|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เสื้อผ้าจากผู้ผลิตไทย ถึงยุควิกฤต ! จีนส่งมือดี “ก๊อปปี้”ลายพิมพ์ผ้าไทย และผลิตเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปเข้ามาตีตลาดไทย ด้วยราคาที่ถูกกว่า 50-90% ทันทีที่สินค้าไทยวางขายในตลาด ด้านนายกสมาคมฟอกย้อมฯ ชี้ พ่อค้า แม่ค้าไทย จะอยู่รอดได้ ต้องยกระดับการผลิต ปรับปรุงคุณภาพ สร้างเอกลักษณ์สินค้า “ ก.พาณิชย์ “ ตื่น เตรียมระดมสมองแก้วิกฤตในเดือนมิ.ย.นี้
ผู้ประกอบการและเจ้าของร้านค้าในตลาดโบ๊เบ๊ ปัจจุบันประสบปัญหาในเรื่องการผลิตและการขายเสื้อผ้ามากขึ้น จนบางร้านทนแบกรับภาระไม่ได้ต้องปิดตัวเอง และหันไปประกอบอาชีพอื่น
“เสื้อผ้าจากจีนเข้ามาตีตลาดไทย ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว แต่พ่อค้า แม่ค้า ก็ยังทนสู้ต่อได้
เพราะเรามีแบบและลายพิมพ์ผ้าที่ตลาดต้องการ แต่วันนี้ทุกอย่างเรากำลังถูกจีนส่งคนมาก็อปปี้ไปหมด ” พ่อค้า แม่ค้า ย่านโบ๊เบ๊ ระบุ และบอกด้วยว่า ตลาดเสื้อผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยถูกแย่งชิงเห็นได้จากยอดขายส่งและปลีกที่ลดลงกว่า 80%
การที่จีนเข้ามาแย่งตลาดไทยได้นั้น นอกจากจะมาจากปัญหาต้นทุนการผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงและเทคโนโลยีในการผลิตที่สินค้าในปริมาณเท่ากันทางไทยใช้เวลาในการผลิตเป็นเดือนขณะที่จีนใช้เวลาไม่ถึง3วันแล้ว และเมื่อจีน สามารถลอกเลียนแบบและสามารถพิมพ์ลายผ้าได้เหมือนของไทยทุกอย่างแต่ราคาของจีนกลับถูกกว่า 50 – 90 %
แฝงภัยในรูปแบบนักท่องเที่ยว
พ่อค้า แม่ค้า กล่าวด้วยว่า เดิมคนไทยจะสั่งซื้อผ้าดิบจากเมืองจีน จากนั้น จะนำมาพิมพ์ลายต่าง ๆกันเอง ซึ่งแบบลายผ้าของไทย จะมีจุดเด่น เมื่อเทียบกับเสื้อผ้าจากจีน ดังนั้นในช่วงแรก ๆ แม้สินค้าของจีนจะทะลักเข้ามา ก็ยังไม่เป็นปัญหาเท่าทุกวันนี้
“วันนี้สินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาลายพิมพ์ผ้าก็เหมือนของเรา ไม่ว่าเราจะออกลายพิมพ์อะไร เขามีพร้อมวางตลาดได้เลย แต่ราคาถูกกว่าเรา ”
พวกเขา ระบุว่า กระบวนการลอกเลียนแบบ ในยุคแรกๆ จีนจะจัดส่งคนเข้ามาในรูปแบบของนักท่องเที่ยวมาเลือกซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้า ก่อนที่จะทำไปลอกเลียนแบบและส่งกลับมาขาย ซึ่งกระบวนการดังกล่าวใช้เวลาไม่เกินสองอาทิตย์ ขณะที่ปัจจุบันขบวนการดังกล่าวได้มีการพัฒนารูปแบบไม่ว่าจะเป็นให้คนสัญชาติเดียวกันและมีคนไทยร่วมขบวนการขายผลงานภูมิปัญญาของคนในชาติ ด้วยการจัดซื้อและส่งขึ้นไปเพราะจะได้ทำการลอกเลียนแบบได้ทันกับลวดลายใหม่ๆที่มีการผลิตออกมา แม้ทางร้านค้าจะได้พยายามสอดส่องแต่ก็ไม่สามารถป้องกันกระบวนการดังกล่าวได้
ทั้งนี้เพราะขบวนการลอกเลียนแบบมีการสับเปลี่ยนหมุนคนที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้า และจากนั้นก็นำไปผลิตและส่งเข้ามาขาย และนี่คือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้พ่อค้าแม่ค้า ไม่สามารถขายสินค้าได้และต้องแบกภาวะขาดทุนซึ่ง ผู้ประกอบการบางส่วนหยุดกิจการ ขณะที่บางรายต้องปรับไปทำกิจการอย่างอื่นแทน
การเกงยีนส์ปักเลื่อมจีนถูกกว่า 400%
ลีน่า จังจรรจา อดีตผู้ประกอบการผลิตและขายส่งกางเกงยีนส์ปักเลื่อมรายใหญ่ของประตูน้ำ ได้เล่าถึงประสบการณ์ตรงว่าที่ผ่านมาลูกค้าที่เคยสั่งออเดอร์กางเกงยีนส์ปักเลื่อมจากร้านค้าของเธอมีทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าประจำจากแคนาดา ตะวันออกกลางจนกระทั่งเกิดขบวนการลอกเลียนแบบสินค้าเป็นล่ำเป็นสัน
“ยังไงก็สู้ไม่ได้เลย กางเกงยีนส์ปีกเลื่อมที่ทำขายในไทยราคาเกือบ 500 บาท จีนทำลงมาเหมือนเราได้ในราคาแค่ 100 กว่าบาท ขณะที่ของราคา 100 บาทเท่ากัน ไทยทำได้แค่ธรรมดาๆ ขณะที่ 100 บาทจากจีนทำได้สวยหรูหรามาก”
เธอบอกว่าผู้ประกอบการคนไทยรอดตายจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นยาก เพราะคนลอกเลียนแบบทำได้เก่งมากและทำได้เร็วด้วย ทางออกของปัญหาเพียงอย่างเดียวคงจะต้องสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและเกิดความนิยมในการซื้อของแท้ แต่ต้องใช้ทุนมหาศาล ถ้ารัฐไม่สนับสนุนอย่างจริงจังจะมีซักกี่คนที่ไปถึงตรงนั้นได้
“พาณิชย์” ระดมทีมแก้ปัญหา
ด้านปิลันธ์น ธรรมมงคล นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่งสิ่งทอไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมฯรับทราบปัญหาดังกล่าวมาตลอด แต่มองว่าแม้ว่ายอดส่งออกผ้าผืนหรือเสื้อผ้าแมสจะลดลง แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นผลบวกแก่วงการธุรกิจสิ่งทอไทยที่จะต้องมีการปรับตัวไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าในอีกระดับหนึ่งซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากขบวนการลอกเลียนแบบ เนื่องจากผู้ผลิตไทยมีข้อได้เปรียบเรื่องการสร้างสรรค์ การออกแบบรวมความใส่ใจในกระบวนการผลิตไปถึงตลาดต่างชาติเองก็ยังเชื่อมันในคุณภาพสินค้าที่ออกมาจากประเทศไทยว่าเป็นสินค้าคุณภาพที่มีระดับที่เหนือกว่า ดังนั้นวิกฤตในครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจสิ่งทอไทยโดยจะทำหน้าที่เป็นตระแกรงคัดกรองคนที่ไม่พัฒนาตนให้มีการปรับปรุงให้มีคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ยกระดับยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี ปัญหาการลอกเลียนแบบลายพิมพ์ผ้าไทยนั้น ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เองไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา กรมฯได้ หารือกับนายกสมาคมธุรกิจการพิมพ์สกรีน เพื่อรับทราบวิกฤตที่เกิดขึ้น และได้ข้อสรุปจะมีการ เรียกประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น จาก 3 ฝ่ายในช่วงเดือนมิ.ย.นี้ ประกอบด้วย ฝ่ายโรงงานผู้ผลิตผ้า, ดีไซน์เนอร์ผู้ออกแบบลวดลาย และ กลุ่มธุรกิจการพิมพ์ทำสกรีน เพื่อหาทางออกต่อปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งจะร่วมมือกันยกระดับสินค้าพิมพ์ลายผ้าไทยและธุรกิจสิ่งพิมพ์สกรีนไทยด้วย
|
|
 |
|
|