Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กันยายน 2545
"เอไอเอส"ปรับกลยุทธ์ตลาดใหม่ มุ่งสร้างสัมพันธ์พร้อมทะลวงภูธร             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส - AIS

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.




เอไอเอส ปรับกลยุทธ์ตลาดใหม่ มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามากกว่าอัดโฆษณาผ่านสื่อเพื่อโกยยอดขาย หวังมัดผู้ใช้รายเดิมไม่ให้เล็ดลอดไปไหน พร้อมเบนเข็มทะลวงลูก ค้าภูธร ด้วยแนวคิดการตลาดสู่ภูมิภาค รองรับการขยายตัว และกำลังซื้ออีกมหาศาล เผยทีเด็ดทุ่มเงินนับพันล้านซื้อซอฟต์แวร์จัดเก็บพฤติกรรมผู้บริโภคละเอียดยิบ

นายทรงศักดิ์ เปรมสุข รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงาน การตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า แนวทางการทำ ตลาดของบริษัทนับจากนี้ไปจะมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าและความเข้า ใจด้วยการใช้กลยุทธ์การสร้าง ความสัมพันธ์กับตราสินค้า (Brand Relationship) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีต่อสินค้าของเอไอเอส ซึ่งได้แก่ จีเอสเอ็ม แอดวานซ์, วันทู คอล และจีเอสเอ็ม 1800 เพิ่มมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่ใช้การโฆษณา ผ่านสื่อโทรทัศน์เป็นหลัก

โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลังบริษัทมีนโยบายนำกิจกรรมการตลาดสู่ภูมิภาค หรือ Localized Marketing เข้ามาใช้เพื่อให้เข้าใจผู้ บริโภคในแต่ละพื้นที่มากขึ้น นอก จากนี้ยังเพื่อตอบรับกับทิศทางการ เติบโตของตลาดต่างจังหวัดที่นับวันจะยิ่งขยายตัวมากขึ้น สวนทางกับตลาดในกรุงเทพฯที่นับวันจะหดตัวลง จากเดิมที่เคยมีสัดส่วน 60% ปัจจุบันลดเหลือเพียง 40%

"เราได้ปรับหน่วยงานด้วยการสร้างรีจินัลออกเป็น 5 ภาค แต่ ละภาคมี รีจินัล เฮด ดูแลโดยตรง เพราะจะเป็นฐานในการขยายตลาดโทรศัพท์ต่อไปในอนาคต" รองกรรมการผู้อำนวยการ กล่าวและว่า การนำกิจกรรมตลาดสู่ภูมิภาคเป็นการสร้างการตลาดอย่าง ละเอียดเพื่อให้เข้าใจผู้บริโภคอย่าง ลึกซึ้ง

ล่าสุดบริษัทเพิ่งจัดงาน AIS & 12 years of Friend - A Touch of Friendship ขึ้นที่อำเภอ หาด ใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งก่อนหน้านั้นจัดไปแล้วที่เชียงใหม่ และภูเก็ต โดยปีนี้มีแผนจัดงานในลักษณะดังกล่าวอีก 6 จังหวัดใหญ่

นายสุทธิศักดิ์ กุนทีกาญจน์ ผู้จัดการสำนักบริหารส่วนภูมิภาค-ภาคใต้ เอไอเอสกล่าวว่า การจัดโครงสร้างขององค์กรเป็นแบบภูมิภาคจะดู 14 จังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาส มีสำนัก งานใหญ่อยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งการกระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางไปยังภูมิภาค เพื่อให้สนองตอบผู้บริโภคได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว ปัจจุบันบริษัทมีจำนวน ลูกค้าเอไอเอสกว่า 1 ล้านราย โดยลูกค้าภาคใต้ตอนล่างอยู่ในจังหวัด สงขลามากที่สุด ส่วนภาคใต้ตอนบนจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และภูเก็ต

การทำตลาดในภาคใต้จะเน้น เข้าถึงคนในท้องถิ่น ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของผู้บริโภค ซึ่งมีพฤติกรรมเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆในภูมิภาคนี้ ที่เป็นการใช้งานข้ามจังหวัดเป็นส่วนใหญ่

ปัจจุบันเอไอเอสมี 10 โครงข่ายชุมสายในภาคใต้ อีก 30 ชุม สายย่อย และอีก 800 สถานีฐาน ขณะที่ศูนย์บำรุงรักษามี 7 ศูนย์ แต่ละศูนย์จะดูแลกลุ่มลูกค้าครอบ คลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ส่วนเทเลวิซที่ทำหน้าที่เสมือนเอไอเอสมีทั้งหมด 40 ศูนย์ เช่นที่อำเภอหัวไทร นคร-ศรีธรรมราช, อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ด้านนางสาวอรุณภรณ์ ลิ่ม-สกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด งานบริหารลูกค้า กล่าวว่า จากการนำกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ Customer Relationship Management หรือ CRM เข้ามาใช้พบว่าผู้บริโภคที่เป็นลูกค้า ของเอไอเอสในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจที่พร้อมจะรับเทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา ซึ่งลูกค้าเก่าหล่านี้ถือว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้คุณภาพที่ต้องรักษาไว้

"ต้องโฟกัสลูกค้าเก่าทั้ง 9 ล้านคนที่มีอยู่ เพราะต้นทุนถูกกว่าการหาลูกค้าใหม่ ที่สำคัญสามารถบอกคนอื่นต่อไปให้มาใช้บริการของเรา" นางสาวอรุณภรณ์กล่าว และว่า การนำซีอาร์เอ็มเข้ามาใช้เพื่อ ทำความเข้าใจกับลูกค้าแต่ละเซกเมนต์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ผู้บริโภคมีความผูกพันกับตราสินค้า และสินค้า ด้วยการสร้างคุณค่าอื่นๆเพิ่มนอกเหนือจากการรับสายเข้าและโทร.ออกเท่านั้น

ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกล่าวต่ออีกว่า บริษัทเคยนำกลยุทธ์ซีอาร์เอ็มมาใช้เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่สาธารณชนไม่ค่อยรับรู้มากนัก เนื่องจากเป็นการทำแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เพื่อศึกษาคู่แข่งอย่างละเอียด ล่าสุด บริษัทได้ลงทุนกว่า 2.8 พันล้านบาทซื้อซอฟต์แวร์จัดเก็บข้อมูลของลูกค้าในแต่ละราย เพื่อสามารถให้บริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง เนื่องจากซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำให้บริษัททราบว่าที่ผ่านมาลูก ค้าแต่ละรายเคยรับโปรโมชั่นอะไรบ้าง เป็นการสร้างความพึงพอใจเพื่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อเอไอเอส

สำหรับการนำกิจกรรมการตลาดลงสู่ภูมิภาคนั้น บริษัทใช้วิธีการสื่อสารแบบ 360 องศา ประชาสัมพันธ์ในทุกสื่อ แมส มีเดีย และการทำไดเร็คเมล์ทั้งจังหวัด รวมไปถึงการส่งเอสเอ็มเอสไปยังผู้ใช้บริการทั้ง 3 ระบบ การทำโฆษณาผ่านสื่อวิทยุล่วงหน้าก่อนจัดงาน 3 อาทิตย์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us