|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ฮาตาริ แตกไลน์ ธุรกิจ เปิดบริษัท อิเล็คทรอนิค เพย์เมนท์ เติมเงินล่วงหน้าแทนบัตรพลาสติก ผ่านเครื่อง อี-เพย์ คาดเป็นช่องทางใหม่ของธุรกิจพรีเพดที่จะเข้ามาทดแทนบัตรพลาสติก ด้วยกระแสความนิยม ชูจุดขาย เจ้าของสินค้าไม่ต้องมีต้นทุน ในการพิมพ์บัตร ช่องทางจำหน่ายไม่ต้องสต๊อกบัตร เตรียมเปิดตัวด้วยช่องทางจำหน่ายกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศในสิ้นปีนี้
นายวิชัย วนวิทย์ Chief Operating Officer บริษัท อิเล็คทรอนิค เพย์เมนท์ เน็ทเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ฮาตาริ มีการแตกไลน์ธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นอีกธุรกิจหนึ่งเป็นผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าแบบเติมเงินล่วงหน้าหรือพรีเพดแทนบัตรพลาสติกด้วยเครื่องอี-เพย์ ในนาม อิเล็คทรอนิค เพย์เมนท์ (ประเทศไทย)
ที่ผ่านมาฮาตาริมีการดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัท ฮาตาริ เทคโนโลยี เป็นผู้จัดจำหน่ายบัตรโทรศัพท์ ระหว่างประเทศให้กับการสื่อสาร และบริษัท ฮาตาริ ไวย์เลสเป็นผู้วาง ระบบไอที และสื่อสาร รวมทั้งเป็นช่องทางการจำหน่ายระบบอินเทอร์-เน็ตผ่านดาวเทียมไอพีสตาร์ของ ชินแซทเทลไลน์
อิเล็คทรอนิค เพย์เมนท์ (ประเทศไทย) ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจใหม่ ใช้ทุนจดทะเบียน 32.5 ล้านบาท ซึ่งจะมีการเพิ่มทุนเป็น 200 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ หุ้นส่วนใหญ่ ของอิเล็คทรอนิค เพย์เมนท์ เป็นของคนไทยที่ซื้อหุ้นในฮาตาริ ประเทศไทยประมาณ 70% ส่วนอีก 30% เป็นหุ้นส่วนจากอี-เพย์ ประเทศมาเลเซีย
นางสาวนภาพร วิไลกิจ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อิเล็คทรอนิค เพย์เมนท์ กล่าวว่า อี-เพย์เป็นระบบการเติมเงินที่ได้รับความนิยมอย่างมากในทั่วโลก มีการใช้งานแล้วประมาณ 10 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่นำมาเปิดตัวในครั้งนี้ ความแพร่หลาย ของอี-เพย์เห็นได้จากจำนวนการใช้จ่ายผ่านเครื่อง อี-เพย์กว่า 60 ล้านครั้งต่อเดือนทั่วโลก หรือประมาณ 45% ของการใช้จ่ายผ่านทางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเป็นการใช้ผ่านอี-เพย์
รูปแบบการใช้บริการอี-เพย์ ลูกค้าไปตามช่องทางการจัดจำหน่าย ที่มีเครื่องอี-เพย์ติดตั้ง บอกประเภท สินค้าที่ต้องการซื้อ เช่น บัตรโทรศัพท์ หรือบัตรอินเทอร์เน็ต เครื่องจะทำการพรินต์รหัสเช่นเดียว กับที่ได้จากบัตรเติมเงินประเภทต่างๆ เพียงแต่ลูกค้าค้าไม่รูดหน้าบัตร สามารถนำรหัสนั้นมาใช้งานได้ทันที
อี-เพย์ ให้บริการกับสินค้าแบบเติมเงินล่วงหน้า เช่น บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ชั่วโมงอินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ ออนไลน์ คอนเทนต์ เริ่มจากการมีสินค้าเข้าร่วมแล้วกว่า 16 รายการ และพันธมิตรติดตั้งเครื่องแล้วกว่า 300 จุด โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะขยาย จุดให้บริการเป็น 2,000 จุด ทั่วประเทศ พร้อมเพิ่มจำนวนสินค้าให้ มากกว่า 100 รายการ โดยมีแนวทาง ที่จะเป็นพันธมิตรกับเชนใหญ่ อย่างวัตสัน ร้านบู๊ทส์ ซีเอ็ด และปั๊มน้ำมัน ยี่ห้อต่างๆ
"หลายคนมองว่าอี-เพย์จะเข้า มาแข่งขันกับบัตรพลาสติกของธุรกิจพรีเพดต่างๆ เช่น บัตรเติมเงิน ของโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือ แต่ผู้บริหารอี-เพย์มองว่าเป็นธุรกิจ ที่เข้ามาเสริมกับบัตรพลาสติกมากกว่า"
จุดขายของอี-เพย์จะอยู่ที่ความเหมือนของการใช้งานบัตรเติมเงินประเภทต่างๆ ที่มีเลขรหัส วันหมดอายุและอื่นๆ แต่ลูกค้าไม่ต้องเก็บบัตร โอเปอเรเตอร์หรือเจ้าของสินค้าก็ไม่ต้องพิมพ์บัตรซึ่งเป็นต้นทุนของสินค้าอีกประเภทหนึ่ง แต่สามารถส่งพินท์นัมเบอร์ให้กับอี-เพย์ ผ่านทางดิสเกต เพื่อออกรหัสให้กับลูกค้าได้เลย ขณะที่ร้านค้าก็ไม่ต้องมีต้นทุนในการสต๊อกบัตรพรีเพดไว้ก่อน ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง เพราะสามารถจำหน่ายรหัสให้กับลูกค้าที่มาซื้อผ่านทางการกดเครื่องอี-เพย์ ตัวเลขรหัสจะออกมาเช่นเดียวกับสลิปกดบัตรเครดิต
เป้าหมายการให้บริการอี-เพย์อยู่ที่โอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือในเมืองไทย เพราะจะทำให้โอเปอเร-เตอร์เหล่านั้นไม่ต้องมีต้นทุนในการ พิมพ์บัตร แต่ขณะเดียวกันก็ต้องแข่งกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเมืองไทยโดยเฉพาะนักสะสมบัตร ที่ต้องการเก็บบัตรพรีเพดไว้เป็น ที่ระลึก
"เรามองเห็นโอกาสในการทำตลาด อี-เพย์ ในเมืองไทย ยังไปได้อีกไกล เริ่มจากการเจรจากับ โอเปอเรเตอร์ทุกค่าย ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3 ของปีนี้จะได้ลูกค้าเป็นโอเปอเรเตอร์ 1 รายก่อนครบทุกราย ในอนาคต ซึ่งนอกจากโอเปอเรเตอร์ โทรศัพท์มือถือแล้วด้วยความทันสมัยของระบบยังเปิดกว้างกับธุรกิจ ดิจิตอลคอนเทนต์ทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างการซื้อขายเพลงออนไลน์ ที่อยู่ในระหว่างการพูดคุยกับค่ายอาร์.เอส.ฯด้วยเช่นกัน"
อี-เพย์ คาดว่าปีแรกจะทำรายได้ประมาณ 200 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักคือโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเว็บไซต์ที่ให้บริการฟังเพลงที่ต้องการ เก็บค่าบริการลูกค้า หรือเล่นเกมผ่านเว็บไซต์
ปัจจุบันอี-เพย์รับชำระเป็นเงินสด และอยู่ในระหว่างการประสานงานกับบัตรเครดิต KTC, SCB, BOA เพื่อให้เครื่องอ่านอี-เพย์ สามารถใช้รูดบัตรเป็นการชำระเงินได้ด้วย
ฮาตาริ ตั้งเป้ารายได้จากบริษัท ฮาตาริ เทคโนโลยีประมาณ 300 ล้านบาท จากบริษัท ฮาตาริไวย์เลสประมาณ 400 ล้านบาท และ บริษัท อิเล็คทรอนิค เพย์เมนท์ เน็ตเวิร์ค ที่เพิ่งเปิดตัวขึ้นใหม่ประมาณ 200 ล้านบาท
|
|
|
|
|