"เจ๊รัช" ปรับตัวอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากอาหารพื้นเมืองอีสานวางขายในลัง
มาเป็นสินค้าขึ้นห้างฯ พร้อมได้รับ "ไทยแลนด์แบรนด์" เตรียมการเป็นสินค้าส่งออกในอนาคต
มารุต อ้วนไตร หนุ่มโสดวัย 39 ปี เศษ คือ ผู้ที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ธุรกิจจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ที่คนขอนแก่นรู้จักกันมาเกือบ
40 ปีในชื่อ "จ๊รัช" หลังจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
และหาประสบการณ์งานขายในกรุงเทพฯ ได้ไม่กี่ปีเขาก็ตัดสินใจเดินทางกลับขอนแก่น เพื่อช่วยการค้า ที่บ้านเกิดคือ ร้าน
"เจ๊รัช" ศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง จิปาถะ ทั้งกุนเชียง หมูหยอง
หมูยอ แหนม ฯลฯ
ในปี 2532 ภายหลังการเข้ามาคลุกคลีช่วยแม่คือ รัชนี อ้วนไตร ทั้งงานขายหน้าร้าน และงานผลิตโรงงาน
มารุตได้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคต่างจังหวัดว่ากำลังเปลี่ยนแปลงตามกระแสการค้ารูปแบบใหม่คือ ให้ความสนใจเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ
(Convinient store) มากขึ้นเพราะเลือกซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว ขณะที่ร้านเจ๊รัชในขณะนั้น ยังเป็นการขายปลีกแบบเก่า
คือ กองสินค้าในกระบะหรือแขวนไว้แล้วให้ลูกค้าหยิบหรือสั่งว่าจะเอาเท่าไหร่แล้วชั่งกิโลขาย
ที่สำคัญในฐานะ ที่สินค้าอาหารพื้นเมืองแปรรูปของเจ๊รัชนั้น มีลูกค้ารู้จักกว้างขวางไม่เฉพาะในขอนแก่น
นักทัศนาจร นักท่องเที่ยวต่างจังหวัดก็ให้การยอมรับในคุณภาพมานานเช่นกัน
จึงน่าจะปรับรูปแบบร้านใหม่ เพื่อสร้างภาพพจน์ให้น่าเชื่อถือมากขึ้น ก่อน ที่ร้านค้าอาหารพื้นเมืองแปรรูปเจ้าอื่นๆ
จะปรับตัวชิงความได้เปรียบก่อน
มารุตกล่าวว่าตามรูปแบบร้าน ที่ตนต้องการตกแต่งใหม่นั้น เป็นการจำลองรูปแบบของร้านสะดวกซื้อมาใช้
ภายในร้านจะสว่าง ติดเครื่องปรับอากาศ ดูแล้วสะอาดตา สินค้าอยู่ในบรรจุหีบห่อ ที่สวยงาม
ลูกค้าสามารถเดินเลือกซื้อสินค้า ที่แพ็กไว้ได้ง่าย พร้อม กับเพิ่มตู้แช่เครื่องดื่มเข้าไป
แม้ว่าจะต้องลงทุนสูง แต่ตอนนั้น ก็มั่นใจว่ารูปแบบใหม่นี้ลูกค้าต้องยอมรับได้แน่นอน
อย่างไรก็ตามการที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบของร้านใหม่ในลักษณะร้านสะดวกซื้อ ที่ติดเครื่องปรับอากาศก็ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย
โดยเฉพาะการเปลี่ยน แนวคิดของคนรุ่นเก่าคือ แม่ รัชนี ซึ่งคุ้นเคยกับการขายสินค้าแบบง่ายๆ
เปิดหน้าร้านโล่งกว้างให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้สะดวก การจัดวางสินค้าก็กองรวมกันในถาด
บางประเภทอย่าง
กุนเชียงก็แขวนห้อยกับเหล็ก ลูกค้าจะซื้อมากน้อย ก็ชั่งกิโลขายให้ลูกค้าเห็นกับตา
ขณะที่รูปแบบร้านใหม่ของมารุต นั้น จะต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง หน้าร้านจะติดกระจกใสให้ลูกค้าเห็นจากข้างนอก
เข้าออกผ่านประตูเล็กๆ ภาย ในร้านติดเครื่องปรับอากาศ และมีการจัดวางสินค้าให้เป็นหมวดหมู่
ตามประเภทของอาหาร โดยของแห้ง ที่ทำจากหมูจะวางบนชั้นวางอย่างเป็นระเบียบ
สินค้าจะบรรจุในถุงใสหลากหลายขนาดพร้อมกับระบุราคาข้างถุงตายตัว ไม่สามารถต่อรองได้เหมือนเดิม
ส่วนของสดก็ใส่ในตู้แช่
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเครื่องดื่มประเภทเหล้า เบียร์ เข้าไปด้วย เพราะจากการสังเกตการซื้อสินค้าของลูกค้าหลายต่อหลายครั้ง ที่ผ่านมา
บางส่วนจะถามถึงเครื่องดื่มด้วย เป็นการเพิ่มตัวเลือกให้กับลูกค้าแบบครบสมบูรณ์
การปรับโฉมใหม่ดังกล่าว รัชนีหวั่นว่าลูกค้าจะไม่คุ้นเคย ไม่กล้า ที่จะเข้ามาซื้อของในร้าน
อาจเข้าใจผิดว่าสินค้าราคาจะต้องสูงขึ้น จะกระทบต่อธุรกิจ ที่อุตส่าห์สั่งสมชื่อเสียงมาเป็นเวลานาน
โดยเฉพาะงบประมาณลงทุน ที่ต้องใช้สูงถึง 5 ล้านบาทนั้น รัชนีมองว่าเป็นวงเงิน ที่สูงจนเกินไปสำหรับร้านขายสินค้าอาหารพื้นเมือง
เบื้องแรกรัชนีได้ปฏิเสธแนวความคิดของมารุต เพราะเห็นว่าเกินความจำเป็น
มารุตต้องใช้ความพยายามใหม่ โดยเขียนเป็นโครงการ พร้อมกับอธิบาย เหตุผลทุกแง่มุมเสนอให้รัชนีพิจารณาใหม่
ในที่สุดรัชนีจึงตัดสินใจยอมรับไอเดียดังกล่าว และทำการปรับเปลี่ยนตกแต่งใหม่
ร้านเจ๊รัชใหม่แล้วเสร็จในปี 2536 หลังจากเปิดร้านภายใต้รูปแบบคอนเซ็ปต์ใหม่จำนวนลูกค้าเข้าร้านน้อยลง
ยอดขายแต่ละวันลดลงจาก ที่เคยขายได้จำนวนมาก แทบจะไม่เหลือเค้าโครงรายได้เดิม
มารุตเองก็เริ่มรู้สึกว่าพฤติกรรมลูกค้า ที่ตนสมมติฐานไว้เป็น การคาดการณ์ผิดหรือเปล่า
ยิ่งรัชนีด้วย แล้วกังวลยิ่งกว่าลูกชายเสียอีก
แต่แล้วช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือน มารุตก็พิสูจน์ให้เห็นว่าการคาดการณ์ทิศทางตลาดของเขาเดินไปในทิศทาง ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
เพราะลูกค้าขาประจำของร้าน ตลอดจนลูกค้าหน้าใหม่ๆ ที่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว
นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ หันมาเข้าร้านเจ๊รัชมากจนผิดตา ขณะที่การขายรูปแบบเดิมลูกค้าจะมาซื้อสินค้าเพียงชนิดเดียว
แต่หลังการปรับรูปแบบ ใหม่ลูกค้าได้ซื้อสินค้าตัวอื่นๆ พ่วงด้วย
"ผมใช้เวลาเพียงหนึ่งปีครึ่งเท่านั้น ก็สามารถคืนทุนมาได้ทั้งหมด
เพราะนอกจากการขายปลีกหน้าร้านแล้ว เรายังขายส่งอีกด้วย ผมพยายาม ที่จะเชียร์ให้ลูกค้าซื้อจากเรามากกว่าหนึ่งอย่าง"
มารุตกล่าว
เริ่มต้นขายข้าวแกง
ราวปี 2500 หลังจากตกลงใช้ชีวิตคู่กับครูหนุ่มโรงเรียนขอนแก่นวิทย์ รัชนีได้ย้ายจากบ้านพ่อ-แม่ ที่อำเภอบ้านไผ่มาอยู่ในตัวเมืองขอนแก่น
อาศัยร่มเงาต้นไม้ใหญ่ด้านหน้าศูนย์แพทย์มาลาเรียวางหาบตักข้าวแกงขายให้กับคนที่สัญจรไปมา
โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์เป็นลูกค้าขาประจำ ขณะที่ขายข้าวแกงก็เลี้ยงลูกเล็กๆ
ไปด้วย 2-3 คน
ด้วยนิสัยเป็นคนขยัน จาก ที่ขายแกงเพียงอย่างสองอย่าง ก็เพิ่มปริมาณแกงหลากหลายมากขึ้น
จนปี 2503 ได้เช่าบ้านหน้าตลาดสดเก่า หรือตลาดปีนัง ในปัจจุบัน ตั้งโต๊ะขายข้าวแกง
พร้อมกับเพิ่มกาแฟร้อน และก๋วยเตี๋ยวให้ลูกค้าเลือก
ร้านข้าวแกงของรัชนีหรือ ที่ชาวตลาดเก่าเรียกกันว่าเจ๊รัชมีชื่อพอสมควร
อุปนิสัย ที่เข้าคนง่าย ทำให้ข้าวแกงเจ๊รัช มีลูกค้าประจำมาอุดหนุนอยู่เสมอ
ไม่นับรวมลูกค้าขาจร ที่โดยสารรถมาลง ที่ตลาดเก่า ใครก็ตาม ที่มาทำธุระในย่านนี้
หากมีโอกาสจะต้องแวะทานข้าวแกงเจ๊รัช โดยเฉพาะกลุ่มดาราจอแก้ว ที่มาออกรายการสถานีโทรทัศน์ช่อง
5 ขอนแก่น กรมประชาสัมพันธ์ (ปัจจุบันช่อง 11) จะมีความสนิทมักคุ้นกับเจ๊รัชดี
จุดเริ่มต้นการทำอาหารแปรรูปพื้นเมืองของเจ๊รัช เกิดจาก "ท้วม ทรนง"
ดารา ที่มาออกรายการโทรทัศน์ช่อง 5 ขอนแก่น เกิดติดใจในรสชาติไส้กรอกอีสาน ที่เจ๊รัชทำขาย
จึงแนะนำให้ทำเพิ่ม เพื่อซื้อกลับไปฝากญาติ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเจ๊รัชก็ทำตาม
หลังจากนั้น รัชนีก็ทำไส้กรอกในปริมาณมากขึ้น เผื่อให้ลูกค้าได้ซื้อติดมือกลับไปทาน ที่บ้านปรากฏว่าขายดี
ต่อมาก็เพิ่มรายการอาหารแปรรูปตัวอื่นเพิ่ม คือ แหนม กุนเชียง
ในช่วงนี้ น.พ.ประมุข จันทรวิมล ขณะเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
ลูกค้าข้าวแกงขาประจำ เห็นว่ารัชนีเป็นคนขยัน จึงให้ซื้อผักสดส่งให้แผนกครัวของโรงพยาบาล
ก่อน ที่จะให้รัชนีทำหน้าที่จัดส่งรายการวัตถุดิบ อาหารของโรงพยาบาลทั้งหมด
ขณะเดียวกันเมื่อเห็นว่าแหนม กุนเชียง ไส้กรอก ที่ทำขายคู่กับข้าวแกง นั้น ขายดี
มีขาประจำ เห็นลู่ทางขยายตลาด จึงลงทุนทำในปริมาณมากขึ้น โดยนำมาแขวนขายหน้าร้านให้ลูกค้าได้เห็นชัดเจน
ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งงานนายหน้า ซื้อผัก และรายการอาหารส่งโรงพยาบาล ซึ่งปริมาณจัดซื้อก็เพิ่มขึ้น
จึงแก้ปัญหาโดยตื่นแต่เช้า เพื่อไปเลือกซื้อเอง ส่วนขั้นตอนการนำส่งโรงพยาบาลนั้น ได้จ้างสามล้อทำหน้าที่ส่งให้แทน
เพื่อ ที่จะมีเวลามาดูแลร้านข้าวแกง และทำหมูแปรรูปให้ทันกับความต้องการของลูกค้า
เป็นที่รู้กันในขณะนั้น ว่าหากต้อง การรับประทานกุนเชียง ไส้กรอก รสชาติ
ดีต้องไปซื้อ ที่ร้าน "เจ๊รัช" จนชื่อนี้ถูกเรียกติดปากในเวลาต่อมา ซึ่งรัชนีเองก็ได้ตั้งชื่อร้านว่า
"ร้านเจ๊รัช"ตามลูกค้าเช่นกัน
ไส้กรอก กุนเชียง ที่รัชนีทำขายนั้น ปรากฏว่าติดตลาดอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นพัฒนาการการจำหน่ายใหม่
ซึ่งเดิมการขายไส้กรอกหรือกุนเชียงนั้น จะทำกันเฉพาะเจ้าของเขียงหมูในตลาดที่รวบรวมเศษกากหมูเหลือขายมาแปรรูปชั่งกิโลขายคู่กับหมูชำแหละ แต่ของเจ๊รัชใช้เนื้อหมูสดๆ
มาทำ
กิจการร้านเจ๊รัชโดยเฉพาะการทำหมูแปรรูปขาย มีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการบอกเล่าปากต่อปากของลูกค้า
ทำให้ตลาดไม่จำกัดเฉพาะคนขอนแก่นเท่านั้น ลูกค้าต่างจังหวัด ทั้ง ที่เป็นเจ้า
ของร้านค้า และนักทัศนาจรต่างแวะเข้ามา ที่ตลาด เพื่อซื้อกุนเชียง ไส้กรอก ติดมือกลับไปเป็นของฝาก
ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอ ทั้งได้เพิ่มสินค้าให้หลากหลายขึ้น
อาทิ แหนมหมู หมูหยอง
เมื่อมีลูกค้าต่างจังหวัดต้องการซื้อเหมาไปขายต่อ ทางร้านมีสินค้าให้ไม่พอ
ต้องตัดสินใจเลิกขายข้าวแกง เพื่อทุ่มเวลาให้กับสินค้าอาหารพื้นบ้านแปรรูปอย่างเต็มตัว
พร้อมกับได้พยายามขยายช่องทางการกระจายสินค้าให้ได้มากขึ้น โดยเสนอขายส่งให้กับพ่อค้า-แม่ค้าในจังหวัดใกล้เคียงอย่างจริงจัง
อาทิ จังหวัดมหาสารคาม อุดรธานี ร้อยเอ็ด โดยส่งทางรถทัวร์ ที่มาจอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณตลาดเก่า
พร้อมกันนั้น ได้เสนอขายส่งให้กับบรรดาร้านอาหาร ครัวโรงแรมในตัวเมืองขอนแก่น
ซึ่งส่วนใหญ่จะรู้จักกันอยู่แล้ว
ลงทุนตั้งฐาน ที่มั่น
ในราวปี 2522 รัชนีได้ตัดสินใจครั้งใหญ่ หลังจากได้วิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเมืองขอนแก่นถี่ถ้วนแล้วว่าเมืองกำลังขยายตัว
ชุมชนย่านธุรกิจหนาแน่นขึ้น โดยเฉพาะย่านถนนกลางเมือง ซึ่งมีอาคารพาณิชย์
ร้านค้า และโรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล โรงแรมโรมา โรงแรมแก่นอินน์ ตั้งอยู่ในบริเวณนั้น
อนาคตจะเกิดชุมชนขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยว ข้าราชการต้องเข้าพักโรงแรมย่านนั้น
จึงตัดสินใจรวบรวมเงิน ที่สั่งสม และบางส่วนกู้จากธนาคารซื้อตึกแถวติดกับโรงแรมโรมา
จำนวน 3 คูหา พื้นที่กว่า 150 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นร้านสาขา 2 จำหน่ายสินค้า และตั้งโรงงานผลิตอย่างเต็มตัว
อย่างไรก็ตามหลังจากเปิดสาขา 2 แล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคุ้นเคยกับสาขาเดิม
รายได้หลักยังคงมาจากสาขาตลาดเก่า ต้องใช้เวลาราว 5 ปีกว่าลูกค้า จะรู้จักสาขาใหม่
จึงปิดสาขาแรก เพื่อทุ่นค่าใช้จ่าย เพราะอาคารสาขาแรกเจ้าของกำลังจะขึ้นค่าเช่า
ตั้งบริษัทจัดจำหน่าย
พัฒนาการความเปลี่ยนแปลงร้านเจ๊รัช ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากร้านขายของธรรมดาเป็นร้านสมัยใหม่เพราะการเข้ามาบริหารงานของมารุต
โดยเน้นหนักไป ที่การปรับระบบการทำตลาด และการจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้ภายในองค์กร
เริ่มด้วยการยื่นจดทะเบียนกิจการในรูปของนิติบุคคล เพื่อสะดวกต่อการทำธุรกรรมด้านต่างๆ
ในชื่อ เจ อาร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
พร้อมกันนั้น หลังจากได้ปรับโฉมร้านใหม่แล้วเสร็จในปี 2536 มารุตก็เดินหน้าปรับระบบการทำตลาดใหม่อีกครั้ง
โดยตั้งบริษัทลูกขึ้นมาอีกบริษัทหนึ่ง คือ บริษัท มัลติฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด มีภัทรกร ศุภสินธุ์ เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด เพื่อรับผิดชอบบริหารงานในส่วนของการจัดจำหน่ายสินค้า ที่บริษัท
เจ อาร์ มาร์เก็ตติ้งดูแลการผลิต พร้อมกับได้ขยายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านแปรรูปเกือบครบทุกชนิด
ไล่มาตั้งแต่ กุนเชียงหมู กุน เชียงไก่ หมูหยอง หมูเส้นทอง หมูแผ่น หมูอบน้ำผึ้ง
เนื้ออบน้ำผึ้ง หมูยอ แหนม ธรรมดา แหนมซี่โครงหมู แหนมข้อไก่ แหนมใบมะยม
แหนมซูเปอร์ (คัดเฉพาะหนังอ่อน) ไส้กรอกอีสาน หม่ำหมู หม่ำเนื้อ ปลาส้ม หมูตั้ง
หมูแดดเดียว เนื้อแดดเดียว และแคบหมู
หน้าที่ของบริษัทมัลติฟู้ดอินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบดูแลพื้นที่จัดจำหน่ายในกรุงเทพฯ
ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ส่วนบริษัทเจ อาร์ มาร์เก็ตติ้ง จะรับผิดชอบการจัดส่งในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
ด้วยแนวการบริหารงานในเชิงรุกของมารุต ทำให้พัฒนาการของร้านเจ๊รัชเติบโตอย่างก้าวกระโดด
จากสินค้า อาหารพื้นเมืองท้องถิ่น ได้พัฒนาตลาด ให้เป็นที่รู้จักของคนเกือบทั่วประเทศ
โดยเฉพาะตลาดในกรุงเทพฯ มารุตจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ด้วยการตั้งสำนักงานติดต่อประสานงานขายขึ้นมาดูแล ที่ถนนงามวงศ์วาน
ปัจจุบันผลิต ภัณฑ์อาหารพื้นเมืองในนาม "เจ๊รัช"กระจายจำหน่ายมากกว่า
10 แห่งในเขตกรุงเทพฯ คือ ฟู้ดแลนด์ทุกสาขา, ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี, ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต,
ซูเปอร์มาร์เก็ตของห้างโรบินสัน และมินิมาร์ทอีกหลายแห่ง ไม่นับรวมกับจุดขายในส่วนของซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในพื้นที่ภาคอีสาน
และภาคอื่นๆ " ที่เราต้องเจาะฐานตลาดวางขาย ในห้างสรรพสินค้าก็ เพื่อให้ตลาดได้จดจำผลิตภัณฑ์ของเรา
เพราะปัจจุบันนี้สินค้าอาหารแปรรูปพื้นเมืองมีคนผลิตออกมามาก เราต้องกระจายให้กว้างไว้ก่อน"
มารุตกล่าว
ยอดขาย ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด หลังจาก ที่ปรับปรุงกิจการครั้ง ใหญ่นี่เอง
ที่ทำให้ร้านเจ๊รัชต้องเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อรองรับตลาดทั้งในจังหวัดขอนแก่น และกรุงเทพฯ
เฉพาะผลิตภัณฑ์ ที่แปรรูปจากเนื้อหมู ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ต้องใช้ปริมาณเนื้อหมูสดไม่ต่ำกว่าวันละ
2 ตัน
มารุตในฐานะกรรมการบริษัทมัลติฟู้ดฯ กล่าวว่าเมื่อราวปี 2540-2541 ร้าน
7-eleven ได้ติดต่อมายังบริษัทฯ เช่นกัน เพื่อให้จัดส่งผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเจ๊รัชไปวางจำหน่าย
แต่มีเงื่อนไข ว่า 200 สาขาในเขตทิศเหนือของกรุงเทพฯ ทางมัลติฟู้ดฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่งให้
ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ ทางบริษัทไม่สามารถรับเงื่อนไขดังกล่าวได้
เพราะไม่พร้อมในเรื่องของพนักงาน และต้นทุนการจัดการ แต่หากจะให้ทางบริษัทฯเจ้าของ
7-eleven มารับสินค้า ที่โรงงาน ขอนแก่นจัดจำหน่ายเองเขาขอค่าขนส่งจากเรา
เมื่อคิดดูแล้วว่าไม่คุ้มทุนจึงปฏิเสธไปก่อน
เศรษฐกิจตก ชะลอแผนงาน
แม้ว่ากิจการร้านเจ๊รัชจะเติบโตแบบก้าวกระโดดหลังจากการเข้ามาปรับรูปแบบกิจการของมารุต
แต่จากวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นนับแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ร้านเจ๊รัชก็กระทบไม่น้อยเช่นกัน
เพราะปริมาณนักท่องเที่ยวหรือกลุ่มผู้เดินทางมาร่วมงานประชุมสัมมนาในจังหวัดขอนแก่นลดลง
ทำให้ยอดขายหายไปกว่า 50%
ปริมาณคนเข้าร้าน ที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจร นักท่องเที่ยว ปริมาณผู้เข้าร่วมงานสัมมนา ที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก
มีผลต่อเนื่องถึงการสั่งซื้อวัตถุดิบของบรรดาโรงแรมต่างๆ ซึ่งใช้ประกอบอาหาร
ลดปริมาณสั่งซื้อลง
ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น ทำให้แผนงานต่างๆ ต้องชะลอออกไป ทั้งแผนการชิมลางการส่งออกด้วยตัวเอง
การส่งออก ที่ผ่านมา ร้านเจ๊รัช จะรับผลิตให้ตามออร์เดอร์ของบริษัทนายหน้า
ตามคุณภาพ ที่ต้องการ แต่ไม่มีการติดตราร้านเจ๊รัช
การสร้างโรงงานแห่งใหม่ในพื้นที่กว่า 10 ไร่ ก็ต้องชะลอไว้เช่นกัน
มารุตเปิดเผยว่าในภาวะ ที่เศรษฐ กิจยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ที่ชัดเจนนี้ ทางบริษัทจะยังไม่ขยายตลาดหรือลงทุนเพิ่ม
โดยจะรักษาตลาดที่มีอยู่แล้วให้ดีที่สุด ซึ่งยอดขายหน้าร้านลูกค้ายังหมุนเวียนเข้ามาเรื่อยๆ
สินค้าภายใต้ชื่อเจ๊รัชได้รับการยอมรับในวงกว้าง และเป็นสัญลักษณ์ของฝากเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว
ส่วนตลาดขายส่ง ซึ่งเป็นแหล่งเงินได้หลักของธุรกิจ คือ มีสัดส่วนมากกว่าขายปลีก
60-70% ก็ค่อนข้างจะอยู่ตัว
ความหวังส่งออก
ความตั้งใจ ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ สู่การส่งออกนั้น ยังมิได้จางหายไปจากความคิดของมารุต
ขณะนี้เขากำลังดูท่าทีของตลาดว่าจะสามารถฟื้นตัวจริงหรือไม่ อาจต้องรอไปอีกพักใหญ่
แม้ว่านับจากต้นปี 2542 เป็นต้นมา ยอดขายเริ่มกระเตื้องขึ้นมาบ้างประมาณร้อยละ
20 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เขาก็ยังไม่มั่นใจเท่าใดนัก เพราะยอดขายส่วนใหญ่มาจากช่วงเทศกาลงานประเพณีมากกว่า
จุดหนึ่ง ที่ทำให้มารุตมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นเมือง "เจ๊รัช"
มีศักยภาพในการทำตลาดส่งออกได้ คือ การได้รับรองมาตรฐานสินค้าส่งออกสัญลักษณ์
"THAILAND BRAND"จากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่
21 กรกฎาคม 2542 ถือเป็นอาหารพื้นบ้านเพียงรายเดียวในส่วนภูมิภาคของไทย ที่ได้รับการคัดเลือกให้ประทับตรานี้
ซึ่งเป็นสิ่งที่คอยหล่อเลี้ยงความหวังให้กับมารุต ว่าหากพร้อมเมื่อใดก็จะขอเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสินค้าอาหารพื้นบ้าน
ของเมืองไทย
ที่ผ่านมาทางบริษัทเจ อาร์ มาร์ เก็ตติ้ง เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเจ๊รัชได้ออกร้านแสดงสินค้าร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก
ในงานแสดงสินค้า ที่ทางกรมส่งเสริมการส่งออกได้จัดขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อทั้งใน และต่างประเทศพบผู้ผลิตโดยตรง
นับเป็นช่องทางหนึ่ง ที่สินค้าเจ๊รัช จะก้าวสู่ตลาดส่งออกได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม มารุตยอมรับว่าหากจะพัฒนาตลาดส่งออกจริง ก็ต้องจัดการเรื่องของวัตถุดิบให้ลงตัว
การจัดหาวัตถุดิบ ที่ป้อนโรงงานนั้น ต้องมีความแน่นอนพร้อมจะรองรับกับออร์เดอร์ตลอดเวลา
เพราะปัจจุบันนี้ยังใช้วิธีการสั่งซื้อจากเขียงหมูในตลาด หากจะขยายตลาดสู่ต่างประเทศอย่างจริงจังต้องลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงหมูด้วยตัวเอง
ขณะเดียวกันก็ต้องศึกษามาตรฐานโภชนาการสำหรับสินค้าส่งออกประเภทอาหารให้เข้าใจ และต้องปฏิบัติให้ได้ตามเงื่อนไข
"การส่งออกสินค้าประเภทอาหาร แปรรูปไม่ใช่เรื่องง่าย ความเสี่ยงแต่ละด้านสูงมาก
อายุของผลิตภัณฑ์อาหารเมื่อเทียบกับสินค้าตัวอื่นแล้วจะสั้นมาก อัตราการเสียมีสูง
ที่สำคัญต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสุขอนามัยสากลให้ได้" มารุตกล่าว
แม้ขณะนี้ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมือง"เจ๊รัช"จะยังไม่พร้อม ที่จะรุกเปิดตลาดในต่างประเทศ
มารุตก็ยังมั่นใจว่าตลาดสินค้าประเภทอาหารพื้นเมืองแปรรูปยังมีลู่ทางที่ดี
เพราะสินค้าอาหาร ตลาดการบริโภคจะขยายตัวตามการเพิ่มของประชากร แต่ทั้งนี้จำนวนผู้ประกอบการก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
การแข่งขัน เพื่อครองส่วนแบ่งในตลาดก็จะมีมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามเจ้าเก่า
ที่ผู้บริโภครู้จัก และยอมรับในตัวสินค้า รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และระบบจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่องแล้วจะยังคงได้เปรียบ