Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 เมษายน 2548
จีนมองจีน : 10 ปัญหาที่คนจีนสนใจมากที่สุด             
 


   
search resources

International
Knowledge and Theory




การประชุมสมัยที่ 3 ของสภาที่ปรึกษาการเมืองรุ่นที่ 10 ได้จัดประชุมระหว่างวันที่ 3 - 9 มีนาคม 2548 และการประชุมสมัยที่ 3 ของสมัชชาผู้แทนประชาชนจีนรุ่นที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 12 มีนาคม 2548 ที่ปักกิ่งได้ปิดฉากลงแล้ว แต่ได้ส่งผลอันใหญ่หลวงต่อประเทศจีนอย่างสนใจ

โดยเฉพาะประเด็นปัญหาที่ประชาชนจีนเป็นห่วงมากที่สุด ซึ่งมีการนำเสนอผ่านสมัชาผู้แทนจีนนั้น สรุปได้ดังนี้

1.เอาใจใส่ความยุติธรรมของสังคมลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย จนถึงปลายเดือนตุลาคม ปี 2004 ค่าครองชีพขั้นต่ำสุดเฉลี่ยทั่วประเทศจีนต่อคนต่อเดือนคือ 159 หยวน ถ้าต่ำกว่าค่าครองชีพ รัฐบาลจีนชะให้ความช่วยเหลือ ประกันค่าเลี้ยงชีพ ปี 2005 รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณ 10,200 ล้านหยวน เพื่อประกันค่าเลี้ยงชีพ และทุ่มงบประมาณ 30 ล้านหยวน สร้างสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ 440 โครงการ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจวและเมืองอื่นๆใช้นโยบาย "รายได้โปร่งใส" สำหรับข้าราชการ รายได้ต้องสอดคล้องกับผลงานทางราชการ สำหรับในชนบท รัฐบาลจีนพยายาม ลดภาษี หลักนโยบายของรัฐบาลจีนต่อชนบทคือ "ให้เยอะ เก็บน้อย ให้อำนาจตัดสินอย่างเสรีอิสระ" 9 เดือนแรกของปี 2004 รายได้ต่อหัวของชาวชนบทอยู่ที่ 2110 หยวน

2.ป้องกันและปราบปรามทุจริต ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2003 ถึง พฤศจิกายน ปี 2004 มีคดีเกี่ยวกับคอรัปชั่นทั้งหมด 162,032 คดี
สอบสวนคดีแล้วเสร็จมี 160,602 คดี ลงโทษไป 164,831 คน สำหรับวิธีแก้ปัญหานี้เสนอไว้ 3 วิธี การปราบปรามคอรัปชั่นต้องคู่กับการปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพล เพราะว่าในหลายพื้นที่กลุ่มคอรัปชั่นกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลมักจะพัวพันกัน ทำให้ผู้ร้องเรียน พยาน ผู้รู้เรื่องตกอยู่ในฐานะอันตราย ประชาธิปไตรเป็นยาวิเศษ ต้องให้สื่อและประชาชนเป็นหูเป็นตา ให้ประชาชนมีสิทธิเลือกคนที่ประชาชนไว้วางใจ วิธีที่สามคือต้องมีความโปร่งใส ไม่ใช่วัวหายแล้วล้อมคอก ต้องใช้วิธีกันดีกว่าแก้ นอกจากบัญชีที่เกี่ยวกับงบประมาณลับของรัฐแล้ว ควรเปิดเผยต่อประชาชนให้ประชาชนมีสิทธิอำนาจตรวจสอบได้

3.ค่าศึกษาเล่าเรียนแพงเกินไป ปัองกันคอรัปชั่นวงการศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเก็บค่าศึกษาเล่าเรียนสูงเกินไป เกษตรกรคนหนึ่งไม่กินไม่ใช้ 13 ปี เลี้ยงนักศึกษาคนหนึ่ง ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา เวลาในห้องเรียนครูไม่ตั้งใจสอน บังคับให้นักเรียนไปกวดเวลา ครูจะสอนสิ่งที่ควรสอนแต่ไม่มีการสอนในห้องเรียน วิธีแก้วิธีหนึ่งคือพยายามส่งเสริมสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของจีน ส่งเสริมให้เอกชนลงทุนในการศึกษาของจีน ครู อาจารย์ที่สอนในโรงเรียน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้รับเงินเดือนสิทธิเท่าเทียมหรือดีกว่าในโรงเรียนของรัฐ

4.แพทย์ขาดแคลน สร้างระบบรักษาสุขภาพที่ดี ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข มีร้อยละ 48.9 ของพลเมืองจีน ขณะเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ไปหาแพทย์ ส่วนใหญ่รอให้หายเอง และมีร้อยละ 29.6 ของคนไข้ควรเป็นผู้ป่วยใน อยู่พักโรงพยาบาลแต่ไม่พัก ค่ารักษาแพงเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด การรักษาพยาบาลของจีนยังเป็นธุรกิจผูกขาด สิ่งที่เร่งด่วนที่สุด ทำลายความผูกขาด ให้โรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนเข้าสู่กลไกการตลาดอย่างเท่าเทียมกัน ให้โรงพยาบาลของรัฐก็เป็นนิติบุคคล กระทรวง กรมสุขภาพไม่แทรกแซงการดำเนินงานของโรงพยาบาล หน้าที่ของกระทรวง กรมคือรับผิดชอบสาธารณสุข เผยแพร่นโยบายสาธารณสุขของรัฐ แก้ไขปัญหาร้องเรียนและแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉิน

5.ดำเนินปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ป้องกันการลั่วไหลของทรัพย์สินรัฐ จวบถึงปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจ 1,464 แห่งได้มีการปฏิรูปกลายเป็นบริษัทหุ้นส่วน คิดเป็น 50.4 %ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด และมีรัฐวิสาหกิจกว่า 1000 รัฐวิสากกิจเข้าสู่ตลาดหุ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือป้องกันการลั่วไหลของทรัพย์สินรัฐ และต้องเอาผิดกับพวกที่จงใจให้ทรัพย์สินรัฐเข้ากระเป๋าส่วนตัวให้ได้ ในขณะเดียวกันต้องเอาใจใส่กับคนที่ถูกปลดจากการปฏิรูปนี้ด้วย เพราะมีคนไม่น้อยเคยทุ่มเทให้กับรัฐวิสาหกิจทั้งกายและใจเป็นเวลานาน สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติมากมาย แต่เมื่อถูกปลดจากงาน ต้องได้รับการดูแลจากรัฐ

6.บริหารงานรัฐชอบธรรมด้วยกฎหมาย เป้าหมายของการบริหารงานรัฐไม่ได้อยู่ที่บริหารหรือปกครองประชาชน เป้าหมายสูงสุดของการบริหารงานรัฐคือบริหารประเทศเพื่อความสุขของประชาชน ดังนั้นผู้บริหารต้องเรียนรู้กฎหมาย บริหารประเทศ บริหารงานด้วยกฎหมาย

7.ให้ความสำคัญแก่จดหมายร้องทุกข์ แก้ไขปัญหาเดือนร้อนของชาวบ้าน กฎระเบียบว่าด้วย "จดหมายร้องทุกข์"จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมปี 2005 กฎระเบียบนี้จะส่งเสริมและตรวจสอบการปฏิบัติงานต่อจดหมายร้องทุกข์อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาคือจดหมายร้องทุกข์ไม่ถือมือผู้นำ ผู้นำตาบอดหูหนวก ประชาชนร้องไห้ จดหมายไม่ตรวจสอบ เหล่าข้าราขการไม่กลัว

8.ปราบปรามฉ้อโกง หลอกลวง สินค้าปลอม สร้างความน่าเชื่อถือในสังคม หลายปีที่ผ่าน วุฒิการศึกษาปลอม ตัวเลขเทียม ทุจริตเวลาสอบ กู้เงินแล้วไม่คืน สินค้าปลอมมากมาย ทำให้ความน่าเชื่อถือของสังคมอยู่ในวิกฤติ จนประชาชนไม่กล้าใช้เงินซื้อของ แม้ธนบัติยังมีปลอม ผู้ขายของเวลารับเงินต้องตรวจดูแล้วตรวจดูอีก

9.รักษาศักดิ์ศรีของกฎหมาย สร้างความยุติในสังคม คนที่ปฏิบัติงานทางด้านยุติธรรมในท้องถิ่นต้องดูสีหน้าของผู้นำท้องถิ่น ทำให้คดีต่างๆได้รับการแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร ทำให้กฎหมายลดหรือหมดความศักดิ์ศรี ทำให้ประชาชนหมดสิทธิต่อสู้ตามกฎหมายอย่างเที่ยงธรรม และทำให้ประชาชนต้องใช้วิธีอธรรมต่อธรรม

10.ที่อยู่อาศัยในเมืองคับแคบ ราคาสินค้าขึ้นสูงเกินไป ในปี 2004 ราคาบ้านจัดสรรขึ้นราคาร้อยละ 10.8 บ้านเพื่ออยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 คาดกว่าปี 2005 อัตราเพิ่มจะสูงกว่าปี 2004 เมื่อบ้านจัดสรรขึ้นราคา ทำให้สินค้าอย่างอื่นก็ขึ้นราคาตามด้วย ทำให้ประชาชนผู้มีราคาต่ำเดือนร้อน ปี 2004 ราคาสินค้าบริโภคเฉลี่ยเพิ่มร้อยละ 3.9 คาดการณ์ว่าปี 2005 เหล็ก ปูนซิเมน น้ำมันปิโตเลียมและสินค้าที่ทำจากน้ำมันปิโตเลียมจะขึ้นราคาอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ปุ๋ย ยาเคมีการเกษตร และ ใยสังเคราะห์จะขึ้นราคาอีก มีแต่รถยนต์จะลดราคา แต่ปริมาณขายจะเพิ่ม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us