|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม จี้รัฐเร่งเจรจาเอฟทีเอ เปิดสินค้าเสื้อผ้า สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม หวังกระฉูดตลาดนอก ระบุขณะนี้โอกาสทองของไทยมาถึงแล้ว ทั้งในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น คาดหากเปิดฟันกำไรเพิ่มอีก 50 % กว่า 2 แสนล้านบาทเข้าประเทศ ส่วน กทม.เมืองแฟชั่น คืบหน้าอีกระดับ
กาสชัย แจ่มขจรเกียรติ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยถึง การเจรจาเอฟทีเอ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา และไทยกับญี่ปุ่นว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มรอคอยสิ่งนี้อยู่ เพราะจะช่วยส่งเสริมขยายการส่งออกสินค้านี้ในต่างประเทศ โดยมั่นใจว่า หากเจรจาเอฟทีเอ เป็นที่ตกลงระหว่างไทย-สหรัฐ จะเพิ่มยอดการส่งออกของไทย อีก 50 % สำหรับไทย-ญี่ปุ่น จะทำให้เพิ่มยอดอีก 10 % คิดเป็นมูลค่าของตลาดรวม 2 แสนล้านบาท จากปัจจุบันยอดรวมที่ส่งออก มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 11.5 % และตั้งเป้าส่งออกปีนี้โต 17-20 % ขณะที่ยอดการส่งออกไตรมาสแรกของปี 2548 อยู่ที่ประมาณ 6 %
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเจรจาเอฟทีเอ ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกาจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2549 และไทย-ญี่ปุ่นจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ เพราะมีความพยายามอย่างสูงเพื่อประสานให้สำเร็จ และถือเป็นโอกาสทองของไทยที่จะส่งไปจำหน่ายที่ญี่ปุ่นที่มีการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มถึง 80 % ต่อปี จากความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่น หรือการที่จีนส่งสินค้าเกินดุลเข้าสหรัฐฯเป็นจำนวนมหาศาลส่งผลต่อความมั่นใจในคุณภาพและสินค้า คาดว่าจะเกิดปัญหาต่อสินค้าจีนในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน
ทั้งนี้ปัญหาที่ติดอยู่ขณะนี้ในการเจรจา คือเงื่อนไขที่ต้องเจรจาในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งมีบางอุตสาหกรรมที่ยังถูกมองว่าหากเจรจาแล้วไทยจะเสียเปรียบอย่างมาก โดยเฉพาะสินค้าภาคเกษตร และภาคบริการ รวมถึงความไม่เข้าใจในภาคสาธารณจากองค์กรเอกชนที่รัฐต้องเร่งชี้แจง
สำหรับกำลังการผลิตในปัจจุบัน อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า มีความพร้อมที่จะรองรับความต้องการของตลาดโดยเฉพาะภาคการผลิตที่มีแนวโน้มว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
จากสถานการณ์ปัจจุบันในฐานะ OEM รับจ้างผลิต มาเป็น Super OEM คือพัฒนาศักยภาพการผลิตและยกระดับขึ้นเป็นแบรนด์-การออกแบบ และการแบ่งกลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อรับการแข่งขันเสรี ทั้งหมดนี้เป็นความจำเป็นของโรงงานต่างๆ ที่ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงการควบรวมโรงงานขนาดเล็กเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มศักยภาพ มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยการผลิตเรื่องมาตรฐาน นำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาต่อยอดสินค้าทั้งเรื่องคุณภาพและปริมาณเพื่อตอบสนองตลาด โดยเฉพาะการสร้างความแตกต่าง
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะส่งผลถึงโรงงานผลิตเสื้อผ้าระดับเล็ก-กลาง ที่ไม่สามารถอยู่ได้ในภาวะการแข่งขันสูง โรงงานขนาดกำลังการผลิต 5,000-10,000 คนจะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมไปถึงการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศเข้ามาในไทยจากปัจจัยที่เอื้อหลายประการ ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวเริ่มเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา
ส่วนความคืบหน้าของโครงการผลักดันกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในเฟส 1 ขั้นตอนที่ 2 คือ ทั้ง 11 โครงการตามแผนกำลังเข้าสู่ช่วงปฎิบัติการ 6 โครงการ คาดว่าต่อจากนี้อีก 18 เดือน แผนงานต่างๆจะเป็นไปตามแผนแม่บทที่ได้วางไว้ ซึ่งเวลานี้อยู่ระหว่างคัดเลือกในทุกส่วนที่จะเข้ามาร่วมพัฒนา เช่น ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสายธารการผลิต การออกแบบ การพัฒนาทั้งในและต่างประเทศ และมีกิจกรรมการเสนอผลงานออกสู่สายตาประชาชนเป็นระยะๆ ที่สำคัญคือการพยายามให้แนวทางต่อการปรับตัวแก่บรรดาผู้ประกอบการ
|
|
|
|
|