Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 กรกฎาคม 2548
เปิดลายแทงลงทุน 10 เมืองในจีน “เกษตร-อุตสาหกรรม” รอทัพธุรกิจไทย             
 


   
search resources

Investment
International




เผยสินค้าไทย ที่จีน ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการมาก ทั้งที่ปักกิ่ง เซียงไฮ้ เสฉวน กวางโจว ยูนาน ธิเบต หูหนัน หูเป่ย ชันตง เจียงซี ฯลฯ ขณะเดียวกันยังมีอุตสาหกรรมบางประเภท ที่ต้องการให้คนไทยเข้าไปลงทุน

ข้อมูลจากสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ชี้โอกาสทองของนักธุรกิจต่างชาติในการทำการค้า และการเข้าไปลงทุนไปในประเทศจีนตามความต้องการของแต่ละมณฑลทั้งในด้านสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แม้ว่าจีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่เหมาะทำการเกษตร ทั้งการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอันเนื่องมากจากนโยบายในการพัฒนาประเทศ ทำให้ผลผลิตโดยรวมลดลงในแทบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นข้าว ถั่วลิสง หรืออ้อยใน ขณะที่ความต้องการบริโภคอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ทั้งภาคเมืองและภาคชนบท

ซันซีต้องการสินค้าเกษตรเพิ่ม 20%

มณฑลซันซีที่ตั้งอยู่ทางเหนือ แม้จะมีพื้นฐานการเกษตรที่เข้มแข็ง สามารถปลูกพืชประเภทข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง มันฝรั่ง บัควีท และถั่ว แต่ก็ยังมีความต้องการสินค้าเกษตรที่ไม่สามารถผลิตได้อย่างข้าว ผักผลไม้เมืองร้อนเช่นกัน โดยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปีที่ผ่านมา

คนเสฉวนชอบข้าวไทย

มณฑลเสฉวนแม้จะมีพื้นที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพที่สามารถเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารที่หลากหลาย แต่จำนวนประชากรที่มากถึง 87 ล้านคน ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรสูง ทั้งที่สินค้าเกษตรไทย เมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นจะมีราคาที่สูงกว่า แต่คนเสฉวนมีทัศนคติในทางบวกกับสินค้าเกษตรจากไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ทำให้นักธุรกิจไทยมีโอกาสที่สดใสในมณฑลนี้

9พื้นที่ต้องการมันสำปะหลัง

จีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตกปีละ 6.6 ล้านตัน แต่สามารถผลิตในประเทศได้เพียง 3.75 ล้านตัน โดยจะนำไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นแป้งมัน แป้งมันสำเร็จรูป การนำไปผลิตแอลกอฮอล์ และใช้เป็นแป้งในอุตสาหกรรมเคมี โดยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี และไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของจีนในผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแทบทุกประเภท

โดยแต่ละพื้นที่จะมีความต้องการมันสำปะหลังที่แตกต่างกัน ที่มณฑลกว่างซี ยุนนาน อันฮุย เหอหนัน หูเป่ย เสฉวน และ กันซู ต้องการมันสำปะหลังเพื่อการเลี้ยงสัตว์คือจะใช้เป็นอาหารเสริมในการเลี้ยงหมู ขณะที่มณฑลเซียงไฮ้ และซันตง ต้องการมันสำปะหลังเพื่อไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้น โอกาสการที่นักธุรกิจไทยจะขยายตลาดไปยังจีนจึงมีสูงมาก จากการประมาณความต้องการมันสำปะหลังคาดว่าตลาดจีนน่าจะต้องการมันสำปะหลังไม่น้อยกว่าปีละ 5 – 10 ล้านตัน ในช่วง 10 ปีข้างหน้า

เหอเหลียงเจีย จีหลิน ต้องการอิเล็กทรอนิกส์ไทย

ไทยผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ต่าง ๆ เพื่อการส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่ง ไปยังจีนโดยมีสินค้าที่ต้องการเป็นชิ้นส?วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น

เซมิคอนดักเตอร? แผงวงจรไฟฟ?า และ Hard Disk Drive (HDD) โดยมีมูลค่ารวมนับแต่เดือน ม.ค.-พ.ค. 1,192 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนถึงร้อยละ 73.95 โดยมีเมืองที่มีความต้องการสูง คือเมืองที่เป็นเขตอุตสาหกรรมสารสนเทศเช่น เฮยหลงเจียง จี๋หลิน และ เสฉวน

จีนต้องการยางพารารองรับการขยายตัว

แม้ว่าจีนจะมีความสามารถในการผลิตยางพาราใช้เอง แต่ไม่เพียงพอกับการบริโภคที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 เพื่อใช้ในการผลิตยางรถยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้างต่าง ๆ จากพื้นที่การผลิต 3.86 ล้านไร่ ทำให้มีกำลังการผลิตเพียง 0.5 ล้านตัน ขณะที่การบริโภคสูงถึง 1.5 ล้านตัน ทำให้จีนมีความต้องการในการนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศ

สำหรับยางพาราจากประเทศไทยนั้นได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพโดยเมืองที่มีศักยภาพและต้องการสินค้ายางพาราไทย ได้แก่ เฮยหลงเจียง ที่เป็นเขตการค้ากับรัสเซียตลอดจนคนในพื้นที่มีกำลังซื้อสูง จี๋หลินที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ เป็นเมืองท่า และรัฐเน้นพัฒนาเทคโนโลยีตลอดจนการคมนาคม มณฑลเทียนจินที่เป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองท่าสำคัญและเป็นแหล่งสินค้าผลิตรถยนต์ เมืองคูนหมิง มณฑลยุนนาน ที่เป็นเมืองที่ภาคอุตสาหกรรมกำลังเติบโต และเมืองหลันโจว มณฑลกันซู่ ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจวที่เป็นแหล่งนำเข้ายางพาราจากไทย

7 เมืองใหญ่ต้องการเม็ดพลาสติก

จีนเป็นประเทศที่ไทยส่งออกเม็ดพลาสติกมากเป็นอันดับสอง มีมูลค่าการส่งออก นับจากช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ของปีนี้ จำนวน 300.87 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเม็ดพลาสติกถือเป็นสินค้าปฐมภูมิที่ใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตอุตสาหกรรมอื่น แม้จีนจะมีความสามารถในการผลิตเช่นกันและมีข้อดีที่ค่าแรงถูก แต่ด้วยอัตราต้นทุนการผลิตที่สูงถึงร้อยละ 80 ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีมณฑลที่มีความต้องการจากไทยนั้นจะเป็นมณฑลที่เป็นเขตอุตสาหกรรมได้แก่ จี๋หลิน เหลียวหนิง เทียนจิน ในภาคเหนือ ชานตง เจียงซู เจียงซี อันฮุยในภาคตะวันออก

พื้นที่ลงทุนด้านอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ดีการเข้าไปลงทุนเพื่อทำธุรกิจและอุตสาหกรรมในจีนนั้น ปัจจุบันนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในจีนเป็นอันดับที่ 18 ของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิต เช่นชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งภายใน เครื่องจักรกลการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ การผลิตยาสมุนไพร การบรรจุหีบห่อและภาคบริการ เช่นร้านอาหารไทย และในส่วนของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างสาธารณูปโภค ทั้งนี้เพราะจีนกำลังขยายความเจริญจากเขตเมืองไปสู่ภาคตะวันตกของประเทศ

ขณะเดียวกันจีนมีความต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่นถ่านหิน เพื่อนำมาใช้ในรูปของพลังงานและการแปรรูปต่าง ๆ ซึ่ง มีพื้นที่ที่เปิดรับนักลงทุนในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นซันซี มองโกเลียใน อันฮุย เจียงซี เหอหนัน ส่านซี และมีการต้องการลงทุนในพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานลมที่ ธิเบต และหูหนัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us