Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 มีนาคม 2548
เวียดนามเร่งรัดพัฒนาการท่องเที่ยว หวังเป็นยิ่งกว่าแค่ทางเลือกหลังสึนามิ             
 


   
search resources

Tourism




สองวันหลังจากคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่มใส่บรรดารีสอร์ตชายหาดยอดนิยมในประเทศไทย ศรีลังกา และมัลดีฟส์ ทาง วิกตอเรีย ฝ่าม เทียต รีสอร์ต ในเวียดนาม ก็เริ่มได้รับโทรศัพท์สายด่วนจากพวกบริษัททัวร์ในยุโรป ซึ่งกำลังมองหาห้องพักริมหาดในเอเชีย ซึ่งอยู่นอกอาณาบริเวณที่ถูกธรณีพิบัติภัยคราวนี้

ไจลส์ พอจจี ผู้จัดการใหญ่ของวิกตอเรีย ซึ่งสูญเสียอดีตเพื่อนร่วมงานที่สนิทสนมกันมากไปคนหนึ่งเมื่อสึนามิโถมกระหน่ำใส่ประเทศไทย รู้สึกตะลึงงวยงง “ทุกๆ คนต่างช็อกไปกับโศกนาฎกรรมสยดสยองซึ่งเกิดขึ้น” เขากล่าว “แต่ เดอะ โชว์ มัสต์ โก ออน บริษัททัวร์เหล่านี้ต่างเป็นมืออาชีพในวงการ เมื่อผู้คนพากันยกเลิกทริป พวกเขาก็ต้องเร่งหาจุดที่สามารถเป็นทางเลือกใหม่ได้”

ตั้งแต่นั้นมา รีสอร์ตซึ่งมีชาวฝรั่งเศสเป็นเจ้าของแห่งนี้ ก็เฉกเช่นเดียวกับโรงแรมอื่นๆ ริมชายหาดมุยเน อันสวยงามน่าตื่นใจของเวียดนาม ที่ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ระยะ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งปกติก็อยู่ในช่วงไฮซีซั่นอยู่แล้ว ปรากฏว่า 8% ของแขกที่มาพักกับวิกตอเรีย คือผู้ซึ่งบริษัททัวร์เปลี่ยนโปรแกรมให้ใหม่ จากที่เคยจองไปพำนักยังรีสอร์ตในเขตประสบภัยสึนามิ หรือใกล้เคียงกับบริเวณนั้น

ย้อนหลังไปเพียง 3 ปีที่แล้ว เรื่องที่หาดมุยเน อันอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ราว 200 กิโลเมตร จะสามารถเข้าแทนที่ภูเก็ตได้นั้น เป็นสิ่งที่ดูไกลโพ้นเกินคิดเสียจริงๆ เมื่อปี 2002 นั้น ชายหาดแห่งนี้มีโรงแรมขนาดเล็กๆ เพียง 15 แห่ง บวกกับร้านอาหารอีกหยิบมือหนึ่ง

ทว่า 5 ปีหลังจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอยประกาศให้เวียดนามเป็น “จุดหมายปลายทางสำหรับสหัสวรรษใหม่” อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลกก็ดูจะเห็นพ้องด้วยในท้ายที่สุด จากที่เคยเป็นเพียงจุดหมายปลายทางของเหล่านักท่องเที่ยวแบกเป้ติดหลังรักผจญภัย หรือพวกทหารผ่านศึกอเมริกันซึ่งพยายามหาสันติภาพให้กับความหลังในช่วงสงครามของตัวเอง เวียดนามประสบความสำเร็จดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศได้ 2.9 ล้านคนในปี 2004 สูงขึ้นจาก 2.4 ล้านคนในปี 2003 และ 2.1 ล้านคนในปี 2000

รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 1,700 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 3.7% ของจีดีพี และสูงขึ้น 27% จากเมื่อปี 2003 ฮานอยคาดหมายว่าในปีนี้จะมีอาคันตุกะนานาชาติมาเยือนเป็นจำนวน 3.2 – 3.4 ล้านคน ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้ราวๆ 1,900 ล้านดอลลาร์ โดยที่ใน 2 เดือนแรกของปีนี้ มีชาวต่างประเทศเข้ามาสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว11%

ที่หาดมุยเน เวลานี้มีโรงแรมและรีสอร์ตใหม่ๆ ผุดขึ้นมาหลายสิบแห่ง จำนวนมากเป็นของชาวเวียดนามเอง และพร้อมต้อนรับทั้งชนชั้นกลางภายในประเทศซึ่งกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นทุกที และทั้งทัวริสต์ต่างชาติ

“เวียดนามกำลังเป็นจุดหมายที่อินเทรนด์” เป็นคำยืนยันของ ริชาร์ด ไครค์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ เอ็กโซทิสซิโม บริษัททัวร์ซึ่งชำนาญพิเศษเรื่องภูมิภาคอินโดจีน “ทุกๆ คนต่างเคยได้ยินชื่อเวียดนามมาแล้วทั้งนั้น และทุกๆ คนต่างรู้สึกว่ามันลึกลับซ่อนเงื่อนชวนติดตาม”

ความสนใจที่จะลงทุนในเวียดนามก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกันในช่วงหลังๆ มานี้ แบงก์ระดับอินเตอร์ 5 แห่งกำลังแข่งขันกันชิงหุ้นในธนาคารพาณิชย์เอกชนใหญ่ที่สุดของเวียดนาม 2 แห่ง เพื่อใช้เป็นบันไดขั้นแรกในการเจาะเข้าสู่ตลาดธนาคารลูกค้ารายย่อย อันดูมีศักยภาพสูงมากของประเทศที่มีประชากร 80 ล้านคนแห่งนี้

ธนาคารเวียดนาม 2 แห่งดังกล่าว ได้แก่ ซาคอม แบงก์ กับ เอเชีย คอมเมอร์เชียล แบงก์ ขณะที่ยักษ์ใหญ่แบงก์ระหว่างประเทศทั้ง 5 ว่ากันว่าคือ เอชเอสบีซี, เอเอ็นแซด, สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด, ซิตี้แบงก์, และ ดีบีแห่งสิงคโปร์

อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังมีงานต้องทำอีกมากมายนัก เพื่อเปลี่ยนให้ตัวเองกลายเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ระเบียบการให้วีซาที่ลำบากยุ่งยากจนขึ้นชื่อ ทำให้ผู้เดินทางซึ่งอาจเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนจำนวนหนึ่งต้องมีอันเปลี่ยนใจ ส่วนถนนหนทางที่สภาพย่ำแย่และแออัด รวมทั้งมีด่านตรวจของตำรวจตั้งถี่มาก ก็ทำให้การเดินทางบนถนนแม้สายสั้นๆ ต้องเสียเวลาหลายชั่วโมง ตลอดจนห้องพักโรงแรมและเที่ยวบินก็ยังขาดเขินเป็นอย่างยิ่ง

“ที่พักระดับ 5 ดาวในไซ่ง่อน(นครโฮจิมินห์) และฮานอย ในช่วงเวลานี้ของปี จะมีคนเข้าพักสูงถึง 90-100%” ไครค์บอก “เรายังจำเป็นต้องมีเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้น บ่อยครั้งที่เราต้องทิ้งไม่สามารถทำธุรกิจได้ เนื่องจากกลุ่มต่างๆ ไม่อาจเดินทางมาให้ถึงที่นี่ ครั้นพวกเขามาถึงที่นี่จนได้ ก็กลับไม่สามารถเดินทางไปตามที่ต่างๆ ให้ทั่วประเทศ เนื่องจากเที่ยวบินภายในประเทศถูกจับจองไปหมดแล้ว

กระนั้นเมื่อมองอย่างเป็นธรรม ประเทศนี้ก็กำลังเข้าเกียร์สูงเปิดรับชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ สายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลส์ เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งเปิดเที่ยวบินตรงเที่ยวแรกสู่เวียดนามนับแต่สงครามยุติ และคาดหมายกันว่าสายการบินอื่นๆ ของสหรัฐฯก็จะตามมาในไม่ช้า สายการบินเวียดนาม แอร์ไลส์ มีแผนการของตัวเองที่จะเพิ่มจำนวนเครื่องบิน ขณะที่รีสอร์ตและโรงแรมระดับหรูหรา ซึ่งหลายๆ แห่งเป็นของต่างชาติ ก็กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง

ฮานอยยังกำลังค่อยๆ ผ่อนคลายความเข้มงวดเรื่องวีซา เริ่มต้นด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์สำหรับนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น, เกาหลี,และชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกมืออาชีพด้านการท่องเที่ยวมองว่า การยอมออกวีซาเมื่อเดินทางมาถึง จะเป็นแรงจูงใจให้ชาวต่างชาติจำนวนมากซึ่งพำนักอยู่ในเอเชียอยู่แล้ว เดินทางมาพักผ่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ในช่วงโลว์ซีซั่น

ทว่าแนวคิดนี้ยังคงอยู่ในการพิจารณาของบรรดาเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความรู้สึกอ่อนไหวทั้งต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคงและการก่อกวนทางการเมืองที่อาจมาจากต่างประเทศ ตลอดจนรู้สึกอ่อนไหวต่อเรื่องที่จะต้องประทับวีซาให้แก่คนต่างชาติอยู่ข้างเดียว โดยชาวเวียดนามเองมิได้ประโยชน์ตอบแทนอย่างเสมอภาคกัน

เหวียนถิลัปกว็อก ผู้อำนวยการฝ่ายท่องเที่ยวของนครโฮจิมินห์ ยืนยันว่า การออกวีซาถือเป็นจุดยุ่งยากจุดหนึ่ง แต่พวกนักชาตินิยมบอกว่า ชาวเวียดนามซึ่งต้องการเดินทางไปต่างประเทศ ก็ต้องเจอปัญหาวีซาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อจะไปยุโรป

สำหรับในขณะนี้ การเดินทางท่องเที่ยวในเวียดนามบูมมาก เนื่องจากความอยากรู้ความเห็นของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกถวิลหาฝรั่งเศสในยุคเป็นเจ้าอาณานิคม, เสียงเล่าปากต่อปาก, และความพยายามทางการตลาดของพวกบริษัทเอกชนต่างๆ แต่ในระยะยาวไกลกว่านี้แล้ว เจ้าหน้าที่ด้านท่องเที่ยวของเวียดนามรู้สึกวิตกที่พวกเขายังขาดแคลนทรัพยากร และความเจนจัดในการแข่งขันกับเครื่องจักรการตลาดด้านการท่องเที่ยวอันเฉียบคมของประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“การโฆษณาของเวียดนามยังไร้ประสิทธิผล ผู้คนจำนวนมากยังจดจำเวียดนามในฐานะประเทศซึ่งเกิดสงคราม” คว็อกอธิบาย “พวกเขายังไม่รู้จักเวียดนามสมัยใหม่ ที่ซึ่งผู้มาเยือนสามารถที่จะรู้สึกมีความปลอดภัย รู้สึกถึงความเป็นมิตร และมีความสุข”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us