Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 กันยายน 2545
"อากู๋"ลุยธุรกิจ"หนังอินเตอร์" เล็งกวาดทุกช่องทางทำกำไร             
 


   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม




"อากู๋" หวนคืนเวทีผลิตภาพยนตร์อีกครั้ง หลังร้างลาวงการไปนาน 5 ปีเต็ม ล่าสุดดึง "จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส" ปูทางเปิดตลาดหนังแกรมมี่ในต่างประเทศ ผ่านธุรกิจหนังยักษ์ใหญ่ระดับโลก ก่อนผลักดันเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใน 3 ปีข้างหน้า ยอมรับหันมาเริ่มต้นใหม่เพราะต้องการเป็นมืออาชีพและทำตลาดอย่างจริงจัง ในช่วงที่ภาพยนตร์ไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ แต่ยังเป็นรองเกาหลี คุยผลดำเนินงานไตรมาส 3 ดีสุดในรอบ 19 ปี จากรายได้ที่เข้ามาทุกด้าน ส่วนธุรกิจในไต้หวันก็เริ่มจะทำกำไรหลังขาดทุน ติดต่อกันถึง 2 ปี

นายไพบลูย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (GMM) เปิดเผยว่า แกรมมี่เริ่มจะหันกลับมาทำธุรกิจผลิตภาพยนตร์อย่างจริงจังอีกครั้งภายหลังห่างเหินวงการนี้มานานร่วม 4-5 ปี ด้วยการ เปิดตัว"บริษัท จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส" ซึ่งเป็นบริษัทร่วมกับ"กลุ่มหับโห้หิ้น" ผลิตภาพยนตร์ไทยป้อนตลาด ในประเทศและต่างประเทศ โดยแกรมมี่ถือหุ้นทั้ง 100% ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้กำหนดงบลงทุนปีหนึ่งๆ ประมาณ 100-200 ล้านบาท ซึ่งหาก ธุรกิจดังกล่าวไปได้ดี ในอีก 3 ปีข้างหน้าก็อาจจะผลักดันให้ "จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส" เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การกลับคืนสู่เวทีเก่าของแกรมมี่ครั้งนี้เป็นที่รู้กัน ดีว่า ธุรกิจผลิตภาพยนตร์ไม่ใช่เรื่อง ใหม่ของกลุ่มแกรมมี่ เพราะหากย้อนหลังไปก่อนหน้านั้น 5 ปี แกรมมี่ก็เคยมี"บริษัท แกรมมี่ ฟิล์ม" ที่มียุทธนา มุกดาสนิทเป็นผู้ดูแลการผลิตให้ แต่ท้ายที่สุดบริษัทดังกล่าวก็ต้องปิดตัวเองลงในเวลาอันสั้น ก่อนจะหวนคืนเวทีเดิมภายใต้ชื่อ "จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร" ที่กำลังจะเปิดตัวหนัง"15ค่ำเดือน 11" เป็นเรื่องแรกในวันที่ 11 ต.ค.นี้

นายไพบลูย์กล่าวว่า หลังจาก ทำธุรกิจเพลงมาหลายปี คราวนี้ก็อยากจะหันมาทำหนังดูบ้าง ถึงแม้จะยอมรับว่าที่ผ่านมาแวดวงธุรกิจผลิตภาพยนตร์ไทยจะค่อนข้างซบเซา แต่เนื่องจากในอดีตแกรมมี่เคยทำโฆษณาให้กับภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง เช่น ครูบ้านนอก ไผ่แดงจึงเชื่อว่าน่าจะทำธุรกิจนี้ได้ แต่เพราะระยะนั้นตลาดภาพยนตร์ ไทยค่อนข้างย่ำแย่ จึงคิดว่าไม่น่าทำ เป็นอาชีพหรือทำจริงจัง เห็นได้จาก หลายบริษัทที่ทำไปแล้วก็ไม่ประสบ ความสำเร็จ

"5 ปีก่อน หนังไทยซบเซามาก ปีหนึ่งๆมีหนังเพียง 3 เรื่อง ขณะเดียวกันตอนนั้นทำเพลงก็ดีพอสมควรอยู่แล้ว แต่มาถึงตอนนี้หนังไทยเริ่มจะกลับมาบูมอีกครั้ง ก็เลยหันกลับมาคิดว่าน่าจะทำหนัง บ้าง ประจวบเหมาะกับมีคนรุ่นใหม่ เข้ามาอยู่ในวงการนี้จำนวนมาก คุณภาพหนังก็เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ก็มีกำลังใจอยากจะกลับมาทำอีกครั้ง"

ความจริงบริษัทใหม่นี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 เริ่มจากมีบุคลากรในแวดวงนี้ซึ่งเป็นคน รุ่นใหม่ และรู้จักคุ้นเคยกันอยู่บ้างเสนองานผ่านเข้ามาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับแกรมมี่เองก็ต้องการจับธุรกิจนี้อย่างจริงจัง หรือต้องการ ทำอย่างมืออาชีพด้วย จึงต้องมาเริ่มต้นกันใหม่

นายไพบลูย์กล่าวว่า ในช่วงแรกมีหนังอยู่ในมือประมาณ 11 เรื่อง และใช้งบประมาณไปแล้ว 100 ล้านบาทสำหรับเรื่องแรก ขณะที่หนังเรื่องต่อๆไปจะเริ่มทยอยเข้าฉายในปีหน้า ขณะเดียวกันบริษัทก็อยู่ระหว่างเสาะแสวงหาพันธมิตร ในต่างประเทศเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย หนังของแกรมมี่ไปยังตลาดต่างประเทศด้วย

"ถ้าเริ่มต้นดี มีชื่อเสียง ก็จะมีกลุ่มเป้าหมาย ตลาดสำหรับแกรมมี่ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ยิ่งในช่วงนี้หนังเอเชียเริ่มเป็นที่ยอมรับในตลาด โดยเฉพาะหนังเกาหลี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะมองว่าตลาดหนังคือวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งหากประเทศอื่นๆชอบหนังเกาหลี ก็พลอยทำให้สินค้าเกาหลีขายดีในตลาดนั้นๆด้วย เหมือนกับฮอลลีวูด ส่วนหนังไทยเราขึ้นมาเป็นอันดับ 2 แล้ว"

การหวนคืนธุรกิจผลิตภาพยนตร์ของ แกรมมี่ในครั้งนี้ จึงเห็นได้ชัดว่า ต้องการรุกเข้าสู่ตลาดในต่างประเทศเป็นหลัก โดยก่อนหน้านี้ก็ได้มีการนำหนังที่ผลิตในมือไปเสนอยังบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมภาพยนตร์รายใหญ่ระดับโลก อย่าง วอลท์ดิสนีย์ โคลัมเบีย พิคเจอร์ ฟ็อกซ์ และบริษัทในฮ่องกงเพื่อเจรจาเป็นพันธมิตรร่วมทุนและจัดจำหน่ายหนังของแกรมมี่สู่ตลาดระดับอินเตอร์ ซึ่งผู้บริหารคาดหวังอยู่ ลึกๆว่าการตกลงร่วมธุรกิจ จะเป็นการการันตีรายได้ ซึ่งถือเป็นส่วนแบ่งจากการจัดฉายในตลาดต่างประเทศได้ด้วย

"ตอนนี้ก็เข้าไปคุยหลายราย พบว่า ต่างประเทศปัจจุบันนี้มองว่าหนังไทยเป็นที่นิยม เพราะฉะนั้น การทำธุรกิจด้านนี้จะพบว่ามีช่องทางมากมายในตลาดโลก"

ไตรมาส3ดีสุดในรอบ 19 ปี

สำหรับธุรกิจในกลุ่มของ"จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา นายไพบูลย์กล่าวว่า ผลดำเนินงานน่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย และอาจจะเรียกได้ว่าดีที่สุดในรอบ 19 ปี จากรายได้ ทุกด้าน ส่วนหนึ่งก็เพราะบริษัทได้แก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาไปจนเกือบจะหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ หลายบริษัทในเครือก็กำลังจะทยอยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ ไล่มาตั้งแต่ จีเอ็มเอ็ม มีเดียหรือ เอไทม์ มีเดียเดิม และบริษัท เอ็กแซ็กท์ ขณะที่ เอ็มจีเอ นั้นคงเข้าระดมทุนในตลาดไม่ได้ เนื่องจากเกี่ยว พันธ์โดยตรงกับบริษัท ที่ถือหุ้นอยู่ถึง 80%

ทั้งนี้ เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท มีธุรกิจเกี่ยวพันกับการขอสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ หากคณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่ วิทยุและโทรทัศน์(กสช.)เริ่มมีผล ดังนั้นธุรกิจที่จะทยอยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็จำเป็นต้องเข้าไประดมทุนเพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปขอสัมปทาน

"ต่อไปถ้ากสช.มีความชัดเจนออกมาว่าจะจัดการเรื่องคลื่นความถี่อย่างไร ก็จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์และเคเบิลทีวีก็จะมีความเป็นไปได้สูงขึ้น"

นายไพบลูย์กล่าวว่า การแยกธุรกิจเพื่อนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยแบ่งเป็นหน่วยงาน เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีลักษณะแตกต่างกัน แต่มีแง่ดีการแยกเป็นหน่วยงาน เช่น หน่วยธุรกิจเพลง และมีเดียก็จะมีความเสี่ยงน้อย ทำให้คนเชื่อถือ โดยเฉพาะหากบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกิดขาดทุนก็จะไม่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่กับอีกบริษัท หนึ่ง

ไต้หวันเริ่มมีกำไร

ขณะที่ธุรกิจของแกรมมี่ในไต้หวันนั้น หลังจากที่ขาดทุนมาตลอด ล่าสุดคาดจะขาดทุน ประมาณไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ขณะนี้เริ่มจะกลับ มามีกำไร จากการรับจ้างผลิตแผ่นคาราโอเกะป้อนให้กับบริษัทค่ายเพลงในไต้หวัน ซึ่งธุรกิจคาราโอเกะในไต้หวันมีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.5 หมื่น ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจเพลงมีเพียง 4 พันล้านบาท เท่านั้น

เหตุผลสำคัญก็คือ ในไต้หวันมีเทปผีซีดีเถื่อนระบาดหนักคิดเป็นตัวเลขสูงถึง 90% บวก กับรัฐบาลของไต้หวันไม่ค่อยจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ อย่างจริงจัง ดังนั้น การรับจ้างผลิตที่ไม่มีความเสี่ยงเลยจึงทำให้เชื่อว่าในปีหน้าธุรกิจของแกรมมี่ในไต้หวันจะเริ่มมีกำไรขึ้นมาบ้าง หลังจากนั้นก็วางแผนจะนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในไต้หวัน

" ในไต้หวัน ปี 2544 แกรมมี่ขาดทุนถึง 200 ล้านบาท ในปีนี้ก็คาดจะขาดทุน 50 ล้านบาท แต่ ที่เริ่มจะมีกำไรก็เพราะได้เปลี่ยนวิธีบริหารจัดการ และหันมารับจ้างผลิตให้รายอื่นทำให้มีรายได้โดยที่ไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากการผลิตซีดีของเรา ออกมาจำหน่ายในตลาดไต้หวัน จะพบว่าบริษัทมีความเสี่ยงถึง 100%"

นายไพบลูย์กล่าวว่า ในไต้หวันเอง ถือว่าเป็นคนละธุรกิจกับแกรมมี่ ดังนั้นหากบริษัทขาดทุน ก็ไม่มีอะไรน่าห่วง เพราะเป็นคนละธุรกิจ กับแกรมมี่"

สำหรับนายไพบลูย์ ในระยะก่อนหน้านี้ ได้หันมาจับตลาดค่อนข้างหลากหลายมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การหันมาทำตลาดบะหมี่สำเร็จรูป โฟร์มี การตั้งบริษัท ยูสตาร์ผลิตเครื่องสำอางยูสตาร์เพื่อเบียดตลาดขายตรงอย่างมิสทีนและเอวอน และล่าสุดก็เตรียมจะเปิดตัวเสื้อผ้าและเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพประมาณปลายปีนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็น การดำเนินการภายใต้บริษัทที่ถือหุ้นร่วมกับศิลปิน และเพื่อนพ้องในแวดวงเดียวกันมากกว่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us