Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 กันยายน 2545
KTB เริ่มรุกธ.อิสลามปี46 ขยับบริการบุกตลาดตปท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ธีรศักดิ์ สุวรรณยศ
SMEs
Banking




ธนาคารกรุงไทยเตรียมเปิดสาขาธนาคารอิสลามเต็มรูปแบบทั่วประเทศ และเริ่มรุกบริการ สินเชื่อประเภทต่างๆ มากขึ้น ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป โดยมั่นใจว่า หลักการของธนาคารอิสลามจะไม่ทำให้การทำธุรกิจเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ยกตัวอย่างสินเชื่อที่อยู่อาศัย ผู้กู้จะมีภาระการชำระต่ำกว่าการกู้จากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ด้านปล่อยกู้เอสเอ็มอีของธนาคาร 25,000 ยันไม่มีปัญหาพร้อมเดินหน้าเต็มลูกสูบ

นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ประธานคณะกรรมการ ธนาคารอิสลาม ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทยเตรียมที่จะเปิดสาขาธนาคารอิสลามเต็มรูปแบบเพิ่มอีกภายในเดือนกันยายนนี้ 2545 นี้จำนวน 3 แห่งคือที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และสงขลาหลังจากที่เมื่อเดือนกรฎาคมที่ผ่านมาได้เปิดสาขาแห่งแรกไปแล้ว ที่จังหวัดนราธิวาส

และภายในปี 2546 จะสามารถ เปิดสาขาธนาคารอิสลามเพิ่มเป็น 34 สาขาเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อที่จะให้ธนาคารอิสลามเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนไม่ว่าจะเป็นผู้ถือศาสนาอิสลามหรือศาสนา อื่นใดก็ตาม หากสามารถยอมรับเงื่อน ไขของธนาคารอิสลามก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้

นายธีรศักดิ์ กล่าวว่า นอกเหนือจากเปิดธนาคารอิสลามภายในประเทศแล้ว ธนาคารกรุงไทยยังมีเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการในต่างประเทศด้วยในอนาคต ซึ่งขณะนี้วาง แผนว่าจะเปิดให้บริการในประเทศประเทศบาห์เรนและลักเซมเบิร์กซึ่งน่าจะเป็นเป้าหมายในระยะต้นสำหรับ การเปิดให้บริการในต่างประเทศ

สำหรับการให้บริการในขณะนี้ธนาคารอิสลามให้บริการในส่วนของธุรกรรมเบื้องต้นทั่วไป อาทิ การรับฝากเงิน การออกแอล/ซี แต่ในต้นปี 2546 จะเริ่มให้บริการมากขึ้นตามลำดับ แต่ทุกๆบริการของธนาคารอิสลามจะยังคงเน้นหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด คือ จะไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย แต่จะใช้วิธีการแบ่งส่วนแบ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งวิธีการดังกล่าวนั้น ใช้ได้ผลมาแล้วในหลายๆประเทศ ทั้งที่เป็นประเทศมุสลิมและ ประเทศตะวันตก

"ข้อจำกัดของธนาคารอิสลามที่ไม่ให้เงินและร่วมธุรกิจกับธุรกิจที่ขัดต่อหลักศาสนา เช่น สถานบริการเริงรมย์ การกักเก็บสินค้า ไม่ถือเป็นข้อเสียเปรียบในการทำธุรกิจ เนื่องจากลูกค้าประเภทอื่นๆยังมีอีกมาก และจากการสำรวจมาแล้วในประเทศมาเลเซียพบว่า สินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอิสลาม เมื่อคำนวณแล้วผู้ใช้บริการจะมีภาระในการชำระเงินให้กับธนาคารอิสลาม ต่ำกว่าหากใช้บริการของธนาคารพาณิชย์ในสินเชื่อประเภทเดียวกัน" นายธีรศักดิ์กล่าว

สำหรับกรณีของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอิสลาม นายธีรศักดิ์กล่าวว่า ธนาคารจะใช้วิธีการคำนวณราคาบ้านในอนาคตจนสิ้นสุดอายุสัญญา จากนั้นจึงจะทอนเงินผ่อนในแต่ละงวด ให้ผู้กู้ได้ทราบ โดยอัตราการชำระแต่ละเดือนจะเท่ากันตลอดอายุสัญญา ทำให้ผู้กู้สามารถรู้ภาระของตนเองได้ตลอดอายุสัญญา ไม่มีปัญหาความเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป เหมือนกับการกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปทั้งนี้ในปัจจุบันธนาคารกรุงไทย เปิดสาขาธนาคารอิสลามไปแล้ว 5 สาขา และ14 เคาน์เตอร์บริการ

ปล่อยกู้เอสเอ็มอีไม่ติดขัด ผ่าโครงการร่วมมือสสว.

นายอนันตผล พันธุ์เพ็ง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็ม อีและรักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสิน เชื่อเอสเอ็มอี ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เป้าหมายสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ของธนาคารในปีนี้ ยืนยันว่าจะสามารถปล่อยกู้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ 25,000 ล้านบาท แม้ว่า ณ ปัจจุบัน สามารถอนุมัติยอดสินเชื่อเอสเอ็มอีไปได้ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท

โดยมียอดเบิกไปใช้จ่าย ณ สิ้นมิถุนายนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท โดยยอดอนุมัติสินเชื่อเอสเอ็มอี 25,000 ล้านบาท นั้นคาดว่าลูกค้าจะสามารถเบิกเงินไปใช้จ่ายประมาณ 15,000-17,000 ล้านบาท

"ธนาคารยังมั่นใจว่าจะสามารถปล่อยกู้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แน่นอน เพราะเศรษฐกิจโดยรวมได้มีการปรับตัวดีขึ้นเยอะและเมื่อต้นปีมีลูกค้า มาคุยกับธนาคารเป็นจำนวนมากและยิ่งมั่นใจไปกว่านั้นคือธนาคารไม่ต้องกังวลเรื่องการปรับโครง สร้างองค์กรของธนาคาร ซึ่งปัจจุบันถือว่านิ่งแล้ว เพราะฉะนั้นธนาคารจึงสามารถลุยงานได้เต็มท" นายอนันตผลกล่าว

สินเชื่อเอสเอ็มอีรายใหม่ นั้น ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล แต่ธนาคารก็ได้ตั้งเป้าว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีใหม่จะมีเอ็นพีแอลได้ไม่เกินร้อยละ 2 สินเชื่อเอสเอ็มอีที่ปล่อยไปส่วนใหญ่ เป็นลูกค้าที่ผลิตสินค้า เป็นลูกค้าที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าต่างๆ แต่ยอด สินเชื่อในครึ่งปีแรกนั้นส่วนใหญ่เป็นภาคธุรกิจการ บริการ ประเภทสถานีบริการน้ำมัน ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หากเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือฟื้นตัวจริง เชื่อว่าภาคธุรกิจอุตสาหกรรมประเภทผลิตสินค้าเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ พวกที่ซัปพอร์ตจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าภาคธุรกิจการบริการ เพราะกลุ่มนี้จะต้องใช้เงินทุนสูง

สำหรับโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่ต้องการฟื้นฟูกิจการของตัวเอง โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นแกนนำ ซึ่งธนาคารมีหน้าที่ในการอนุมัติสินเชื่อนั้น ล่าสุด ยังไม่ได้เริ่มอนุมัติสินเชื่อ แต่ได้มีลูกค้าได้เข้ามาติดต่ออย่าง ต่อเนื่องซึ่งมียอดผู้มาติดต่อแล้วไม่ต่ำกว่ า 30 ราย เป็นลูกค้ารายใหม่เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เพราะโครงการ ดังกล่าวลูกค้าต้องผ่านการคัดเลือกมาจากทางการก่อน และมีสอบถามทุกวัน ซึ่งโครงการดังกล่าวกำลังไปได้ด้วยดี

ส่วนโครงการยุทธศาสตร์ธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจข นาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) นั้น กรุงไทยให้การสนับสนุนจำนวน 106,500 ล้านบาท ณ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งโครงการดังกล่าวแบ่ง เป็น 2 โครงการ

โครงการแรก เป็นการจัดตั้งกองทุน 3 กองทุน ใน 3 กองทุน แบ่งออกเป็น

1.กองทุนจัดหาเงินทุนให้ผู้ประกอบการชุมชน ที่เป็นลูกค้ารายเล็ก มีวงเงินรายละ 10,000 บาท แต่เวลาปล่อย กู้นั้น จะปล่อยในลักษณะของการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม 1-10 ราย โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งกองทุนนี้ธนาคารกรุงไทยให้การสนับสนุน 5,000 ล้านบาท ธนาคารออมสินให้การสนับสนุน 5,000 ล้านบาท

2.กองทุนร่วมทุน เน้นเอสเอ็มอีที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มลูกค้าที่ขาดหลักประกัน เป็นลูกค้าเอ็นพีแอล กรุงไทยให้การสนับสนุน 20,000 ล้านบาท ซึ่ง กองทุนจัดหารเงินทุนกับกองทุนร่วมทุน เป็นการให้กู้ และธนาคารพาณิชย์ของรัฐอื่น ๆ อีก 20,000 ล้านบาท และ

3. เป็นกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีเพื่อนำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) กรุงไทยให้การสนับ สนุน 3,000 ล้านบาท ธนาคารอื่นๆ ของรัฐอีก 7,000 ล้านบาท รวม ทั้ง 3 กองทุน มูลค่ารวม 60,000 ล้านบาท กรุงไทยให้การสนับสนุน 28,000 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี นับจาก มิถุนายน2545-กรกฎาคม 2547

โครงการที่ 2 เป็นการให้การสนับสนุนสินเชื่อ 7 โครงการย่อย ซึ่งกรุงไทยให้การสนับสนุน 78,500 ล้านบาท ในระยะเวลา 2 ปี แบ่งออกเป็น สินเชื่อผู้ประกอบการรายใหม่ 6,500 ล้านบาท, สินเชื่อผู้ประกอบการส่งออก 10,000 ล้านบาท,สินเชื่อผู้พัฒนาเอสเอ็มอี 30,000 ล้านบาท, สินเชื่อพัฒนาเอสเอ็มอีขนาดเล็ก 20,000 ล้านบาท, สินเชื่อนับสนุนเงินทุนดำเนินการ หรือ Matching Fund 5,000 ล้านบาท, สินเชื่อช่วยเหลือร้านค้ารายย่อย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าเข้าร้านค้า 2,000 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการช่วยเหลือและพัฒนาเอสเอ็มอีขนาดจิ๋ว 5,000 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us