Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 สิงหาคม 2548
BMCL จ่อปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 1 ต.ค.             
 


   
www resources

โฮมเพจ รถไฟฟ้ากรุงเทพ

   
search resources

รถไฟฟ้ากรุงเทพ, บมจ.
Transportation




บีเอ็มซีแอลยังไม่คุ้มทุนแม้ ผู้โดยสารรถไฟใต้ดินเฉลี่ยต่อวันขยับเป็น 2 แสนคน เผยหลัง 30 ก.ย.เตรียมปรับค่าโดยสารเพิ่มตามสัญญาสัมปทาน ยันมีโปรโมชันส่วนลดแน่นอนพร้อม ดีเดย์เปิดร้านค้าปลีกได้ใน ก.ย.นี้ด้วย ด้าน "ปลิว" ยันพร้อมขายหุ้นคืนรัฐแต่ไม่มีการเจรจาต่อรอง ส่วน แผนเข้าตลาดฯไม่ชะลอ

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานบริหารเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล (บางซื่อ-หัวลำโพง) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินเฉลี่ย 1.9 แสนคนต่อวัน ในช่วงวันศุกร์จะสูงถึง 2 แสนคนต่อวัน ส่วนวันธรรมดามีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 1 แสนคนต่อวัน โดยหากมีงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จำนวนผู้โดยสารจะมีถึง 2 แสนคน ทำให้บริษัทมีรายได้เฉลี่ย 3 ล้านบาทต่อวัน แต่หากมีผู้โดยสารมากกว่า 2 แสนคนต่อวัน รายได้จะเพิ่มเป็น 3.5 ล้าน บาทต่อวัน ซึ่งยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนในการดำเนินงาน (Break event) โดยบริษัทตั้งเป้าว่าจะต้องมีรายได้จากการจำหน่ายตั๋วโดยสารถึง 4.5 ล้านบาทต่อวันจึงจะเริ่มมีกำไร ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยจะถึง 2 แสนคนต่อวัน ซึ่งจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นไปตามการเติบโตของผู้โดยสาร และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ จะเริ่มเปิดให้บริการร้านค้าปลีกภายในสถานีรถไฟใต้ดิน ส่วนการใช้บริการโทรศัพท์มือถือภายในอุโมงค์รถไฟฟ้าระหว่างเดินทางนั้น คาดว่าจะใช้ได้ปลายปีนี้ โดยขณะนี้บริษัทได้รับใบอนุญาตชั่วคราวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งสามารถเข้าไป ติดตั้งระบบภายในอุโมงค์รถไฟฟ้า และทดลองใช้ระบบได้ ส่วนใบอนุญาตถาวร กทช. จะให้ภายหลัง

นายสมบัติกล่าวว่า หลังจากวันที่ 30 กันยายนนี้ จะมีการปรับค่าโดยสารรถไฟใต้ดินอีกครั้ง เนื่องจาก ครบกำหนดระยะเวลาในการลดราคาค่าโดยสารสำหรับประชาชนที่เดินทางด้วยบัตรโดยสารแบบเติมเงิน (Smart Card) 20% เริ่มต้น 10 บาท สูงสุด 25 บาท จากอัตราเดิมค่าโดยสารอยู่ระหว่าง 12-31 บาท และลด 30% สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาโดยบริษัทกำลังศึกษารายละเอียดและตกลงกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อกำหนดค่าโดยสารที่เหมาะสม ซึ่งยืนยันว่าจะมีโปรโมชัน เรื่องราคาแน่นอน และในเดือนมกราคม 2549 บริษัท จะต้องจัดทำราคาค่าโดยสารใหม่ตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน โดยอัตรา ค่าโดยสารใหม่นี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ซึ่งเป็นกำหนดครบรอบการให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 ปี

ขณะนี้บริษัทได้ยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อนำหุ้นเข้ากระจายในตลาดหลักทรัพย์ ล่าสุด ก.ล.ต. ได้ทำหนังสือสอบถามความชัดเจนเรื่อง การตั้งโฮลดิ้ง คอมปานี ของภาครัฐ ว่าจะมีผลต่อบริษัทหรือไม่ เนื่องจาก รฟม. จะต้องนำเงินที่ซื้อหุ้น เพิ่มทุน 25% ในบีเอ็มซีแอลไปลงทุนในโฮลดิ้ง คอมปานี ซึ่งบริษัทได้ชี้แจงไปแล้วว่าจะไม่มีผลใดๆ หากผลที่ ก.ล.ต. อนุมัติให้บริษัทซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เสร็จก่อนการตั้งโฮลดิ้ง คอมปานี บริษัทก็สามารถนำหุ้นเข้ากระจายได้ทันที ไม่มีผลให้ การเข้ากระจายหุ้นล่าช้าออกไปแต่อย่างใด

"หากในอนาคต โฮลดิ้ง คอมปานี ต้องการซื้อหุ้น ของบีเอ็มซีแอลอีก 75% ที่เหลือ ก็สามารถทำได้ ขึ้น อยู่กับการเจรจาระหว่างภาครัฐกับบริษัท เชื่อว่ารัฐจะให้ความยุติธรรมให้ประโยชน์กับบีเอ็มซีแอลตามความเหมาะสมและเคารพในสัญญาสัมปทานและ ภายหลังการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัท จะนำเงินที่ได้ไปจัดซื้อรถไฟฟ้า 5 ขบวน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาราคากับบริษัท ซีเมนส์ จำกัด คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 30 เดือนในการนำรถไฟฟ้าขบวนใหม่เข้ามาเสริมในระบบ" นายสมบัติ กล่าว

ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการ บริหาร บีเอ็มซีแอล กล่าวว่า จนถึงขณะนี้รัฐยังไม่ได้ดำเนินการเจรจากับบริษัทเพื่อซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมด ส่วนของบริษัทเองยังมีนโยบายเช่นเดิม คือ ยินดีหากรัฐเข้ามาซื้อหุ้น แต่ต้องให้ราคาเหมาะสมกับมูลค่าหุ้น โดยบริษัทเคยเสนอราคาขายหุ้นแก่กระทรวงคมนาคมในอัตรา 3 บาทต่อหุ้น แต่ยังตกลง ราคากันไม่ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us