Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 สิงหาคม 2548
ไซฟอน : ฉีกหน้ากากโจรใส่สูท             
 


   
search resources

Law




"นักบัญชี" กระชากหน้ากาก "อาชญากรสวมเสื้อสูท" ล้วงลึกพฤติกรรม "ไซฟอน" กลโกงสารพัดวิธีตบตา ผ่านช่องทางธุรกิจปกติ ส่วนใหญ่หนีไม่พ้น "ผู้ถือหุ้นใหญ่" บริษัทจดทะเบียน(บจ.)ที่มักโยงใยไปถึงธุรกิจ บุคคลใกล้ชิด ญาติมิตร คนสนิท พรรคพวกเพื่อนพ้อง ที่ตั้งหน้าตั้งตาโกยเงินเข้ากระเป๋า ไม่ต่างจากโจร "ปล้นกลางวันแสกๆ" พร้อมสาวไส้ "บัญชีอันตราย" ที่ไม่ควรมองข้าม...

นักบัญชีสถาบันภาภัทร-ธุรกิจบัณฑิตย์ อธิบายความหมายการ "ไซฟอน" ในธุรกิจ กินความหมายครอบคลุมถึง การยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ของบริษัทไปเป็นส่วนตัว

และการผ่องถ่ายดังกล่าว ก็ทำผ่านช่องทางการทำธุรกิจปกติ ในรูปของ การซื้อขายสินค้าหรือสินทรัพย์ การกู้หรือให้กู้ยืม และการค้ำประกันระหว่างบจ.กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหารหรือกิจการส่วนตัวของบุคคลเหล่านี้

วิธี "ไซฟอน" ของ "อาชญากรในคราบผู้ดี" จึงหมายถึง การผ่องถ่ายเงินกองกลางมาเข้ากระเป๋าตัวเอง ในรูปแบบ ...กู้เงินแบบไม่ตั้งใจจ่ายคืน... การเอาเงินออกมาก่อน... และดึงเอากำไรมาไว้ก่อน...

ส่วนใหญ่จะสังเกตุได้จากข้อมูล "รายการที่ทำระหว่างกัน" โดยเฉพาะ "การยักยอก" ที่เห็นบ่อย และมีหลักฐานที่เห็นง่ายที่สุด...
ตัวอย่างของการ "กู้เงินไม่ตั้งใจจ่ายคืน" ส่วนใหญ่จะเกี่ยวโยงกันระหว่าง ผู้บริหารบริษัทหนึ่ง ที่มีบริษัทส่วนตัว แต่ให้บริษัทแรกนั้นกู้เงินจากสถาบันการเงินมาให้บริษัทหลังยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือไม่มีดอกเบี้ยเลย สุดท้ายเงินให้กู้ยืมก็กลายเป็นหนี้สูญหรือโบนัสผู้บริหาร
ที่น่าเกลียดมากกว่านั้นก็คือ การดำเนินการผ่านมติประชุมผู้ถือหุ้น เช่น บริษัท A มีมติผู้ถือหุ้นให้กู้แก่บริษัทส่วนตัวของผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นวงเงินค่อนข้างสูง เพื่อนำไปลงทุนโครงการที่ไม่มีความแน่นอนสูง ซึ่งบริษัทจะไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

ต่อมาเกิดวิกฤตขึ้น โครงการก็ถูกเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด บริษัทส่วนตัวนั้นไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้บริษัท A ต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญทั้งจำนวน

อีกตัวอย่างคือ การลดหนี้เงินให้กู้กับบริษัทส่วนตัวของผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยบริษัทจดทะเบียนจะรับภาระหนี้สูญจากการปรับโครงสร้างหนี้แทน
ที่เห็นชัดเจนอีกกรณีหนึ่งก็คือ บจ.รายหนึ่งมีโครงการจะนำสินทรัพย์ของบริษัทไปค้ำประกันวงเงินกู้ "ผู้ถือหุ้นใหญ่" ที่จะกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ทั้งที่บจ.รายนั้นยังอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ

ส่วนวิธี "ไซฟอน" ...เอาเงินออกมาก่อน... มีตัวอย่างกรณีบริษัทหนึ่งที่ดำเนินการโดยไม่ผ่านมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้ซื้อหุ้น 25%ในราคาสูงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่"ในบริษัทหนึ่ง เช่น ซื้อมาในราคา 15 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 2 ล้านบาท โดยอ้างว่ามูลค่าที่จ่ายเพิ่มเป็น "ค่าความนิยม " ของบริษัทที่เข้าไปซื้อหุ้น

เรื่องยังไม่จบเพียงแค่นั้น 1 เดือนถัดมา บริษัทที่ซื้อหุ้น ต้องตั้งสำรองเผื่อการขาดทุน สำหรับหุ้นที่ซื้อมาเป็นจำนวนเงินถึง 13 ล้านบาท โดยภายหลังบริษัทที่เข้าไปซื้อหุ้นก็เลิกกิจการในอีก 1 ปีถัดมา

นักบัญชีให้ข้อคิดว่าค่าความนิยมถือเป็น 1 ใน 4 "บัญชีอันตราย" ที่ประกอบไปด้วย "บัญชีค่าความนิยม"(Goodwill) ที่มองว่าเป็นร่างทรงเงินกู้ยืม เงินทดลองจ่ายที่แฝงตัวเข้าซื้อธุรกิจ "บัญชีในทรัพย์สินอื่น" อาทิ รายจ่าย ให้เช่ายาว ค่าเช่าและเงินมัดจำระยะยาว
"บัญชีเงินลงทุน" ในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และเผื่อถ่ายที่นักบัญชีมองว่าเป็นการ

"สลับร่างทรง" แต่ความจริงบริษัทหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ยังมีอิทธิพลในบริษัทเหล่านั้นอยู่เช่นเดิม และ"บัญชีเงินให้กู้ยืมบริษัทเกี่ยวข้องกัน"

อย่างไรก็ตาม วิธี "ไซฟอน" หรือ "เอาเงินออกไปก่อน" นักบัญชีถือว่า เป็น "เงินคืนทุน" ให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่...

อีกวิธี "ไซฟอน" ที่ควรจับตาไม่ให้ห่างก็คือ...การดึงเอากำไรไว้ก่อน...ไม่ว่ากำไรในรูปของการค้า ค่าตอบแทน และให้จ่ายค่าใช้จ่ายแทน

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือ บริษัท B ทำสัญญาเช่าอาคารสำนักงานจากบริษัทส่วนตัว "ผู้ถือหุ้นใหญ่" พร้อมกันนั้นก็ "จ่ายค่าเช่าล่วงหน้า" ในทันที เป็นเวลา 99 ปี คิดเป็นเงิน 2 พันล้านบาท ทั้งที่สัญญามีอายุเพียง 3 ปี และต่ออายุได้ทุกๆ 3 ปี

ข้อสังเกตุของนักบัญชีจากกรณีนี้ ก็คือ ธุรกิจขาดโอกาสเลือกทำเลการลงทุนทำธุรกิจที่ดี หรือขาดโอกาสจะมี "Strategic Partner"
การหอบขนเอากำไรไปต่อหน้าต่อตาอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ "ค่าตอบแทน" โดยเฉพาะผู้บริหาร "ผู้ถือหุ้นใหญ่" ที่อาจรวมกับสมาชิกในครอบครัว ที่จะได้รับ "ค่าตอบแทนประจำ" เช่น เงินเดือน รถประจำตำแหน่ง ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมรถ ค่าเสื่อมราคารถ ค่าที่พัก(คอนโดมิเนียม)ค่าโทรศัพท์(มือถือ) ค่าอาหาร(เลี้ยงรับรอง) ค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการสันทนาการ หรือ ค่าภาพเขียนหรูหราราคาแพงจากต่างประเทศ ที่นำไปติดในบริษัท

รวมถึง "ค่าตอบแทนพิเศษ" อย่าง โบนัส บำเหน็จบำนาญ วอร์แรนท์ ซึ่งที่จริงก็คือ STOCK OPTION ที่ไม่ลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย
"โบนัสที่โชว์ในบัญชีมักจะเป็น เบี้ยประชุมที่เหมือน "เศษเงิน" ส่วนที่เหลือเรามักจะไม่มีโอกาสได้เห็น"

กรณี "STOCK OPTION" หรือหุ้นที่ให้กับผู้บริหาร มีสิ่งที่กลายเป็นข้อผิดพลาดของระบบการลงบัญชีก็คือ คนส่วนใหญ่มักสับสน จน "หว่านแห " เหมาเป็น "วอร์แรนท์" ซึ่งไม่ต้องบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย

ดังนั้น ทุกครั้งที่บริษัทในกลุ่ม "รีแฮบโก" จะออกจากหมวดนี้ เพื่อไปเทรดในกระดานปกติ เราก็จะเห็นอยู่บ่อยครั้งว่า มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตระกูลดังๆ หรือผู้ใกล้ชิดนักการเมืองบางคน นำ STOCK OPTION ออกเทขายทำกำไรสูงเป็นพันๆล้าน

อีกรูปแบบกลโกงที่มองดูแล้ว "น่าเกลียด" ไม่แพ้กันก็คือ "ให้จ่ายค่าใช้จ่ายแทน"

วิธี "ไซฟอน" ของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่มักเป็นผู้บริหารในหลายบริษัทส่วนตัวก็คือ มักจะให้บริษัทจ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การบริหาร การตลาด

ค่าเดินทางในการเจรจา เช่น เดินทางไปเชิญสโมสรฟุตบอลในยุโรปมาแข่งในประเทศ ค่ารับรอง และค่าจัดทำบัญชี โดยที่ตนเองรับผลประโยชน์ไปเต็มๆ

นอกเหนือวิธีและรูปแบบการไซฟอน นักบัญชียังแนะให้จับพิรุธ การจัดทำงบการเงินไม่โปร่งใสของบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะการหลบเลี่ยงการทำงบการเงินรวม การปรับโครงสร้างธุรกรรมใหม่ เช่น การเปลี่ยน "เงินมัดจำ" ถังแก๊ซที่จะถูกบันทึกเป็นหนี้สิน มาเป็นค่าเช่าถังแก๊ซ ที่กลายมาเป็น "รายได้" ทันตาเห็น

และที่มองข้ามไปไม่ได้อีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ "หุ้นรีแฮบโก" หรือบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ เช่น มีการสร้างบริษัทรีแฮบโก โดยเอามาปั้น เพื่อเอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ แล้วปั่นราคาให้สูง เพื่อถ่ายเอาเงินออกมาเป็นพันๆล้าน

จากนั้นก็นำบริษัทมาแต่งหน้าทาปากให้สวย แล้วนำเอาบริษัทนั้นไปประมูลงาน โครงการใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง และสื่อสาร

ทั้งหมดที่ร่ายมายาวเหยียด จึงดูเหมือนจะคุ้นๆกับ กรณีหุ้นในบริษัทจดทะเบียนที่ค่อนข้างอื้อฉาว ซึ่งสาวลึกโยงใยไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง ใกล้ชิด แต่สุดท้ายผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ตกเป็นข่าว ก็มักจะลอยนวล ล่องหนทุกที...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us