Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 สิงหาคม 2548
ธปท.เผยภาวะดอกเบี้ยช่วงขาขึ้นยังไม่กระทบแบงก์-ลูกค้าผ่อนบ้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Interest Rate




รองผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เผยแบงก์พาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ยังไม่สร้าง ปัญหาทั้งกับแบงก์และผู้ผ่อนบ้าน เหตุดอกเบี้ยยังไม่สูงมาก และแบงก์ ก็เปลี่ยนระบบการผ่อนชำระเป็นแบบดอกเบี้ยลอยตัว ส่วนการตรวจสอบสินเชื่อแบงก์พาณิชย์ของ ธปท.นั้นดีอยู่แล้ว เชื่อแบงก์พาณิชย์ มีกฎเกณฑ์มากพอไม่ต้องห่วง

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง กรณีที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย อยู่ในช่วงขาขึ้น อาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคที่มีภาระด้านอัตราดอกเบี้ยมีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นว่า การ ที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไม่ใช่เรื่องที่น่า เป็นกังวลเนื่องจากไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น มากนัก และทางด้านธนาคารพาณิชย์ ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ในการผ่อนชำระบ้านเป็นการใช้ระบบ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด จากเดิมใช้ระบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่

"ตอนที่ลูกหนี้ตัดสินใจกู้อัตรา ดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่ช่วงขาขึ้นแล้ว ซึ่งลูกค้ารู้ตัวดีว่าภาระที่ต้องแบกรับในระยะต่อไปจะเป็นอย่างไร ซึ่งเขาปรับตัวรองรับไว้แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง ส่วนการปรับเปลี่ยนของ แบงก์พาณิชย์จะทำให้ลูกค้าที่ผ่อนบ้าน หรือขอสินเชื่อใหม่ปรับตัวได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง แต่ในอนาคตแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น ประกอบกับการที่เศรษฐกิจชะลอตัวจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ มีความน่าเป็นห่วง เพราะดอกเบี้ยคงจะปรับขึ้นอีก" นางธาริษา กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลของการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของภาคครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในปัจจุบันมีจำนวนไม่มาก โดยครัวเรือนที่มีหนี้ที่อยู่อาศัยมีสัดส่วน 12% ของครัวเรือนทั้งหมด หรือเฉลี่ย อยู่ที่ 396,600 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็น 1.3 เท่าของรายได้ต่อปี ส่วนความเสี่ยงกรณี ที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะผิดนัดชำระหนี้ต่อธนาคารพาณิชย์ ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ หนี้ดังกล่าวมีหลักประกันและธนาคารพาณิชย์ก็มีเงินกองทุนและมีการกันสำรองที่เพียงพอ

ส่วนกรณีที่มีบางฝ่ายเกรงว่า ในปัจจุบัน ธปท.ยังมีการตรวจสอบสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ไม่เข้มงวดเพียงพอ โดยมีการตรวจสอบสินเชื่อเพียงครั้งแรกก่อนการปล่อยสินเชื่อเพียงครั้งเดียวนั้น นางธาริษา กล่าวว่า ตามเกณฑ์ของ ธปท. จะต้องมีการตรวจสอบสินเชื่อ และประเมิน ราคาสินทรัพย์ใหม่ตามเวลาที่กำหนด แต่การตรวจสอบสินเชื่ออาจจะไม่จำเป็นต้องทำทุกกรณี ซึ่งจะตรวจสอบเฉพาะกรณีที่เริ่มมีปัญหาการผ่อนชำระ หรือการผ่อนชำระยังเหลือเวลาอีกค่อนข้างนาน

"สินเชื่อบางกรณี เช่น บัตรเครดิตจะมีการสุ่มตัวอย่างและใช้แบบจำลองในการจรวจสอบวิเคราะห์ สินเชื่อประกอบ และบางกรณี เช่น ลูกหนี้ที่กำลังผ่อนชำระสินเชื่อบ้านเกือบหมดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูหลักประกันอีก นอกจากนี้แบงก์พาณิชย์ที่ปล่อยกู้เขาก็ดูอยู่และมีกฎเกณฑ์มากพออยู่แล้ว"

ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้รายงานปริมาณยอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยว่ายอดคงค้างสินเชื่อ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 มียอด คงค้างทั้งสิ้น 1,21,570 ล้านบาทเพิ่ม ขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 37,900 ล้านบาท ซึ่งธนาคารอาคาร สงเคราะห์มียอดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากที่สุดถึง 443,017 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 13 แห่ง มียอดรวมกัน572,332 ล้านบาท ธนาคารออมสินมียอดคงค้าง110,282 ล้านบาท บริษัทเงินทุนมียอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อบ้านทั้งสิ้น 5,840 ล้านบาท และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มียอดคงค้าง 99 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us