Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543
The Technology Machine             
 





อนาคตของโรงงานจะเป็นอย่างไรเมื่อเทคโนโลยี และศาสตร์แห่งความยุ่งเหยิง สลับซับซ้อนอาจนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานในโรงงานได้ นี่คือ สิ่งท้าทาย ความคิด ในหนังสือ "The Technology Machine" ซึ่งทีมผู้เขียนยกตัวอย่าง คนขับรถแท็กซี่คนหนึ่งในบอสตัน ที่ทำงานเหมือนหน่วยอิสระ และต้องปรับพฤติกรรมไปตามระบบการสื่อสาร ที่ไหลเข้าออกอย่างต่อเนื่อง (เช่น เมื่อมีคนเรียกแท็กซี่ ที่มุมถนน แถวรถแท็กซี่จอดรอผู้โดยสาร ที่จุดรับผู้โดยสาร ที่สนามบิน และคนโดยสาร บอก ที่อยู่ให้ไปส่ง เป็นต้น) เมื่อนำการทำงานของคนขับแท็กซี่ ที่บอสตันมารวมกับระบบ ที่ปรับตัวได้อย่าง ซับซ้อน และทำงานได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมจากส่วนกลาง จะเป็นอย่างไร ผู้ เขียน บอกระบบจัดการควบคุมแท็กซี่ ที่ส่วนกลางจะต้องมี "แบบแผนการจราจรพอๆ กับคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องจัดคิวออกรถ คำนวณราคาน้ำมัน น้ำหนักกระเป๋า มีผังการขึ้นลงของเครื่องบิน และนำปัจจัย อื่นๆ มาคิดคำนวณอย่างสลับซับซ้อน" ผู้เขียนจึงเสนอให้เลิกคิดเรื่องพวกนี้ แล้วปล่อยให้หน่วยอิสระทำงานอย่างคล่องตัว และมีข้อมูลเท่า ที่ต้องการ เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล แค่นี้ระบบงานก็ไปได้ดีแล้ว

ในโรงงานก็เช่นกัน แทน ที่จะใช้ระบบการควบคุมจากส่วนกลาง การผลิตสินค้าสามารถทำได้โดยการจัดหน่วยทำงานอิสระ ซึ่งได้รับข้อมูล และมี อิสระในการตัดสินใจได้เอง ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ระบบการผลิต ที่มีประสิทธิภาพสูง มีลักษณะเรียบง่าย และมีขนาดกะทัดรัด

แล้วระบบนี้จะทำงานได้จริงหรือ? คำตอบคือ ได้ เพราะมอร์เลย์ ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมได้เสนอแนะระบบนี้ให้จีเอ็มนำไปใช้ในแผนกพ่นสีรถบรรทุกแล้ว

การพ่นสีรถบรรทุกเป็นงาน ที่ซับซ้อน และมีรายละเอียด เช่น อุณหภูมิ ของตัวถัง ที่จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดงานหน้าต่างใช้เวลาเพียงสามนาที และต้องทำเสร็จในขั้นตอนเดียว นอกจากนั้น ยังอาจมีอุปสรรคอื่น เช่น ปืนสี อาจจะอุดตัน รถบรรทุกยังไม่เรียบร้อย แรงดันไม่ถูกต้อง หรือการกำหนดค่าสีมีการปรับเปลี่ยนใหม่ รถบรรทุกไม่เป็นไปตามคำสั่งซื้อจึงทำให้หน่วยพ่นสี ไม่มีสีตาม ที่ต้องการ โดยสรุปแล้ว ผู้เขียนบอกว่า "การจัดกำหนดเวลาเป็นเรื่อง ที่เหมือนฝันร้าย"

มอร์เลย์แก้ปัญหานี้ดวยแนวคิด ที่เปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก นั่นคือ ทิ้งกระบวนการจัดทำกำหนดเวลาแบบบนลงล่างไป โดยแทน ที่จะกำหนดงาน พ่นสีไปตามหน่วยพ่นสีแต่ละหน่วย ก็ให้หน่วยพ่นสีเป็นผู้เรียกงานเสียเอง ดังนั้น หน่วยพ่นสีแต่ละหน่วยจึงทำงานไปตาม ที่เหมาะกับตน เช่น หน่วยพ่น สีดำ ซึ่งพ่นสีดำเสร็จแล้ว และยังมีสีดำอยู่มากจะเรียกรถ ที่ต้องการทาสีดำเข้าไปเพิ่ม ส่วนหน่วยพ่นสีแดงจะเรียกรถได้น้อยกว่า และหน่วยพ่นสี ที่ใช้สีอื่น ไปเกือบหมดแล้วอาจจะเรียกงานเพิ่มได้มากกว่าหน่วยพ่นสีแดง แต่น้อยกว่าหน่วยพ่นสีดำ

ผลที่ได้จึงเป็นแบบเดียวกับระบบแท็กซี่ในบอสตัน กล่าวคือ การตัดสิน ใจไม่ได้มาจากส่วนบนแต่มาจากหน่วยปฏิบัติงานในโรงงาน ระบบ ที่ว่านี้ ทำงานได้ เพราะหน่วยต่างๆ (หน่วยพ่นสี) มีอิสระ อีกทั้งได้รับข้อมูล และมีความอิสระเพียงพอให้ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม (ในกรณีนี้ก็คือ การตัดสินใจเรียกงานเข้ามา)

หนังสือเล่มนี้มีจุดอ่อนอยู่บ้าง ผู้อ่านอาจจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิดด้านการผลิตมาบ้าง เพราะผู้เขียนไม่ได้นิยามความหมายของคำต่างๆ ไว้ก่อน นอกจากนั้น แนวคิดในสองบทแรกก็ออกจะกว้างเกินไป เช่น ผู้เขียนคาดการณ์ว่าในอนาคต โครงสร้างองค์กรจะเป็นเหมือนกับแผงวงจร ที่ มีหลายชั้น และแผนการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานแบบอิงกับแรงจูงใจ ที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว ส่วน ข้อเสนอเรื่องความกแาวหน้าทางเทคโนโลยี ในบท ที่สองก็ดูรวบรัดเกินไป และขาดข้อสนับสนุน

อย่างไรก็ตาม The Technology Machine ก็เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตถึงสองคน มูดี้ เป็นอดีตบรรณาธิการนิตยสาร Target ส่วนมอร์เลย์ เป็นผู้ประกอบการที่คิดค้น Programmable Logic Controller ที่ปฏิวัติระบบงานในโรงงานมาแล้ว ตั้งแต่บท ที่สามเป็นต้นไป ผู้เขียนก็เข้าสู่ประเด็น และ เป็นการสำรวจอนาคตของโรงงานด้วยจังหวะก้าว ที่รวดเร็ว พร้อมยกตัวอย่าง บริษัท ที่เริ่มทำไปแล้ว และได้ผลจริงด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us