Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 สิงหาคม 2548
ธ.กรุงศรีฯขึ้นดอกเบี้ย36ด.1% วงการฟันธงสิ้นปีนี้ขยับออมทรัพย์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Interest Rate




สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มลด ธนาคารทยอยประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว-สั้น ล่าสุดธนาคารกรุงศรีอยุธยา ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 36 เดือนอีก 1% เป็น 3.25 พร้อมดอกเบี้ยพิเศษตามวงเงิน มีผลตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป ขณะที่แบงก์กรุงเทพ เตรียมชงเรื่องหารือบอร์ดวันนี้ ด้านวงการแบงก์มั่นใจดอกเบี้ยออมทรัพย์ขยับปลายปีนี้

นายทินวรรธน์ มหธราดล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพื่อเป็นการขยายฐานและรักษาเงินฝากระยะยาวธนาคารจึงได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยประเภทเงินฝากประจำ 36 เดือน จากเดิมที่อัตราร้อยละ 2.25 เป็น 3.25 สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทอื่นๆ นั้นยังคงในอัตราเดิม คือ เงินฝากออมทรัพย์ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 0.75 ต่อปี เงินฝากประจำ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.00 ต่อปี เงินฝากประจำ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.25 ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.50 ต่อปี เงินฝากประจำ 24 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.00 ต่อปี และเงินฝากประจำ 48 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.75 ต่อปี

พร้อมกันนี้ ธนาคารยังได้ปรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามวงเงินฝาก ดังนี้ เงินฝากประจำตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ประเภท 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.25 ต่อปี ประเภท 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.50 ต่อปี ประเภท 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.75 ต่อปี ประเภท 24 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.25 ต่อปี เงินฝากประจำตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ประเภท 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.50 ต่อปี ประเภท 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.75 ต่อปี ประเภท 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.00 ต่อปี ประเภท 24 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.50 ต่อปี เงินฝากประจำตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป ประเภท 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.75 ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมีผลใช้ตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารของธนาคารที่มีขึ้นในวันนี้ (18ส.ค.) จะมีการนำเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าพิจารณาด้วย ทั้งนี้หากปรับขึ้นก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 6 เดือน ในอัตราเดียวกับธนาคารไทยพาณิชย์ที่มีการปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถกำหนดเวลาที่ชัดเจนได้ว่าจะปรับขึ้นเมื่อใด ซึ่งจะพิจารณาภาวะของตลาดการเงินเป็นหลัก ว่าจะเป็นอย่างไร และเชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้หรือปีหน้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์น่าจะปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็เพื่อรักษาฐานของธนาคารไว้

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ลูกค้านิติบุคคล และสถาบันการเงินในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้สภาพคล่องของธนาคารเพิ่มขึ้น ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ ในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคาร การหาเงินฝากของธนาคารไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากพนักงานรู้จักลูกค้าเป็นอย่างดี

"ภายหลังจากที่ธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ต้นทุนของธนาคารเพิ่มขึ้น ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 2% ซึ่งเป็นอัตราที่ยังดีอยู่ และถ้ามีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอีกรอบก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนของธนาคาร เพื่อนำมาตัดสินใจ"

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่การเบิกวงเงินสินเชื่อของลูกค้าที่ได้รับอนุมัติวงเงินไปแล้วยังใช้วงเงินสินเชื่อบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เงินหมุนเวียนในการค้าขาย และลูกค้าที่ขอสินเชื่อเพื่อไปขยายกำลังการผลิต ส่วนลูกค้าที่ยังไม่ได้มีการลงทุน อาจจะชะลอการตัดสินใจในการขอสินเชื่อ

ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง การปรับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ว่า ธนาคารจะมีการพิจารณาในทุกไตรมาสอยู่แล้ว และการพิจารณาครั้งต่อไปจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนตุลาคมนี้ โดยแนวทางในการปรับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยของธนาคารนั้น มีทางเลือกอยู่ 2 แนวทาง คือ การปรับลดระยะเวลาของอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่จากเดิมที่มีอัตราคงที่ 1 ปี และ 2 ปี ก็จะปรับเหลือเพียงอัตราคงที่ 1 ปี แบบเดียว

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มทำการยกเลิกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ที่มีระยะเวลาที่ยาวออกไป เพื่อให้ระยะของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่นั้นมีความสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ส่วนแนวทางที่ 2 คือ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 และ 2 ปีไว้ แต่จะทำการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกร้อยละ 0.25

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขาประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้สภาพคล่องในระบบเริ่มลดลงเหลือประมาณ 300,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่สภาพคล่องจะลดลงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ความต้องการใช้เงินในระบบของทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ธนาคารพาณิชย์เริ่มทยอยปรับดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวและระยะสั้น และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์

"การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวของแบงก์ในช่วงที่ผ่านมา และขณะนี้เริ่มปรับเงินฝากที่มีอายุสั้นลง เป็นสัญญาณให้เห็นว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตามเช่นกัน" นางสาวอุสรา กล่าว

ด้านนายระเฑียร ศรีมงคล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นมาก และธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายที่จะให้อัตราดอกเบี้ยในระบบปรับเพิ่มขึ้น เพื่อคุมการขยายตัวของเงินเฟ้อ

นายปราการ ทวิสุวรรณ รองกกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้นตามทิศทางเงินเฟ้อที่ปรับขึ้น เพื่อให้ดอกเบี้ยสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารพึ่งมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเชื่อว่าอัตราที่ประกาศยังสามารถแข่งขันได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us