Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 มกราคม 2548
เศรษฐกิจเอเชียปีนี้เติบโตแข็งแกร่ง แม้เผชิญทั้งน้ำมันแพง-ดอลลาร์อ่อน             
 


   
search resources

Economics
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย




เศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย สามารถดูดซับผลกระทบทั้งของราคาน้ำมันที่สูงลิ่วเป็นประวัตการณ์ และของเงินดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งอ่อนฮวบลงมาได้เป็นอย่างดี โดยยังคงมีผลประกอบการที่แข็งแรงในปี 2004 อีกทั้งอยู่ในฐานะที่จะเจริญเติบโตต่อไปในปีหน้าได้อย่างมั่นคง แม้ด้วยอัตราซึ่งน่าตื่นใจน้อยลง

จากการส่งออกที่ขยายตัวได้อย่างสม่ำเสมอ และจากเศรษฐกิจโลกซึ่งโดยทั่วไปแล้วอยู่ในช่วงขาขึ้น เศรษฐกิจของชาติในเอเชียจำนวนมากจึงสามารถเติบโตด้วยอัตรารวดเร็วที่สุด นับแต่ก่อนเกิดวิกฤตการเงิน “ต้มยำกุ้ง” ในปี 1997-98

ทว่าต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้จำนวนมากทีเดียว เกิดขึ้นเนื่องจากการพึ่งพาจีน โดยที่แดนมังกรปีนี้พยายามแก้ไขเศรษฐกิจของตัวเองให้ออกจากภาวะเติบโตร้อนแรงเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีพลังที่จะดึงดูดนำเข้าสินค้าจากบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน

ถึงแม้ว่าความกล้าแข็งที่เพิ่มขึ้นทุกทีของยักษ์ใหญ่เอเชียรายนี้ ยังคงก่อให้เกิดความหวาดกลัว พอๆ กับที่ก่อให้เกิดโอกาส

ธนาคารโลกนั้นได้พยากรณ์ไว้ล่าสุดในเดือนที่แล้วว่า บรรดาเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก จะเติบโตด้วยอัตรา 7.1% ในปีนี้ โดยที่จีนจะขยายตัวสูงสุดเป็นสถิติใหม่ที่ 9.2%

สำหรับเอเชียใต้ ซึ่งได้แรงขับดันทำนองเดียวกันจากอินเดีย ก็คาดหมายว่าจะมีตัวเลขอัตราเติบโตอันน่าประทับใจเช่นกันในปีนี้ กล่าวคือโดยทั่วไปแล้วจะเกินระดับ 6.0% ทั้งนี้เป็นคำทำนายของธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี)

ขณะที่จีนกับอินเดียเป็นตัวเอกดึงเอาความสนใจไปหมด ญี่ปุ่นกลับอยู่ในอาการสะดุดในช่วงปีที่สามแห่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตัวเอง สืบเนื่องจากยอดส่งออกเกิดชะลอตัว แต่กระนั้นก็ยังสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้อย่างหวุดหวิด โดยปิดฉากปีนี้ด้วยฐานะที่ค่อนข้างดีทีเดียว สำหรับการเติบโตต่ออีกปีในปี 2005

“ปีนี้เป็นปีที่ดีมากๆ ปีหนึ่งสำหรับเอเชีย” นิซัม อิดริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเอเชียให้กับค่ายไอเดียโกลบอล บอกพร้อมกับสำทับว่า “เศรษฐกิจส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ต่างมีผลประกอบการเหนือกว่าศักยภาพของตัวเอง”

ในรายงานทิศทางเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งฉบับล่าสุดเผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายน ธนาคารโลกก็บรรยายผลงานทางเศรษฐกิจในปี 2004 ของภูมิภาคนี้เอาไว้ด้วยคำว่า “โดดเด่น”

“ไมว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีเงินได้ระดับกลาง หรือระดับยากจน ล้วนแต่มีการเติบโตในอัตราสูงเหมือนๆ กัน” รายงานชิ้นนี้ระบุ

“การส่งออกน่าจะอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่สุดนับแต่ปี 1998 เป็นต้นมาทีเดียว ทั้งนี้ด้วยแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ของจีน, การฟื้นตัวของทั่วโลก, การกลับกระเตื้องขึ้นของอุตสาหกรรมไฮเทคทั่วโลก, และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เข้มแข็ง

“คาดหมายว่าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจจะขึ้นไปแตะ 7.0% สำหรับภูมิภาคนี้โดยรวม ขณะที่ในหมู่เศรษฐกิจซึ่งกำลังพัฒนาควรจะไปถึงใกล้ๆ 8.0% ได้ ซึ่งเป็นระดับแข็งแกร่งที่สุดนับแต่เกิดวิกฤตทางการเงินในภูมิภาค”

ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี 2004 จำนวนมากทีเดียวเป็นผลมาจากการส่งออกที่เข้มแข็ง โดยอุตสาหกรรมสำคัญๆ อาทิ ภาคเทคโนโลยี สามารถไปได้ดีมาก สืบเนื่องจากอุปสงค์ของทั่วโลกกำลังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เองกลับกำลังกลายเป็นปัญหา ในเมื่ออเมริกาขาดดุลการค้าอย่างมหาศาลอย่างรวดเร็วยิ่ง และส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวตลอดทั้งปีนี้

การไหลรูดของดอลลาร์ทำให้สินค้าที่เอเชียส่งออกไปสู่ตลาดสหรัฐฯมีราคาแพงขึ้นโดยเปรียบเทียบ และก็ทำให้รัฐบาลของชาติต่างๆ ในเอเชียรู้สึกสั่นไหว เนื่องจากพวกเขาต่างสั่งสมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหึมา เอาไว้ในรูปเงินตราสกุลที่เคยถือกันว่ามั่นคงหนักหนาสกุลนี้

นอกจากนั้น มันยังทำให้เกิดแรงบีบคั้นจากวอชิงตันและที่อื่นๆ ให้จีนผ่อนคลายการตรึงค่าเงินหยวนไว้ค่อนข้างตายตัวที่ประมาณ 8.28 หยวนเท่ากับ 1 ดอลลาร์ ซึ่งปักกิ่งใช้มาราวสิบปีแล้ว โดยหวังกันว่าเมื่อปล่อยให้หยวนเคลื่อนไหวได้เสรีมากขึ้น เงินตราจีนจะต้องมีค่าแข็งขึ้น แล้วสินค้าส่งออกแดนมังกรก็จะต้องมีราคาแพง ทำให้บริษัทภายในสหรัฐฯเองมีโอกาสแข่งขันได้

อุปสรรคสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจในเอเชีย ก็คือการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันโลก ทั้งนี้น้ำมันดิบชนิดไลท์ครูด พุ่งขึ้นจากประมาณ 32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเริ่มต้นปี 2004 ไปทำสถิติที่เหนือระดับ 55 ดอลลาร์ในเดือนตุลาคม

ด้วยเหตุที่เอเชียมีฐานะเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ ราคาที่พุ่งขึ้นดังกล่าวจึงทำให้เกิดความวิตกกันว่า มันจะส่งผลกระทบต่อทิศทางอนาคตแห่งการเติบโตขยายตัวของภูมิภาค

รายงานในเดือนพฤศจิกายนของธนาคารโลกบอกว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงอาจทำให้อัตราเติบโตของโลกที่ทำนายกันไว้หดหายไปได้ 0.5% และเฉพาะในเอเชียจะลดได้ถึง 0.8% ทีเดียว โดยที่ชาติผู้นำเข้าสุทธิรายใหญ่กว่าเพื่อน อาทิ เกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์, และไทย จะต้องเจ็บปวดหนักที่สุด

โชคดีที่นับแต่นั้นมา ราคาน้ำมันได้อ่อนตัวลงบ้าง

แต่ไม่ว่าอย่างไร นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นว่า ภูมิภาคนี้สามารถที่จะรับมือกับเรื่องราคาน้ำมันได้เป็นอย่างดี

“เราไม่กังวลอะไรมากมายนักหรอก ในเรื่องน้ำมันจะสามารถทำอะไรกับเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้” นิซัมแห่งไอเดียโกลบอลบอก

“เห็นชัดเจนว่า เศรษฐกิจของชาติเหล่านี้จะมีผลงานดีขึ้นแน่ๆ ถ้าหากน้ำมันไม่ได้ทะลุระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทว่าการที่ราคาน้ำมันสามารถพุ่งขึ้นไปได้ขนาดนั้น จริงๆ แล้วก็เนื่องจากปีนี้อัตราเติบโตมีความแข็งแกร่งมากนั่นเองแหละ”

ปีหน้า บรรดานักเศรษฐศาสตร์กำลังคาดหมายว่าเอเชียจะยังคงขยายตัวได้ด้วยอัตราสดใสเหมือนกับในช่วงสองสามปีก่อนหน้า แม้จะด้วยฝีก้าวที่ชะลอลงกว่าในปีนี้

ธนาคารโลกพยากรณ์ว่า เอเชียตะวันออกจะเติบโตด้วยอัตรา 5.9% ในปี 2005 หลังจากทำได้ 7.1% ในปีนี้, 5.9% ในปี 2003, และ 6.0% ในปี 2002

สำหรับคำทำนายของธนาคารพัฒนาเอเชียให้เอเชียตะวันออกในปี 2005 ไว้ที่ 6.2% ส่วนเอเชียใต้จะโตช้ากว่านิดหน่อยอยู่ที่ 5.9%

นิซัมชี้ว่า แม้จะชะลอตัวลงบ้างในปี 2005 ก็ยังเป็นเรื่องน่ายินดี

“ปีหน้า ... นั่นเป็นเรื่องพึงปรารถนาทีเดียว ไม่ใช่อะไรที่ต้องหวาดกลัวเลย” เขาบอก

“อันที่จริง ถ้าเราไม่สามารถชะลอลงได้นั่นแหละ มันก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดการฮาร์ดแลนดิ้งทั่วทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us