ทศท คอร์ปอเรชั่น รุกตลาดสื่อสารข้อมูลความ เร็วสูงบรอดแบนด์ ด้วยการปรับโครงสร้างค่าบริการเหลือเพียง
1 ใน 10 จากเดิม โหมกิจกรรมกระ ตุ้นตลาดและกลุ่มลูกค้า ด้วยการจับมือ 5 พันธมิตร
จัดงาน "TOT and Next Generation Network, Episode II:IP vs ATM"
นายสุจินต์ กดทรัพย์ ผู้จัด การฝ่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล บริษัท
ทศท คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทศทเริ่มเปิดให้บริการสื่อ สารข้อมูลความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์บนโครงข่าย
ISDN (B-ISDN) ด้วยความเร็วตั้งแต่ 64 เคถึง 155 เมกะบิต โดยเริ่มให้บริการ
วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กับศาลปก ครองใน 4 จังหวัดคือกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พิษณุโลกและขอนแก่น
และจะขยายพื้นที่ให้บริการออกไปให้ครอบคลุม 16 พื้นที่ศาลปกครอง รวมทั้งให้ครอบคลุมทั่วประเทศในปีหน้า
"ทศทเพิ่งให้บริการบรอดแบนด์ประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีลูกค้ามาขอใช้บริการมากมาย
ซึ่งเรากำลังดำเนินการขยายพื้นที่บริการให้ทั่วประเทศ ส่วนในกรุงเทพฯตอนนี้สามารถให้บริการได้ทุกพื้นที่แล้ว"
บริการบรอดแบนด์ของทศท ถือว่ามีความได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นในตลาด เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการเดียวที่มีโครงข่ายครอบ
คลุมทั่วประเทศทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด มีรูปแบบบริการหลายประเภทหลายเทคโนโลยี
ไม่ว่าจะเป็นชุมสาย ATM เทคโนโลยี IP มีการให้บริการวงจรเช่าต่างๆ แต่ประเด็นที่สำคัญคือทศทได้มีการปรับโครงสร้างค่าบริการ
ให้ต่ำลงเหลือเพียงประมาณ 1 ใน 10 จากค่าเช่าเดิม ซึ่งค่าเช่าเดิมคิดค่าบริการ
ต่อแบนด์วิธต่อระยะทาง แต่โครง สร้างค่าบริการใหม่จะคิดเป็นค่าบริการต่อพอร์ต
ไม่มีระยะทางเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หรือกรุงเทพฯ-ภูเก็ต
ก็มีค่าบริการเท่ากับกรุงเทพฯ-กรุง-เทพฯ
เขายกตัวอย่างว่าค่าเช่าลิส-ไลน์ความเร็ว 2 เม็ก บนโครงข่าย ATM เส้นทางกรุงเทพฯ-นคร-สวรรค์
ถ้าคิดค่างเช่าแบบเดิมตามระยะทางจะตกเดือนละประมาณ 3-4 แสนบาท แต่หากคิดแบบใหม่จะเหลือเพียง
1 ใน 10 หรือประ- มาณ 20,000 กว่าบาทเท่านั้น
นอกจากนั้น เพื่อเป็นการสร้าง ตลาดและให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ทศทเตรียมจัดงาน
"TOT and Next Generation Network, Episode II:IP vs ATM" ในระหว่างวันที่
12-13 ก.ย.ที่จะถึงนี้ ผ่านการสัมมนาและการออกร้านแสดงบริการอันทันสมัยบนโครงข่าย
B-ISDN เพื่อเผยแพร่เทคโน-โลยีบริการบรอดแบนด์ แสดงศักย-ภาพและความได้เปรียบเชิงธุรกิจในการสื่อสารข้อมูลผ่านโครงข่าย
IP และ ATM
ดร.มนต์ชัย หนูสง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด และประชา-สัมพันธ์ ทศทกล่าวว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก
5 พันธมิตรประกอบด้วยซิสโก้ อัลคาเทล เอ็นอีซี แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต และโซนี่ในการสัมมนา
และออกร้าน ในการนำเทคโนโลยีที่พัฒนาสำหรับการสื่อสารเสียง ภาพและข้อมูลด้วยความเร็วสูงบน
เครือข่ายเดียวกันมาร่วมแสดง อาทิ วิดีโอ ออน ดีมานด์ ที่เป็นการใช้งานด้านมัลติมีเดียผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
,Network Camera กล้องดิจิตอลที่สามารถจับภาพเคลื่อนไหวและส่งภาพผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง
ที่เหมาะสำหรับงานรักษาความ ปลอดภัย,LRE เทคโนโลยีสำหรับ การรับส่งข้อมูลความเร็วสูง
(10 เม็ก) ผ่านข่ายสายทองแดงและ E-learning อีกบริการหนึ่งที่แสดงการเรียนผ่านโครงข่ายอิน-
เทอร์เน็ต ทำให้ผู้เรียนสามารถจะเลือกเรียนได้ตามเวลาที่สะดวก
"งานครั้งนี้จะเจาะลึก 2 เรื่องคือ IPกับ ATM เปรียบเทียบโครง ข่ายกับการใช้งาน
เรามุ่งที่จะเสนอรูปแบบแอปพลิเคชั่น การใช้งานใน อนาคตที่เกิดขึ้นบนโครงข่ายที่มีอยู่
จริง ซึ่งรูปแบบบริการจะแบ่งได้ 3 กลุ่มคือเรื่องการเรียนการสอนหรือ การศึกษา
การใช้งานเชิงธุรกิจและความบันเทิง"