Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 กุมภาพันธ์ 2548
จีนมองจีน : Li Renliang สั่นสะเทือน! บริษัทจีนซื้อ IBM             
 


   
search resources

Computer




เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา บริษัท เหลียนเสี่ยง หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Lenovo Group Limited ได้ทุ่ม 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯซื้อกิจการคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาจนสำเร็จ แม้ล่าสุดรัฐสภาของอเมริกาจะมีการคัดค้านและโต้เถียงกันก็ตาม เพราะกลัวจีนจะเข้ามาขโมยข้อมูลทางราชการ แต่ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ นับว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการอุตสาหกรรมจีน ทำให้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เกิดความสั่นสะเทือนครั้งยิ่งใหญ่

Lenovo Group Limited ก่อตั้งขึ้นมา เมื่อปี 1984 โดยทุนของสภาวิจัยแห่งชาติจีน มีนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 11 คน และในปี 1988 ก่อตั้งขึ้นในรูปแบบเป็นบริษัทจำกัด และปี 1990 เริ่มมีคอมพิวเตอร์วางขายตลาด ปี 1994 เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกง ปี 1999 กลายเป็นบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ PC รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (นอกจากประเทศญี่ปุ่น) มีฐานผลิตอยู่ที่กวางตง ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ปริมาณผลิต 5 ล้านเครื่องต่อปี และมีร้านจำหน่ายตามเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศจีนกว่า 4400 กว่าร้านค้า มีพนักงานทั้งหมด 10,000 คน แต่ที่น่าสนใจคืออายุเฉลี่ยของพนักงานที่บริษัทแค่ 28ปี และอายุเฉลี่ยของผู้บริหารแค่ 33 ปี

ภายในระยะเวลาอันสั้นๆ 10 กว่าปีนี้ อาศัยนักวิจัยและเจ้าหน้าที่เพียง 11 คน บากบั่นสู่ความยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจ ไม่เพียงแค่นี้ ยังสามารถที่จะซื้อกิจการทั้งหมด IBM ในราคา 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับประเทศจีน สำหรับ IBM แล้วมีความสำคัญอย่างใหญ่หลวง ประการแรก บริษัท IBM ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ด้วยเหตุผลที่ในหลายปีที่ผ่านรายได้จากการขาย PC ของIBM ขาดทุนมาตลอด กานี้ถือว่าได้ทิ้งภาระให้แก่คนอื่นไป และหันมาผลิตชิ้นส่วนที่เป็นไฮ-เทค

ประการที่สอง คือ ทำให้คู่แข่งขัน เช่น intel , Hp ,dell ได้รับความเสียหายและได้รับการท้าทายจากจีนมากขึ้น จากเดิม ตลาดแชร์ของ PC dell 16.8% , HP 15% , IBM 5.6 % , Lenovo 2.2% ทำให้ตลาดส่วนแบ่งของ Lenovo ขึ้นมาเป็นอันดับที่สามของโลก และทำให้ IBMได้รับผลประโยชน์เต็มๆจากตลาดจีนให้อนาคตต่อไป

อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงที่สุดยังคงเป็น Lenovo 1.ซื้อในราคาถูกถือได้ว่าเป็นการให้ฟรี รวมกิจกรรมการทำวิจัย การผลิต การจำหน่ายของ IBM ทั้งหมด และใช้ชื่อIBMได้ 5 ปี ถือว่าคุ้มมาก ทั้งเทคโนโลยีและการผลิตได้มาโดยตรง ประหยัดเวลาการทำวิจัยเป็นหลายชั่วอายุคนก็ว่าได้ 2. ทำให้ ทรัพย์สินของLenovo เพิ่มขึ้นจาก 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯเป็น10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ติดอันดับ 500 แรกของโลก 3.ทำให้ประเทศจีน

โดยเฉพาะอุตสาหกรรม IT ได้รับผลประโยชน์โดยทางอ้อม ส่งผลให้ระดับเทคโนโลยีของจีนยกระดับสูงขึ้น และผลักดันอุตสาหกรรม IT ของจีนอีกด้วย เช่นเดียว กับกรณี LG มีบทบาทของอุตสาหกรรมเกาหลีใต้และInfosys ของอินเดียที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมsoftware ของอินเดีย ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ dell , micro soft ,Hp , intel และในที่สุดต้องบังคับให้ Hp หายไปจากการแข่งขันอย่างรุนแรง และผู้ที่เจ็บปวดมากที่สุดคือพนักงาน 10,000 กว่าคนของ IBM จะไปหรือจะอยู่ต่อ แต่ไม่ว่าจะไปหรือจะอยู่ต้องทนความเจ็บปวด ซึ่งเป็นชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

นี่แค่เป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทจีนแสดงศักยภาพ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จับตากันต่อไปว่ามีอีกหลายๆอุตสาหกรรมที่ตกอยู่ใต้การควบคุมดูแลของจีนต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us