Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 สิงหาคม 2548
ธ.กรุงเทพดึง"ชอง โท"ขึ้นผู้ช่วยเอ็มดีปรับกลยุทธ์ดันบัวหลวงติดท็อปไฟว์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ หลักทรัพย์บัวหลวง, บมจ.

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
หลักทรัพย์ บัวหลวง, บมจ.
ชอง โท
Financing




บล.บัวหลวงปรับโครงสร้างการบริหารใหม่หลัง "ชอง โท" ถูกดันให้ไปนั่งเก้าอี้ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่แบงก์กรุงเทพ พร้อมควบประธานกรรมการบริหาร บล.บัวหลวง อีกตำแหน่ง ขณะที่ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ ขึ้นแท่นกรรมการผู้อำนวยการแทน ส่งผลทำให้ความร่วมมือทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ส่วนไตรมาส 2 ปีนี้กำไรหด 10.63% จากช่วงเดียวกัน ขณะที่เอเซีย พลัสพลิกจากขาดทุนเป็นกำไร เหตุตัดจำหน่ายต้นทุนเงินลงทุนที่เกินกว่ามูลค่ายุติธรรมของบริษัทย่อยเป็นค่าใช้จ่าย

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ประธานคณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างการจัดการใหม่ เนื่องจาก นายชอง โท ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารกรุงเทพให้ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบงานกิจการธนาคารต่างประเทศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการบล.บัวหลวงได้แต่งตั้งให้นายชอง โทเป็นประธานกรรมการบริหารและให้นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ จากกรรมการผู้จัดการ เป็น กรรมการผู้อำนวยการแทนนายชอง โท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548

การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ในความร่วมมือ ระหว่างธนาคารกรุงเทพและบล. บัวหลวงมากยิ่งขึ้น

นายชอง โท กรรมการ ผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง กล่าวว่า มีแผนที่จะผลักดัน บล.บัวหลวง เป็นผู้นำเสนอบริการด้านหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าสำคัญของธนาคาร, พัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ระหว่างประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพราะจะเห็นได้จากที่มีกระแส การลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุน ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีน, ตั้งเป้าจะทำให้ บล. บัวหลวงเป็นหนึ่งในห้าของผู้นำในบริษัทหลักทรัพย์ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมให้ได้ 5% ภายใน 3 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม การออกไปบริหารงานกับธนาคารกรุงเทพ นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบล. บัวหลวงแต่อย่างใด เพราะบริษัทมีการวางระบบที่ดี และถึงแม้จะ มีคนหนึ่งคนใดออกไปก็ไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อบริษัทแต่อย่าง ใด

นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บล.บัวหลวง เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้บริษัทมีมาร์เกตแชร์อยู่ในระดับ 3.7-3.8% ซึ่งการที่จะทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดให้ได้ 5% ภายใน 3 ปีนั้น จะต้องเพิ่มสัดส่วนลูกค้าสถาบัน ขึ้นอีก ซึ่งขณะนี้สัดส่วนลูกค้าจะเป็นนักลงทุนทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ผ่านมาสัดส่วนนักลงทุนทั่วไปลดลงไปบ้างจาก 72% เหลือ 63% แต่ในส่วนของนักลงทุน ต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 26% และนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 10% โดยคาดว่าภายในครึ่งปีหลัง สัดส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศจะเพิ่มเป็น 15%

นอกจากนี้ บริษัทก็มีแผน การร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ โดยจะมีการออกโครงการนำร่อง โดยธนาคารกรุงเทพจะแนะนำลูกค้าเงินฝากของธนาคารที่สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯให้มาซื้อขายกับ บล.บัวหลวง โดยในช่วง แรกนี้โครงการจะเริ่มจาก 2 สาขาของธนาคารกรุงเทพก่อน

ส่วนธุรกิจวาณิชธนกิจ ของบริษัทในช่วงครึ่งปีแรกได้รับ ผลกระทบจากภาวะตลาดหุ้นที่ ไม่เอื้ออำนวย จึงทำให้เลื่อนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออกไป 2 บริษัทคือบริษัทแอสคอน คอนสตรัคชั่นและบริษัทไดมอนรูสไทม์ ซึ่งจะเข้า มาจดทะเบียนในครึ่งปีหลังขณะที่พอร์ตการลงทุนของ บล.บัวหลวง ขณะนี้มีการลงทุนประมาณ 200 กว่าล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นทั้งหมด

ทั้งนี้ ในอนาคตอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงเนื่องจากตลาดอนุพันธ์ที่จะเกิดขึ้นน่าจะมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งหากพิจารณาในแง่ความเสี่ยงและความน่าสนใจการลงทุนก็จะมีมากขึ้น โดยบริษัทอาจจะมีการพิจารณาเข้าลงทุนในหุ้นหากภาวะการลงทุนอำนวย

"การปรับตัวเชิงรุกในครั้งนี้มี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในองค์กรเพียงเล็กน้อย เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารได้ให้ความไว้วางใจ ในการบริหาร และปัจจุบันนี้ธนาคาร กรุงเทพก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทในสัดส่วน 56%Ž " นายญาณศักดิ์กล่าว

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2/48 มีกำไรสุทธิ 25.98 ล้านบาท ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร สุทธิ 29.07 ล้านบาท หรือลดลง 3.09 ล้านบาท หรือ 10.63% เนื่องจากปริมาณการซื้อขายในตลาดหลัก- ทรัพย์ฯลดลง 17.57% เอเซีย พลัส 6 เดือน 17 สต.

ด้าน บล.เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP แจ้งว่า ผลประกอบการในงวดไตรมาส 2 (สิ้นสุด 30 มิ.ย.) กำไรสุทธิ 97.87 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.05 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 4,326.73 ล้านบาท ขาด ทุนสุทธิต่อหุ้น 2.47 บาท ส่วนในงวด 6 เดือนปี 2548 มีกำไรสุทธิ 327.31 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.17 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 4,107.73 ล้าน บาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 2.68 บาท

นายจิรวัฒน์ ลิ้วประเสริฐ กรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 327.31 ล้านบาท เปรียบ เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน บริษัทมีกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้เป็นจำนวนเงิน 352.31 ล้านบาทและเมื่อตัดจำหน่ายต้นทุนเงินลงทุนที่เกินกว่ามูลค่ายุติธรรมของบริษัทย่อยเป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 4,460 ล้านบาท ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิในงวดปีก่อนเป็นจำนวนเงิน 4,107.73 ล้านบาท

สำหรับรายได้จากค่านายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงจาก 1,075.11 ล้านบาทในงวดปีก่อน เป็น 824.28 ล้านบาทในงวดปีนี้ หรือลดลง 23.33% และรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นจาก 18.00 ล้านบาทในงวดปีก่อนเป็น 76.60 ล้านบาทในงวดปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 325.57% และมีผลขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ในงวดปีนี้ 3.16 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดปีก่อนมีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ 10.18 ล้านบาทดอกเบี้ยและเงินปันผลเพิ่มขึ้นจาก 11.25 ล้านบาทในงวดปีก่อน เป็น 26.71 ล้านบาทในงวดปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 137.37%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us