|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ไทย "ไทยโก้" ที่โชว์เมดอินไทยแลนด์จำหน่ายทั่วประเทศ ระดมพันธมิตร 10 ราย เดินหน้าด้วยทุน 50 ล้าน มีกุลธรเคอร์บี้ถือ 49 % ลดขนาดโครงการเดิมที่ครอบคลุมทุกประเภทเครื่องไฟฟ้า เหลือ 3 ตัวหลัก อาทิ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า พร้อมจับมือ 7-Eleven เจาะตลาดให้ผู้บริโภคพิสูจน์คุณภาพ!
สุรพร สิมะกุลธร รองประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และประธานบริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าในการผลักดันสินค้าแบรนด์ไทย ภายใต้ชื่อ "ไทยโก้" (Thaico) ว่า ในการประชุมล่าสุดมีมติว่าจะเดินหน้าต่อโครงการนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาหาหุ้นส่วนเพิ่มเติม อีก 1-2 รายใหญ่ ที่จะร่วมถือหุ้น 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ โดยในส่วนของบริษัทฯจะถือหุ้นใหญ่ 49% ซึ่งจะมีประมาณ 10 รายร่วมลงทุน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ตกลงว่าจะปรับขนาดของอุตสาหกรรมไทยโก้ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาพ โดยยื่นจดทะเบียน 50 ล้านบาท จากแผนเดิม 100 ล้านบาท และจะผลิตสินค้า3-4 ประเภท อาทิ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น
"เบื้องต้นจะผลิตสินค้าโดยจ้างโรงงานที่มีอยู่ในประเทศ เพราะหากตั้งโรงงานจะต้องใช้ทุนสูง และอาจถูกต่อต้าน จากนั้นจะจ้างมืออาชีพมานั่งบริหารงาน"
สุรพร กล่าวยอมรับว่า ที่โครงการนี้มีความล่าช้า มาจากความกล้าๆกลัวๆของผู้ประกอบการ ในเรื่องการยอมรับสินค้าไทย และราคาของชิ้นส่วนวัสดุที่ปรับสูงขึ้น จากปัจจัยราคาน้ำมัน อาทิ ทองแดง เหล็ก พลาสติก ในขณะที่ราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ปรับราคา หรือปรับได้น้อย จึงไม่คุ้มกับการลงทุน
"ปัญหาใหญ่ประการสำคัญคือ คนไทยไม่นิยมใช้สินค้าไทย ทำให้เป็นปัญหาทางตลาด"
สินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศหลายตัว จำเป็นต้องไปใช้ชื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะแบรนด์ญี่ปุ่น เป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่มองเห็นและไม่กล้าเสี่ยง
"ทั้งๆที่สินค้าไทยมีคุณภาพ และมาตรฐานที่ไม่ต่างจากต่างประเทศ แต่คนไทยกลับไม่มั่นใจ หลายตัวที่ขายดีในตลาด ทั้งๆที่ผลิตในประเทศ แต่ขายดีได้เพราะใช้สัญชาติจากประเทศอื่น"
ดังนั้น ช่องทางหนึ่งที่ได้วางไว้ และได้เจรจาไปแล้ว คือการจำหน่ายสินค้า หนึ่งในเป้าหมายคือ ร้าน 7-Eleven ที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 5,000 แห่ง จะทำให้สินค้าที่จะผลิตกระจายอยู่ในตลาด คาดว่าจากนี้ 4-5 ปีจะเห็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ไทยโก้อยู่ในตลาด
"หากสินค้าประสบผลสำเร็จก็จะผลักดันเข้าตลาดฯ เพื่อกระจายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วม ก่อนที่จะตั้งโรงงานขึ้นมาผลิตสินค้าของตนเอง และกระจายครอบคลุมให้ครบในทุกประเภทสินค้า" รองประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว
ปัจจุบัน สินค้าไทยหลายตัวทำตลาดอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น แอฟริกา และเวียตนาม โดยประทับสัญญาลักษณ์ว่าผลิตจากประเทศไทยโดยตรง และขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพขึ้นมา ในนาม "คิวมาร์ท" เพื่อให้การรับประกันสินค้าที่ผลิตได้ตามมาตรฐานสินค้าคุณภาพดี เพื่อการันตีให้กับลูกค้า ผู้บริโภคทั่วไปได้มั่นใจในการเลือกใช้สินค้าไทยที่ดี มีคุณภาพและราคาไม่สูงเกินไปด้วย ถือเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าไทยอีกระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ "ไทยโก้" ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยของ สมศักดิ์ เทพสุทิน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยต้องการให้ไทยมีสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นของตนเอง หลังจากที่พบว่าหลายประเทศมีแบรนด์สินค้าของตนเอง อาทิ เกาหลี ไต้หวัน และจีน โดยมีสุรพร เป็นแกนนำในการผลักดันโครงการนี้ ภายใต้ชื่อไทยโก้ มีแผนงาน 5 ปี ที่จะผลิตสินค้าครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท
ขณะที่มีรายงานระบุว่า ประเทศไทยต้องจ่ายค่าแบรนด์สินค้าสูง 2-5 % ของราคาสินค้า โดยปีหนึ่งๆ จะสูงประมาณ 36,000 ล้านบาท และในไตรมาสแรกของปี 2549 เสียดุลการค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องนำเข้ามากกว่าส่งออกรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวฝากถึงผู้บริโภคว่า การใช้สินค้าไทยเป็นการช่วยชาติมหาศาล และขณะนี้ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ มีการส่งออกเท่ากับ 1 ใน 3 ของสินค้าที่ส่งออกรวมทั้งประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นการบริโภคสินค้าภายในประเทศ ประหยัดเงินตรา และช่วยให้คนไทยมีงานไทยด้วย
|
|
|
|
|