Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2548
ปรับยุทธศาสตร์การค้าไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงพาณิชย์

   
search resources

กระทรวงพาณิชย์
Investment




ไทยรื้อยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศใหม่หมดรับมือโลกาภิวัตน์ ลดการพึ่งตลาดสหรัฐฯ อียู และญี่ปุ่น หันทำการค้ากับ จีน อินเดีย และรัสเซียให้มากขึ้น พร้อมประกาศจุดยืนประเทศไทยมุ่งผนึกกำลังอาเซียนแทนเดินลุยคนเดียว เชื่อทำให้ไทยมีบทบาทในเวทีภูมิภาคและเวทีโลกเพิ่ม "สมคิด" สั่งจัดเวิร์กชอปเดือนก.ย.นี้ พร้อมเปิดตัวยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของไทย

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการจัดทำยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ตามที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมาย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว. พาณิชย์ จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุม เชิงปฏิบัติการ(เวิร์กชอป) ในเดือน ก.ย.48 เพื่อกำหนดจุดยืนของประเทศไทยในเวทีโลก และจะมีการเปิดตัวยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุน ในวันนั้นด้วย

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้เบื้องต้น ไทยจะปรับบทบาทตัวเองใหม่ เนื่องจากปัจจุบันนี้ไทยเล็กมากเมื่อเทียบกับโลก โดยในด้านการค้าไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกเพียง 1.07% เพิ่มขึ้น .78% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อยู่อันดับที่ 23 ขณะที่จีน 20 ปีที่แล้วมีส่วนแบ่ง 1-2% แต่ปัจจุบันมี 5-6% ถ้ารวมฮ่องกงเป็น 7% ส่วนด้าน การลงทุนก็ต่ำมาก ไทยมีการลงทุนจากต่าง-ประเทศ 0.003% เป็นอันดับที่ 20 ซึ่งทั้งภาคการ ค้าและการลงทุน 10 อันดับแรกก็กินสัดส่วนไปแล้วกว่า 50%

"ต้องปรับใหม่หมด ทั้งวิธีคิดและวิธีทำงาน โดยยุทธศาสตร์ที่จะทำกันในวันนั้นจะชัดว่า จุดยืนของไทยในเวทีโลกจะเป็นอย่างไร จะทำให้ประเทศเล็ก ใหญ่ขึ้นอีกได้ยังไง" นายสุวิทย์กล่าว

นายสุวิทย์กล่าวว่า ในด้านการค้า การบ้าน ที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายทนง พิทยะ อดีตรมว.พาณิชย์ และนายสมคิดรับไปทำ ก็คือ ทำอย่างไรให้ไทยได้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ที่ว่าจากนี้ไปไทยจะไม่พึ่งพาตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (อียู)และญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว แต่จะเพิ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเข้ามา คือ จีน อินเดียและรัสเซีย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งของไทยในตลาดโลก และสร้าง ความมั่นคงให้กับตลาดส่งออก

ส่วนวิธีการที่จะทำให้การค้าการลงทุนมีความคล่องตัว โดยเฉพาะการเปิดเสรี และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคส่งออก ไทยยังคงให้ความสำคัญกับการเจรจาในองค์การการค้าโลก (WTO) เพราะถือว่าดีที่สุด แม้จะช้าที่สุด แต่จะให้ความสำคัญกับอาเซียนมากขึ้น โดยจะร่วมมือกับอาเซียนในการดำเนินนโยบายการค้าการลงทุนต่างๆ ส่วนในกรอบของข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ไทยจะถอยออกมาและจะทำเท่าที่มีอยู่และที่ยังเจรจาไม่จบ

"นายสมคิดจะประกาศจุดยืนประเทศไทยในเร็วๆ นี้ โดยจากนี้ไป จะไม่มองแค่ไทย แต่ไทยจะใช้อาเซียนเป็นตัวนำ (Lead) โดยจะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆ ในนามอาเซียน เพราะถ้าทำเช่นนี้ ไทยจะใหญ่ขึ้น และจะเข้าไปมีบทบาท ในเวทีโลกได้มากขึ้น อย่าง FTA ก็จะทำในนามอาเซียน เช่น อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-อียู เป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้ ไทยจะมีบทบาทในภูมิภาคได้มากขึ้น" นายสุวิทย์กล่าว

นายสุวิทย์กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการปรับบทบาทประเทศไทยในเวทีการค้าโลกแล้ว ไทยจะปรับรูปแบบการทำการค้าระหว่างประเทศ ใหม่ด้วย โดยมีทั้งสิ้น 4 รูปแบบ คือ ไทยจะไม่มองการค้าเฉพาะแค่ภายในประเทศ (In-In) เพราะตลาดไทยเล็ก มีประชากรแค่ 63 ล้านคน แต่ไทยจะนำวิธีคิดของอาเซียนมาใช้ โดยมองตลาดอาเซียนให้เป็นตลาดภายในประเทศของไทย เพราะภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ภาษีสินค้าจะเหลือ 0% ในที่สุด อีกทั้งอาเซียน มีแนวคิดตลาดเดียว ไทยจะใช้ประโยชน์จากอาเซียนใน 2 ลักษณะ คือ เป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบและแรงงาน และใช้เป็นตลาดส่งออก

รูปแบบที่สอง การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ (In-Out) โดยจะปรับรูปแบบการขายสินค้าจาก FOB เป็น CIF ให้มากขึ้น โดยจะมีการเร่งพัฒนาระบบลอจิสติกส์ ทั้งการพัฒนา พาณิชยนาวี การประกันภัยในการขนส่งสินค้า การปรับระบบการออกสินค้าของกรมศุลกากร การแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการคืนภาษีอากรมาตรา 19 ทวิ รวมทั้ง จะมีแนวทางใหม่ๆ ในการ ส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ เช่น การพัฒนา ระบบแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย การจดทะเบียนสิทธิบัตรในเทคโนโลยีและขายสิทธิ์ หรือการเข้าไปซื้อกิจการหรือร่วมทุนในธุรกิจที่ผลกำไรดี

รูปแบบที่สาม การทำการค้าแบบ Out-In โดยการดึงการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างประเทศเข้าไทย ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบโครง สร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการท่องเที่ยวและการลงทุนใหม่หมด โดยเฉพาะในภาคการลงทุนจะปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัย เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองอาชีพสงวน การพัฒนากฎหมายการแข่งขันทาง การค้า หรือการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการเปิดโรงเรียนนานาชาติ

ส่วนรูปแบบสุดท้าย เป็นแนวคิดที่จะผลักดันให้ไทยออกไปทำธุรกิจในลักษณะ Out-Out เพราะเป็นแนวโน้มการทำธุรกิจในอนาคต เนื่องจากโลกาภิวัตน์จะทำให้การค้าและบริการทำได้อย่างไม่มีพรมแดน ซึ่งที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ เช่น การทำอี-คอมเมิร์ซของ e-bay การให้บริการบัตรเครดิต VISA Mastercard และ AMEX ซึ่งอนาคตไทยจะต้องใช้แนวคิดนี้ในการทำธุรกิจ ให้มากขึ้น โดยทำตัวเป็น Broker ให้กับประเทศ อื่นๆ ในการขายสินค้า

นายสุวิทย์กล่าวว่า เร็วๆ นี้ สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยจะมีนายสมคิดเป็นประธาน ซึ่งแนวทางทำ งานจะเน้นการรับมือกับโลกาภิวัตน์ ทั้งการ ปรับยุทธศาสตร์ที่จะต้องเชื่อมโยงกัน โดยนำยุทธศาสตร์การค้าลงไปสู่ภาคปฏิบัติ เนื่องจากเกี่ยวโยงกับหลายกระทรวง จากนั้นจะไปดูในเรื่องของการพัฒนาคน เทคโนโลยีเข้ามารองรับ

"ถ้าทำได้ตามนี้ ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเป็นฮับในภูมิภาคได้ไม่ยาก เพราะไทยจะเด่น ที่สุดทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว" นายสุวิทย์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us