนั่นเอง

กุญแจของความสำเร็จทางการตลาดถ้ามีโปรดักส์ที่ดี และวิ่งเข้าไปหาในโลเคชั่นสถานที่ตั้งในทิศทางต้องการเหมือนกัน ขณะเดียวกันด้านราคาจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้คนรู้จักชื่อแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ส่วนสุดท้ายโปรโมชั่นจะเป็นการเสริมทีมทางการตลาดและต้องทำอย่างจริงจังให้กับตัวเอง เพราะไม่มีธุรกิจใดสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเองถ้าขาดกุญแจธุรกิจดอกสำคัญเหล่านี้

ปัจจุบันเอไพมส์เข้าไปบริหารมี กฤษดาดอย และในอนาคตอันใกล้ที่กำลังจะเข้าไปบริหารมี ภูริปัน เชียงใหม่ ,โรงแรมที่ชะอำ และโรงแรมที่ภูเก็ต รวมถึงการเข้าไปบริหารจัดการโรงเรียนสอนการโรงแรมของมหาวิทยลัยราชภัฎสวนสุนันทา โดย CEO ของเอไพมส์ยังวาดฝันอีกว่าในเวลาเพียง 1-2 ปีชื่อของแบรนด์จะเป็นที่รู้จักและสิ้นปี 49 จะมีโรงแรมในเครือบริหารจัดการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 10 แห่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us