Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 สิงหาคม 2548
ดุลการค้า - ดุลบัญชีเดินสะพัดโจทย์ที่แก้ไม่ตก?             
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
อัจนา ไวความดี
Economics




กระแสคลื่นยักษ์ที่เข้ามาถล่มเศรษฐกิจประเทศไทยนั้นมิได้มีเพียงคลื่นสึนามิ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงภัยแล้งที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นจนสร้างความเสียหายให้ภาคการเกษตร ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รากยาวเกินกว่าบอกได้ว่าเรื่องนี้จะยุติเมื่อไร รวมถึงราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นสูงต่อเนื่องและไม่มีท่าทีว่าจะลดลงในเร็ววัน ปัจจัยทั้งหมดนี้ล้วนอยู่เหนือการควบคุม จึงไม่แปลกใจถ้านักลงทุนและผู้บริโภคจะเกิดอาการหนาว ๆ ร้อน ๆ จับทิศทางเศรษฐกิจไม่ถูก

ในเรื่องของน้ำมันทุกประเทศที่ไม่ใช่ผู้ส่งออกล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน ดังนั้นในเรื่องนี้จึงไม่เป็นความได้เปรียบหรือเสียเปรียบมากนักต่อการแข่งขันในภาคธุรกิจ เพราะเกือบทุกประเทศที่นำเข้าน้ำมันล้วนเผชิญปัญหาเดียวกันหมด ผิดแต่ไทยเจอกระแสคลื่นยักษ์หลายลูกเข้ามากระทบเหมือนโรคซ้ำกรรมซัดจนทำให้เศรษฐกิจออกอาการป่วย

อัจนา ไวความดี ผู้ช่วยว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ประเทศไทยเหมือนผีซ้ำด้ำพลอย เจอคลื่นหลายลูกเข้ามากระแทกในระยะ เวลาใกล้ ๆ กัน นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 จนสิ้นไตรมาส 2 ปี 48 และในไตรมาส 1 นั้นถือว่าไทยได้รับผลกระทบโดยตรงจาก สึนามิ โดยเฉพาะเรื่องท่องเที่ยว แต่ปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นก็เพียงทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นที่เรียกว่า "ถดถอย" ซึ่งเห็นได้จากอัตราการเติบโต GDPไตรมาสแรกอยู่ที่ 3.3% เป็นตัวเลขที่น่าพอใจสำหรับไทยที่มีเหตุการณ์หลายอย่างเข้ามากระทบ

แม้แบงก์ชาติจะพอใจกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แต่ตัวแปลที่สำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวโดยหลักมาจากราคาน้ำมันซึ่งมีแนวโน้มว่ายังคงตัวอยู่ในระดับสูงอีก 2-3 ปี และผลกระทบจากราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยเกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งเป็นการขาดดุลที่เกิดขึ้นเร็วกว่าและสูงกว่าที่แบงก์ชาติคาดไว้

"ครึ่งปีแรกที่ขาดดุลการค้าสูงนอกจากปัจจัยเรื่องน้ำมันแล้วยังมีสาเหตุจากการนำเข้าสินค้าที่มากผิดปกติ เพราะนักลงทุนหรือผู้ประกอบการมองว่าค่าบาทมีแนวโน้มอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทำให้มีการนำเข้าสินค้าเข้ามาสตอกค่อนข้างสูง รวมถึงการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต อย่างไรก็ตามเชื่อว่าครึ่งปีหลังเราคงไม่เห็นการเร่งตัวของการนำเข้าอย่างครึ่งปีแรกที่ผ่านมา"

อัจนา อธิบายเสริมว่า เศรษฐกิจในภาวะที่ชะลอตัวเช่นนี้ภาคการผลิต การลงทุน หรือสร้างโรงงานใหม่คงไม่เกิดขึ้นมากในครึ่งปีหลัง ซึ่งนั้นก็เป็นผลดีที่ทำให้ไทยสามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดได้ดีขึ้น ในทางตรงข้ามถ้าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยร้อนแรงจะกลายเป็นเรื่องน่าห่วงของแบงก์ชาติที่ต้องจับตามองดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ให้ขาดดุลมากเกินไป

อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติได้ประมาณการว่า ปี 2548 ปีนี้ไทยจะขาดดุลการค้าประมาณ 8,000-9,000 ล้านเหรียญจากเดิมที่คาดว่าขาดดุล 4,000-5,000 ล้านเหรียญ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 3,000-4,000ล้านเหรียญจากเดิมที่คาดว่าจะขาดดุลประมาณ 1,000-2,000 ล้านเหรียญ หรือเป็นสัดส่วนไม่เกิน 2.5%ของGDPนอกจากนี้ยังปรับประมาณการณ์GDP ใหม่จากที่คาดว่าปีนี้ขยายตัว 4.5-6% เป็น 3.5-4.5%

อัจนา เชื่อว่าอย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังภาพที่ออกมาจะสวยงามกว่าครึ่งปีแรก ด้วยเหตุที่ว่าการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งนอกจากแบงก์ชาติจะประเมินว่าดีแล้วในส่วนของผู้ประกอบการก็เห็นสอดคล้องเช่นเดียวกัน โดยมั่นใจว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปการส่งออกของประเทศไทยจะเริ่มดีขึ้นและการขาดดุลการค้าจะเริ่มลดลง

แม้ภาพรวมแบงก์ชาติจะมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้า แต่ไม่วายอดห่วงเรื่องดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ได้ โดยเฉพาะดุลบัญชีเดินสะพัดถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน รวมถึงผู้บริโภค ทำให้เรื่องดังกล่าวถูกแบงก์ชาติจับตาอย่างใกล้ชิด

เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังยังเป็นที่คาดเดากันว่าจะออกมาหัวหรือก้อย เป็นเรื่องที่นักลงทุน หรือผู้ประกอบการต้องเหนื่อยกับการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดเพราะแม้ภาพรวมจะประเมินออกมาในเชิงบวก แต่ถ้ามีปัจจัยลบที่เกินคาดเดาและยากต่อการควบคุมเข้ามากระทบ ก็จะเป็นตัวแปรที่ทำให้เศรษฐกิจไทยผลิกผันไปอีกทางที่เหนือการคาดเดาได้เช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us