Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2530
ภาษาอังกฤษ : UNIGUE SELLING POINT             
 

   
related stories

อัสสัมชัญ The Elementary School for Business Man?
"อัสสัมชัญ" ชื่อนี้มีความหมาย
"คณะเซนต์คาเบรียล" เรื่องของเถ้าแก่ หรือมืออาชีพในการบริหารการศึกษา

   
search resources

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
Education
โรงเรียนอัสสัมชัญ




สินค้าหนึ่งๆ ถ้ามีจุดขายทีเด่นชัดแตกต่างไปจากสินค้าประเภทเดียวกันรายอื่นๆ ผู้บริโภคย่อมเห็นความแตกต่าง เมื่อลองใช้แล้วสินค้านั้นคุณภาพดี สิ่งที่ตามมาก็คือยอดขายและภาพพจน์ที่ดี

อัสสัมชัญก็เช่นกัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จุดขายในทุกๆ รอยต่อแห่งการขยายสถาบันการศึกษาออกไปอยู่ที่ "ภาษาอังกฤษ" จากแรกเริ่มโรงเรียนอัสสัมชัญที่สอนด้วยภาษาอังกฤษ ขยายการศึกษาออกมาในระดับพาณิชยการก็เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ด้วยการสอน COMMERCE เป็นภาษาอังกฤษและในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจก็เปิดสอนบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรีด้วยภาษาอังกฤษ

ใครๆ ก็รู้สึกได้ว่าอัสสัมชัญต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นที่ "ภาษาอังกฤษ"

เมื่อศึกษาจากประวัติอัสสัมชัญแล้วเมื่อแรกนั้น อัสสัมชัญอาจไม่ต้องการให้ภาษาอังกฤษเป็นจุดเด่นของสถาบันก็ได้ แต่เพราะมีสถานการณ์หลายอย่างบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น เพราะบาทหลวงกอลมเบต์ และภราดาคณะเซนต์คาเบรียลที่เข้ามาดำเนินการตอนนั้น เป็นนักบวชและเป็นชาวต่างประเทศ ข้อจำกัดด้านนี้ทำให้ต้องเน้นภาษาต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศสยามรวมกำลังเปิดประเทศ มีการติดต่อซื้อขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้น บุคลากรที่ตลาดต้องการส่วนใหญ่ต้องมีพื้นความรู้ทางด้านภาษา ที่จะสามารถทำงานหรือติดต่อกับชาวต่างประเทศได้

"นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญรุ่นแรกๆบางคนยังไม่จบก็มีบริษัทห้างร้านต่างๆ มาจองตัวไปทำงานแล้ว บางทีไปเป็นล่ามก็มี" มาสเตอร์เก่าแก่ของโรงเรียนคนหนึ่งเล่าให้ฟัง

ภาษาอังกฤษเป็นหน้าตาของโรงเรียนอัสสัมชัญมาแต่ไหนแต่ไร เพราะการสอนเน้นให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษทั้งในและนอกเวลาเรียน หากใครฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษด้วยวิธีการต่างๆ นักเรียนอัสสัมชัญในโดยเฉพาะในสมัยแรกๆ จึงมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี

ครั้นเมื่อแยกโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ออกมา ด้วยแนวความคิดที่จะให้เป็นโรงเรียนการพาณิชย์ที่ผลิตบุคลากรออกมาให้ PRACTICAL มากที่สุด ก็มีหลักสูตร COMMERCE แบบต่างประเทศที่สอนด้วยภาษาอังกฤษล้วน

และมีเมื่อขยายการศึกษาออกมาถึงขั้นอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัยบริหารธุรกิจ มีแนวคิดหลักที่จะให้เป็นสถาบันการศึกษาการบริหารธุรกิจที่ผลิตบุคลากรออกมาในลักษณะ INTELLESTUAL ก็สอนเป็นภาษาอังกฤษล้วนเช่นกัน

ครั้งถึงวันนี้ก็มีคำถามว่า จุดแตกต่างเรื่องภาษาอังกฤษของสถาบันการศึกษาเครืออัสสัมชัญนั้น จะต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ ในระดับเดียวกันได้นานสักเพียงไร

โรงเรียนอัสสัมชัญขณะนี้ต้องใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ชั่วโมงภาษาอังกฤษจำกัดให้ลดน้อยลง แม้โรงเรียนจะหาทางออก โดยการเสริมชั่วโมงภาษาอังกฤษเข้าในบางวิชาที่เห็นว่าลดชั่วโมงเรียนลงได้ และสามารถเรียนได้ตามที่กระทรวงฯ กำหนดก็ตาม

"เดี๋ยวนี้เด็กมีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจมาก มีโทรทัศน์ การ์ตูน และโรงเรียนจะลงโทษเด็กรุนแรงเหมือนสมัยก่อนก็ไม่ได้" มาสเตอร์โรงเรียนอัสสัมชัญคนหนึ่งออกความเห็นว่า ภาพนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญเก่งภาษาอังกฤษนับวันจะเลือนลางลง เพราะปัจจัยภายนอกที่โรงเรียนควบคุมไม่ได้

สำหรับโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์เมื่อแรกใช้หลักสูตร COMMERCE แบบต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษล้วน เพราะมุ่งให้นักเรียนที่เรียนจบสามาถทำงานได้ทันที แต่ในปัจจุบันนักเรียนมีความต้องการศึกษาต่อมากขึ้นถึง 80% โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์จึงต้องยอมปรับตัวรับหลักสูตร ปวช.ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด เพื่อแลกกับประกาศนียบัตร ม.6 และเพื่อนักเรียนจะได้เรียนต่อได้โดยไม่ต้องไปสอลเทียบอีก รวมทั้งสิทธิที่นักเรียนชายจะได้เรียนรักษาดินแดน

"เราคิดว่าหลักศูตรใกม่ COMMERCE ผสม ปวช.กับหลักสูตรเก่านั้นไม่แตกต่างกันนัก เพียงแต่หลักสูตรใหม่นักเรียนต้องทำงานหนักขึ้น คือต้องเรียนวิชาที่กระทรวงบังคับและเรียนตำราภาษาอังกฤษด้วย" หัวหน้าฝ่ายวิชการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ กล่าวกับ"ผู้จัดการ" ว่าขณะนี้มี 2 หลักสูตร

1. หลักสูตรเก่า เป็นหลักสูตร COMMERCE แบบต่างประเทศ
2. หลักสูตรใหม่ COMMERCE ผสม ปวช. ซึ่งผู้เรียนจบจะได้ประกาศนียบัตร ม.6 และมี

สิทธิเรียนวิชาทหาร

"เราคิดว่าจะปรับให้หลักสูตรใหม่นี้ให้เป็นระดับปวส. และคิดว่าอีก 2 ปี หลักสูตรเก่าก็จะถูกลืนไปเหลือเพียงหลักสูตรเดียว" หัวหน้าฝ่ายวิชาการกล่าวเสริมกับ "ผู้จัดการ" ถึงแนวทางการปรับตัว "ไม่ถึงกับสูญเสียหมดไปแต่คงเหลือของเดิมอยุ่บ้าง"

ส่วนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจนั้น ขณะนี้ดูเหมือนจะมีจุดขายที่ภาษาอังกฤษเด่นชัดกว่าที่อื่น เพราะในระดับปริญญาตรียังไม่มีสถาบันใดที่สอนบริหารธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร และทางนักศึกษาก็ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการให้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ในกลุ่มนักศึกษาถึงกับมีหน่วยสอดแนมจับตาอาจารย์สอน ถ้าอาจารย์คนใดเผลอสอนเป็นภาษาไทยจะถูกเตือนทันที

ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจภาษาอังกฤษยังเป็นจุดขายเด่นชัด และนักศึกษาให้ความร่วมมือและปกป้องผลประโยชน์ในเรื่องภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีนั้น

อาจเป็นเพราะค่าเล่าเรียนหน่วยกิตละ 275 บาทก็เป็นได้!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us