Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์16 มิถุนายน 2548
กลุ่มจี8ปลดหนี้18ประเทศยากจน             
 


   
search resources

International




กอร์ดอน บราวน์ ขุนคลังอังกฤษ ในฐานะเจ้าภาพ ได้แถลงผลการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) ที่กรุงลอนดอนว่า สามารถตกลงกันได้ที่จะล้างหนี้ในทันทีให้กับประเทศยากจนของโลกรวม 18 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา คิดเป็นมูลค่ารวม 40,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น ยังจะปลดหนี้ 100% ให้แก่ชาติยากจนอีก 9 ประเทศในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า เป็นมูลค่ารวม 11,000 ล้านดอลลาร์ และหลังจากนั้นก็จะให้ความช่วยเหลือแบบเดียวกันแก่อีก 11 ประเทศ คิดเป็นวงเงิน 4,000 ล้านดอลลาร์ รวมแล้วจะทำให้ยอดการปลดหนี้ทั้งหมดอยู่ที่ 55,000 ล้านดอลลาร์ หนี้สินที่จะปลดให้ดังกล่าวนี้ครอบคลุมทั้งส่วนซึ่งติดค้างกลุ่มจี8, ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, และธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาค ปรากฏว่าหลังประกาศแผนการดังกล่าวนี้ออกไป ก็ได้รับคำยกย่องชมเชยเป็นอันมากทั้งจากเหล่าชาติยากจน ตลอดจนกลุ่มเคลื่อนไหวภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม มีเสียงท้วงติงเช่นกันว่า หากจะช่วยประเทศยากจนให้พ้นทุกข์ได้จริงแล้ว จำเป็นต้องให้เงินช่วยเหลือก้อนใหม่ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาด้วย และที่สำคัญยิ่งคือประเทศร่ำรวยต้องเลิกอุดหนุนภาคเกษตร ชาติยากจนจะได้มีช่องทางทำมาหากินกับการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

มาเลย์เสนอเอเชียใช้"การทูตพลังงาน"

ในการกล่าวเปิดการประชุมน้ำมันและแก๊สเอเชีย นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี แห่งมาเลเซียชี้ว่า โลกในอนาคตจะมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น โดยที่สำคัญแล้วสืบเนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจในเอเชีย และนั่นก็เป็นเหตุให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติของแต่ละประเทศต่างต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดขึ้นทุกทีเพื่อแสวงหาทรัพยากรพลังงานให้เพียงพอ สภาพเช่นนี้เองนำไปสู่การเพิ่มเก็บสะสมน้ำมันเอาไว้ในคลัง และกลายเป็นการเพิ่มดีมานด์ซึ่งทำให้ราคายิ่งขยับสูง ดังนั้น ประเทศต่างๆ ในเอเชียจึงควรหันมาร่วมมือกันดำเนิน "การทูตพลังงาน" ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะลดการพึ่งพาซัปพลายพลังงานจากภายนอกภูมิภาคให้น้อยลง และลดการพึ่งพาการสต็อกน้ำมัน อันจะส่งผลให้ลดแรงกดดันซึ่งมีผลต่อระดับราคาลงไปได้มาก

เวียดนามคุยปีนี้ท่องเที่ยวบูมมาก

การท่องเที่ยวเวียดนามแถลงสถิติล่าสุดว่า ในเดือนพฤษภาคมเพียงเดือนเดียว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปประเทศนี้เกือบ 300,000 คน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้พุ่งขึ้นเป็น 1.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.4% จากระยะเดียวกันของปีก่อน นักท่องเที่ยวซึ่งเพิ่มขึ้นนี้มาจากหลายทิศหลายทาง โดยจากเยอรมนีมีอัตราขยายตัวสูงสุดคือ 105.3% และจากเอเชียก็ขยับขึ้นหลายประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ 68.8% เกาหลี 59.4% สิงคโปร์ 55.2% ไทย 41.2% และมาเลเซีย 30.5%

สหรัฐฯขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น

กระทรวงพาณิชย์อเมริกันรายงานว่า เดือนเมษายนสหรัฐฯขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 57,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากยอดนำเข้าน้ำมันยังคงขยายตัวล้ำเกินยอดส่งออก ซึ่งอันที่จริงทำสถิติสูงสุดใหม่ เพราะได้ยอดขายเครื่องบินพาณิชย์เข้ามาช่วย อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองโลกแง่ดีว่า การขาดดุลเดือนนี้สะท้อนราคาสินค้านำเข้าโดยเฉพาะพวกน้ำมันซึ่งแพงขึ้น ไม่ใช่มีการนำเข้าเป็นปริมาณมากขึ้น ดังนั้นหากคำนวณโดยตัดปัจจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของราคาออกแล้ว ตัวเลขขาดดุลในเดือนเมษายนจะลดลงเล็กน้อยด้วยซ้ำ จากระดับเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนแรกปีนี้

จีนได้เปรียบดุลการค้าพุ่งลิ่ว

กรมศุลกากรจีนแถลงตัวเลขดุลการค้าประจำเดือนพฤษภาคม ปรากฏว่าเกินดุลสูงที่สุดในรอบปีนี้ โดยอยู่ที่ 8,990 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ทางฝั่งการส่งออก ทำได้เพิ่มขึ้น 30.3% จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว แม้จะชะลอลง 31.9% จากเดือนเมษายน ทว่าในฝั่งนำเข้า กลับเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเพียง 15% และลดลงจากเดือนเมษายนซึ่งการนำเข้ายังขยายตัวในระดับ 16.2%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us