|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
หุ้น NPC และ TOC ถูกตีกรอบราคา เคลื่อนไหวจำกัดตามเงื่อนไขที่ ปตท.กำหนด นักวิเคราะห์แนะไม่อยากเสี่ยงให้แลกหุ้น อย่างน้อยได้รับปันผล 6-7% หากโชคดีราคาหุ้นเดินหน้าค่อยขายทำกำไร ส่วนใครถือต้นทุนสูงต้องตัดใจระยะสั้นราคาไม่ขยับ แถมเจอช่วงขาลงของวงจรปิโตรเคมี
การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด(มหาชน) หรือ NPC กับบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด(มหาชน) หรือ TOC ตามแนวทางของผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่างบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เพื่อลดความซ้ำซ้อน สร้างความชัดเจนทางธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธุรกิจปิโตรเคมี ที่ได้ข้อสรุปจากการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา
แม้ก่อนหน้านี้จะมีรายย่อยคัดค้านการควบรวมกิจการระหว่าง NPC กับ TOC แต่ ปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เตรียมรับซื้อหุ้น NPC ไว้ที่ไม่เกิน 120 บาทต่อหุ้น และ TOC ที่ไม่เกิน 60 บาทต่อหุ้น สำหรับผู้ที่คัดค้านการควบรวมกิจการ โดยยึดจากรายชื่อในวันปิดสมุดจดทะเบียนเมื่อ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา
สำหรับหุ้นทั้ง 2 บริษัทที่จะควบรวมกิจการตามความประสงค์ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่าง ปตท. และปูนซิเมนต์ไทยก็ให้ความเห็นชอบจากการควบรวมดังกล่าว หุ้นทั้ง 2 ตัวนี้มีนักลงทุนรายย่อยที่ถือหุ้นค่อนข้างมาก แยกเป็นหุ้น NPC มีรายย่อยถือ 41.89% ของ Free Float ส่วน TOC มีรายย่อยถือ 30.45% ของ Free Float ซึ่งการควบรวมกิจการกันในครั้งนี้เป็นเพียงการรวมกิจการของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเหมือนกันภายใต้โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดียวกัน จึงไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาหุ้นมากนัก
ราคาถูกตีกรอบ
แหล่งข่าวจากวงการหลักทรัพย์กล่าวว่า สัดส่วนที่ปตท.กำหนดการแลกหุ้นในบริษัทใหม่ที่ 1 หุ้นเดิมของ NPC ต่อ 1.56978533 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมของ TOC ต่อ 0.784892665 หุ้นในบริษัทใหม่นี้ โดยยึดจากราคาเสนอซื้อของปตท.เป็นหลัก จึงทำให้ราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทถูกจำกัดกรอบการเคลื่อนไหว
นักวิเคราะห์เกือบทุกค่ายประเมินราคาหุ้นบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมอยู่ที่ประมาณ 75 บาท ดังนั้นราคาของหุ้น TOC จึงแกว่งตัวระหว่าง 58-60 บาท ส่วน NPC เคลื่อนไหวที่ 117-119 บาท
โอกาสที่ราคาหุ้นทั้ง 2 บริษัทนี้จะสูงเกินกว่าราคารับซื้อก็เป็นได้ เพราะหลังจากมติที่ประชุมเมื่อ 11 สิงหาคมที่ออกมา หุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ก็ยังสามารถซื้อขายได้จนกว่าจะมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่และกำหนดวันในการแลกหุ้น หากราคาหุ้นทั้ง 2 สูงกว่า 120 สำหรับ NPC และ 60 บาทสำหรับ TOC นั่นถือเป็นความเสี่ยงของผู้ลงทุนเองหากเข้าไปเก็งกำไร
สำรวจก่อนตัดสินใจ
นักลงทุนที่ถือหุ้น NPC และ TOC อยู่คงต้องสำรวจต้นทุนในการซื้อว่าได้มาที่ระดับราคาใด ต้องการลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว ต้องการใช้สิทธิแลกหุ้นในบริษัทใหม่ที่จัดตั้งขึ้นหรือไม่ หากเป็นนักลงทุนระยะยาวแล้วต้องการรอรับปันผลที่ประมาณ 6-7% ก็ถือว่าน่าสนใจ ทั้งนี้คงขึ้นกับต้นทุนของการได้มาด้วยว่าสูงหรือไม่
ถ้าต้องการวัดดวงว่าเมื่อควบรวมกิจการแล้วราคาหุ้นในบริษัทใหม่จะหวือหวาก็ต้องรอลุ้นราคากัน ซึ่งอาจต้องรอถึงปลายปีหรือต้นปีหน้า แต่ราคาที่ประมาณที่ประมาณ 75 บาทนั้นถือเป็นราคาที่เต็มมูลค่าแล้ว เนื่องจากแนวโน้มของธุรกิจปิโตรเคมีเริ่มเข้าสู่วงจรขาลง โอกาสจะขยับสูงกว่านี้คงจะไม่มากนัก
ส่วนผู้ที่ได้หุ้นมาในราคาสูงอาจต้องทำใจตัดขาดทุน เนื่องจากข้อกำหนดราคารับซื้อของปตท. สำหรับผู้คัดค้านนั้นได้ใช้ราคาในวันที่ 10 สิงหาคม ซึ่งคงต่ำกว่าเพดานที่เสนอซื้อไว้ ส่วนราคาหลังจากนั้นก่อนที่จะควบรวมกันอาจปรับขึ้นได้บ้างแต่คงไม่หวือหวานัก
บริษัทที่เกิดใหม่จากการควบรวมระหว่าง NPC กับ TOC ในระยะสั้นคงยังไม่เห็นอะไรในเชิงที่เปลี่ยนแปลงมาก แต่ในระยะยาวเมื่อการบริการจัดการทุกอย่างลงตัว สามารถลดต้นทุนการผลิตที่ซ้ำซ้อน น่าจะเป็นผลบวกต่อบริษัทแห่งนี้
ขณะนี้เรื่องการควบรวมคงไม่เป็นปัญหาในเรื่องภาษีการควบรวม เพราะครั้งนี้เป็นการควบระหว่าง TOC และ NPC รวมเป็น 1 บริษัท ไม่ได้เข้าไปควบกับ ปตท.จึงไม่ต้องมีภาระภาษีการควบรวมกิจการเหมือนการควบรวมกรณีอื่น
แน่นอนว่าการควบรวมกันในครั้งนี้ประโยชน์คงตกอยู่กับ ปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ต้นทุนธุรกิจที่ลดลงได้ย่อมส่งผลบวกต่อรายได้ของบริษัทใหม่ ที่จะส่งต่อมายังผู้ถือหุ้นใหญ่ ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 อย่างปูนซิเมนต์ไทย ได้ประโยชน์จากต้นทุนในการเก็บหุ้น NPC ที่ต้นทุนค่อนข้างต่ำ แม้จะมีธุรกิจด้านปิโตรเคมีอยู่แล้ว หากปูนใหญ่ยังถืออยู่ในบริษัทที่จะเกิดขึ้นใหม่ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เพราะอย่างน้อยก็เป็นการทราบความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมนี้ไปในตัว
หากปูนใหญ่ต้องการรุกธุรกิจปิโตรเคมีของตนเองอย่างเต็มตัวแล้วขายหุ้นในบริษัทนี้ออกไปทั้งหมดคงได้กำไรอย่างงาม ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็มี เห็นได้จากความเห็นที่มีต่อการควบรวม NPC กับ TOC ว่าปัจจุบันยังคงนโยบายถือหุ้นในบริษัทที่เกิดจากการควบรวม แต่ในอนาคตคงเป็นเรื่องของการตัดสินใจของผู้บริหารปูนซิเมนต์ไทย อีกทั้งที่ผ่านมาเพิ่งเข้าไปลงทุนโครงการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีนในประเทศอิหร่านร่วมกับ NPC
|
|
 |
|
|