Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 มิถุนายน 2548
กรีนสแปนเร่งจีนใช้ระบบแลกเปลี่ยนยืดหยุ่น             
 


   
search resources

Economics
International




ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ผ่านดาวเทียมต่อที่ประชุมนายแบงก์นานาชาติในกรุงปักกิ่ง อลัน กรีนสแปน ประธานผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ถือโอกาสเรียกร้องให้จีนนำระบบอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งมีความยืดหยุ่นมากขึ้นมาใช้กับสกุลเงินหยวน โดยเขาบอกว่าเรื่องนี้จะเป็นผลดีอย่างมากแก่จีนเอง และเขาเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ด้วย แต่กรีนสแปนบอกว่า การปรับค่าเงินหยวนจะไม่ช่วยให้สหรัฐฯแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการค้าได้เท่าใดนัก เพราะแม้ค่าเงินแข็งอาจทำให้สินค้าจีนเข้าสู่อเมริกาได้น้อยลง แต่ก็จะมีสินค้าของชาติอื่นๆ ซึ่งต้นทุนต่ำกว่าแดนมังกรนิดหน่อยเข้าไปแทนที่อยู่ดี อย่างไรก็ตาม ทางด้านโจวเสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีนกล่าวในที่ประชุมเดียวกันว่า แดนมังกรยังต้องการเวลาอีกระยะหนึ่งก่อนที่จะเข้าสู่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะจากประสบการณ์ในอดีตชี้ให้เห็นว่า การปฏิรูปควรจะค่อยๆ ทำไปทีละก้าวจึงจะประสบความสำเร็จ

มาเลเซียเผยแผนพัฒนารัฐยะโฮร์

หนังสือพิมพ์นิวสเตรทส์ไทมส์ของแดนเสือเหลืองรายงานว่า มาเลเซียได้เปิดเผยแผนแม่บทในการพัฒนารัฐยะโฮร์ ซึ่งเป็นดินแดนตอนใต้สุดและอยู่คนละฟากช่องแคบกับประเทศสิงคโปร์ ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การท่องเที่ยว และการศึกษา โดยที่มี คาซานาห์ นาซิโอนัล ซึ่งเป็นกิจการเพื่อการลงทุนของรัฐบาลกลาง ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ต่างๆ ในแผนแม่บทนี้ อาทิ โครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารที่ทำการศุลกากร กองตรวจคนเข้าเมือง และกองกักกันโรค มูลค่า 210 ล้านดอลลาร์ ขณะที่นายกรัฐมนตรี อับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี ของมาเลเซียชี้ว่า การพัฒนาในรัฐยะโฮร์ ควรจะเป็นตัวเสริมการพัฒนาใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสิงคโปร์ แม้จะมิได้มีความมุ่งหมายเพื่อรองรับแผนการของแดนลอดช่องก็ตาม ทั้งนี้การพัฒนาใหม่ๆ ในสิงคโปร์ซึ่งอับดุลเลาะห์พูดถึง ก็คือโครงการที่สิงคโปร์จะก่อสร้างสถานกาสิโนระดับยักษ์ 2 แห่ง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้มากขึ้นนั่นเอง

แผนแม่บทท่องเที่ยวลาว

องค์การบริหารการท่องเที่ยวแห่งชาติของลาว (เอ็นทีเอ) บริษัทนำเที่ยว และองค์กรเอ็นจีโอ ได้ประชุมหารือกันวาดแผนใหม่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ฉายภาพให้ลาวเป็นอัญมณีแห่งลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

กลุ่มจี8หาทางเพิ่มศักยภาพกลั่นน้ำมัน

หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า กลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) อันประกอบด้วย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี แคนาดา และรัสเซีย กำลังพิจารณาที่จะใช้มาตรการลดหย่อนภาษีแก่พวกบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ เพื่อจูงใจให้บริษัทเหล่านี้ขยายศักยภาพในการกลั่นน้ำมัน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนผลิตภัณฑ์น้ำมัน แผนการนี้เป็นการปฏิบัติตามคำเตือนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งชี้ถึงปัญหาการขาดแคลนศักยภาพในการกลั่นน้ำมัน และคาดว่าจะได้รับการบรรจุไว้เป็นวาระหนึ่งในการประชุมกลุ่ม จี 8 ที่สก็อตแลนด์เดือนหน้า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีกลุ่มล็อบบี้จำนวนมากกำลังพยายามกดดันให้กลุ่มชาติร่ำรวยนี้เอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาความยากจนของโลกให้มากขึ้น ประกอบกับบริษัทน้ำมันเวลานี้ก็มีผลกำไรงดงามมาก ดังนั้นข้อเสนอให้แรงจูงใจแก่ยักษ์ใหญ่เหล่านี้ จึงอาจประสบปัญหาถูกต่อต้านคัดค้าน

มาเลเซียเปิดทางสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นเพิ่มบทบาทดูแลช่องแคบมะละกา

ในระหว่างการประชุมนานาชาติว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยในเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ นาจิบ ราซัค รองนายกฯและรัฐมนตรีกลาโหมของมาเลเซีย กล่าวว่าแม้การรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ช่องแคบมะละกา ต้องเป็นภารกิจของ 3 ประเทศเจ้าของอธิปไตยเหนือน่านน้าบริเวณนั้น อันได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย แต่เวลานี้มาเลเซียกำลังมีความปรารถนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่จะรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะชาติซึ่งมีผลประโยชน์ทางการพาณิชย์อย่างมากในช่องทางน้ำนี้ อาทิ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น อาจจะเข้ามาช่วยในด้าน "การสร้างเสริมศักยภาพ" ทั้งนี้เขายกตัวอย่างว่า ยินดีต้อนรับความสนับสนุนในรูปของทีมฝึกอบรมเคลื่อนที่จากกองบัญชาการทหารภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ ส่วนชาติอื่นๆ อย่างญี่ปุ่น ก็สามารถช่วยเหลือในด้านการร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการสร้างระบบติดตามแบบไฮเทคที่อาศัยเรดาร์ประสานกับดาวเทียม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us